เดอะ โกะ มาสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะ โกะ มาสเตอร์
โปสเตอร์เปิดตัวภาพยนตร์
กำกับเถียน จ้วงจ้าง
เขียนบทจง อาเฉิง
โจว จิ้งจือ
อำนวยการสร้างหลิว เสี่ยวเตี้ยน
นักแสดงนำจางเจิ้น
จาง อ้ายเจีย
อะกิระ อิโมะโตะ
อะยุมิ อิโต
กำกับภาพหวัง อวี้
ผู้จัดจำหน่ายฟอร์ติสสิโมฟิล์มส์
วันฉาย27 กันยายน ค.ศ. 2006 (2006-09-27)(เทศกาลภาพยนตร์นิวยอร์ก)
ความยาว104 นาที
ประเทศจีน
ญี่ปุ่น
ภาษาจีน
ญี่ปุ่น

เดอะ โกะ มาสเตอร์ (จีน: 呉清源; อังกฤษ: The Go Master) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติปี ค.ศ. 2006 ที่กำกับโดยเถียน จ้วงจ้าง ถึงเรื่องราวของปรมาจารย์หมากล้อมผู้มีชื่อเสียงแห่งศตวรรษที่ยี่สิบนามว่า อู๋ ชิงหยวน หรือที่รู้จักในชื่อ โกะ เซเง็น ตามการออกเสียงของภาษาญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รับการจัดฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์นิวยอร์ก ครั้งที่ 44 โดยมุ่งเน้นไปที่ชีวิตของนักหมากล้อมที่ไม่ธรรมดาซึ่งฉายแววของเด็กอัจฉริยะ ในด้านชื่อเสียงและโชคชะตาของนักคิดเชิงกลยุทธ์ผู้ปฏิวัติแห่งวงการ ตลอดจน ความขัดแย้งระดับโลกที่สับสนวุ่นวายระหว่างบ้านเกิดกับประเทศบุญธรรมของเขา ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีฉากเกี่ยวข้องกับเกมหมากล้อมในวันระเบิดปรมาณูโจมตี และได้รับการจัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์จีนของสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน ที่ซิลเวอร์สปริง รัฐแมริแลนด์

นักแสดงนำ[แก้]

การสร้าง[แก้]

ผู้รับบทอู๋ ชิงหยวน คือจางเจิ้น ซึ่งเป็นนักแสดงชาวไต้หวัน ที่เคยแสดงประกบกับจาง จื่ออี๋ ในพยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก รวมถึงมีผลงานในภาพยนตร์โมงยามที่งามที่สุด จางเจิ้นได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลม้าทองคำ 2006 สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมสำหรับบทบาทของเขา อู๋ ชิงหยวน ตัวจริงยังได้ปรากฏตัวในการแสดงผ่านฉากสั้น ๆ ในช่วงอารัมภบทของภาพยนตร์เรื่องนี้[1] ภาพยนตร์ได้รับการสร้างโดยหลิว เสี่ยวเตี้ยน ร่วมกับผู้อำนวยการสร้าง หวัง จุน, โอเวน เฉิน, วอเตอร์ บาเรเดร็ชท์ และไมเคิล เจ เวอร์เนอร์ ส่วนบทภาพยนตร์เขียนโดยจง อาเฉิง และออกแบบเครื่องแต่งกายโดยผู้ได้รับรางวัลอย่างเอะมิ วะดะ ดังเช่นภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง อาทิ Ran, Dreams ของคุโระซะวะ รวมถึงฮีโร่ และจอมใจบ้านมีดบิน ของจาง อี้โหมว

การตอบรับ[แก้]

เอ โอ สกอตต์ แห่งหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวถึงเดอะ โกะ มาสเตอร์ ว่าเป็นแภาพยนตร์ชีวประวัติยิ่งใหญ่และน่าเคารพยำเกรง" รวมถึง"มีความสุขุมและการครุ่นคิดมากกว่าความเป็นละคร หรือการตรวจสอบทางจิตใจ" และ "การถ่ายทำที่ตระการตา"[2] ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ ในงานเอเชียแปซิฟิกสกรีนอวอร์ด 2007

อ้างอิง[แก้]

  1. Havis, Richard James (2006-10-10). "The Go Master". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-27. สืบค้นเมื่อ 2007-06-02.
  2. Scott, A.O. (2007-03-14). "A Prodigy's Life Is Played Out In a Japanese Game of Skill". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]