เดอะเยอร์ส
เดอะเยอร์ส | |
---|---|
![]() สมาชิกวงเดอะเยอร์ส จากซ้ายไปขวา: บูม, อู๋, เต๋า, ต่อ, โบ๊ท | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ![]() |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | สมอลล์รูม (2552–2556) จีนี่เรคอร์ดส (2557–ปัจจุบัน) |
ส่วนเกี่ยวข้อง | |
สมาชิก | ยศทร บุญญธนาภิวัฒน์ พนิต มนทการติวงค์ นิธิศ วารายานนท์ ถิรรัฐ ภู่ม่วง |
อดีตสมาชิก | อรรถพร วิบูลย์กุลพันธ์ วัทธิกร เขียนด้วง ธนา กุสุมภ์ |
เดอะเยอร์ส (อังกฤษ: The Yers) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทยที่ก่อตั้งวงขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2546 ประกอบด้วยสมาชิกปัจจุบันทั้งหมด 4 คนคือ อู๋, ต่อ, โบ๊ท และ บูม เริ่มเป็นที่รู้จักจากการปล่อยเพลงแรกของวงคือเพลง "การสื่อสาร" (2552) และมีผลงานเปิดตัวอัลบั้มแรกชื่อว่า Y (2554) ปัจจุบันเซ็นสัญญากับค่ายจีนี่เรคอร์ดส และมีผลงานออกกับทางค่ายคือสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 2 ชื่อว่า You (2558)
ประวัติ[แก้]
ช่วงแรกของวง (2546)[แก้]
เดอะเยอร์สก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2546 เกิดจากการรวมตัวกันของอู๋, โจ๊ก, เหน่ง ที่เรียนมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 ด้วยกัน เนื่องจากอู๋ต้องการให้วงมีสีสันมากขึ้น อู๋จึงชักชวนเต๋ามาเล่นคีย์บอร์ดกับเพอร์คัชชันและโจ๊กชักชวนต่อ มาเล่นกีตาร์[1]
ที่มาของชื่อวงเกิดจากการที่ต้องหาชื่อเพื่อนำไปใช้ในการแสดงสดครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยนำคำว่า "เย่อ" ซึ่งเป็นคำอุทานของคนรู้จักของสมาชิกในวง มาแปลงให้เป็นภาษาอังกฤษและเติมคำว่า "The (เดอะ)" กับตัว "S (เอส)" มาไว้ที่หน้าและท้ายของคำว่า "Yer" เพื่อให้เกิดชื่อที่ไพเราะและสวยงาม[2]
เพลง "การสื่อสาร" และ อัลบั้ม Y (2552–2555)[แก้]
ในปีพ.ศ. 2552 สมอลล์รูม 007 บูติค (Smallroom 007 Boutique) คือโปรเจกต์อัลบั้มรวมศิลปินอันดับที่ 7 ของค่ายสมอลล์รูม ซึ่งต้องการนำเสนอแนวเพลงที่แปลกใหม่ โปรดิวเซอร์ที่ดูแลโปรเจกต์นี้อย่างบู้ วงสเลอ (ซึ่งเป็นพี่ชายของอู๋) จึงได้ชักชวนให้เดอะเยอร์ส ลองส่งเดโมให้รุ่ง (รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์) ผู้บริหารสมอลล์รูมฟัง รุ่งเกิดความชอบใจในเดโมหนึ่ง เดอะเยอร์สจึงได้เซ็นสัญญากับค่ายสมอลล์รูม ออกซิงเกิลแรกของตัวเองที่ชื่อเพลงว่า "การสื่อสาร" ลงในอัลบั้มนี้และเริ่มต้นทำอัลบั้มแรกของวงในเวลาต่อมา[1]
พ.ศ. 2553 วงได้ตัดสินใจถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ "การสื่อสาร" กันเองเผยแพร่ผ่านเว็บไซด์ยูทูบ เพลงได้รับการนำไปเปิดในคลื่น 104.5 Fat Radio (ปัจจุบันชื่อ Cat Radio) ทำให้ทางวงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนฟังอย่างมากจนเพลงได้ขึ้นอันดับสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในคลื่นนี้นาน 1 สัปดาห์[3]
เนื่องจากโจ๊กกับเหน่งติดภารกิจส่วนตัวทำให้เล่นดนตรีต่อไม่ได้ อู๋จึงได้ชวนโบ๊ท เพื่อนร่วมวงสมัยเรียนมัธยมเข้ามาร่วมวงในตำแหน่งเบส กับบูม เพื่อนสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ามาร่วมวงในตำแหน่งกลอง[1][4] เดินหน้าทำอัมบั้มเต็มอัลบั้มแรกชื่อว่า วาย (Y) ออกวางจำหน่ายในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ "ระหว่างขับรถ" และ "คืนที่ปวดร้าว"
อัลบั้ม You (2556–2559)[แก้]
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เดอะเยอร์สได้ย้ายมาเซ็นสัญญากับค่ายจีนี่เรคอร์ดส[5] และปล่อย 2 ซิงเกิลแรกจากอัมบั้มใหม่ชื่อว่า "คืนที่ฟ้าสว่าง" และ "เสพติดความเจ็บปวด" ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงใหม่เป็นจำนวนมากและติดอันดับ 1 ในชาร์ตแคท 30 ทั้งสองเพลง[6][7]ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 เดอะเยอร์สได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทางรายการไฟว์ไลฟ์เฟรชว่าเดอะเยอร์สทำเพลงในอัลบั้มที่ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีทั้งหมด 9 เพลง รอกำหนดการปล่อยอัลบั้มเต็มจากทางค่าย[8] หลังจากปล่อยซิงเกิลที่สองได้ไม่นาน เดอะเยอร์สก็ได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ฉลุย แตะขอบฟ้า โดยนำเพลง "ก็มันเป็นอย่างนั้น" ของบิลลี่ โอแกน มาเรียบเรียงใหม่ในรูปแบบของตนเอง[9]
ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558 อู๋ได้ประกาศชื่ออัลบั้มใหม่ในชื่อว่า ยู (You) ผ่านทางหน้าเฟซบุ๊กของวง พร้อมเล่าถึงที่มาและแรงบันดาลใจของการทำเพลง "เพียงหนึ่งครั้ง" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 3 ในอัลบั้มนี้ก่อนที่จะปล่อยมิวสิกวิดีโอในสองวันต่อมา[10]
เดอะเยอร์สได้จัดแสดงคอนเสิร์ตขนาดเล็กของตัวเองเป็นครั้งแรกที่ ร็อกอะเดมี่ ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า ""ยู" ซีเครตเซสชันส์" ("YOU" Secret Sessions) ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตลับที่จำกัดผู้เข้าชมเพียง 200 คน โดยทางวงเล่นเพลงทุกเพลงของอัลบั้ม ยู ก่อนวันวางจำหน่ายอัลบั้มเต็มและเล่าถึงที่มาของแต่ละเพลงในอัลบั้มนี้ รวมถึงเล่นเพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้ม วาย เกือบทุกเพลง[11] ในเดือนถัดมาเดอะเยอร์สได้ปล่อยซิงเกิลที่ 4 "แอบรอ" พร้อมประกาศวางจำหน่ายอัลบั้ม ยู อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558[12][13]
อัลบั้ม Cry (2560–2561)[แก้]
ในปี 2560 ทางวงเริ่มปล่อยภาพสมาชิกที่กำลังบันทึกเสียงในสตูดิโอ พร้อมกับแฮชแท็ก #theyers3rdalbum จนกระทั่ง อู๋ นักร้องนำได้ปล่อยบันทึกเกี่ยวกับการทำอัลบั้มที่ 3 ว่า เป็น "อัลบั้มอคูสติค" เป็นอัลบั้มพิเศษที่นำเพลงเก่ามาทำเป็นเวอร์ชันอคูสติค และมีเพลงใหม่อีก 7 เพลง [14]
ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 เดอะเยอร์สปล่อยซิงเกิลแรกจากอัลบั้มอคูสติคชื่อว่า "พายุหมุน" หลังจากนั้นทางวงได้ประกาศว่า "เต๋า" ได้ตัดสินใจออกจากวงแล้วก่อนถ่ายมิวสิควีดีโอเพลงพายุหมุนไม่กี่วัน ในช่วงเดือนกันยายนจึงเป็นเดือนสุดท้ายของการทัวร์ของ เต๋า [15]
ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้ปล่อยซิงเกิลที่ 2 ชื่อว่า "เกลียด" เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ปัจจุบันมียอดวิวมากกว่า 30 ล้านวิว
ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ทางวงได้ปล่อยเพลงในโปรเจ็กต์อัลบั้ม Play 2 Project คือเพลง "ดื่ม" ต้นฉบับจาก สกาแล็กซี่ มาเรียบเรียงใหม่
ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้ปล่อยซิงเกิลชื่อว่า "เสียง" และหลังจากนั้น วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้วางแผงอัลบั้มพิเศษที่ 3 ( อะคูสติกอัลบั้ม ) ในชื่อว่า คลาย (Cry) มีทั้งหมด 9 เพลง และ Bonus Track อีก 2 เพลง เฉพาะในรูปแบบ CD เท่านั้น [16]
ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้มีคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม คลาย (Cry) ชื่อ CRY SECRET SESSION ที่ ABOUT STUDIO ลงทะเบียนเข้าชมได้ 600 คน โดยที่ทางวงเล่นสดทุกเพลงในอัลบั้ม คลาย (Cry)
คอนเสิร์ตครบรอบ 10 ปี The Yers (2562–ปัจจุบัน)[แก้]
ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทางวงได้ปล่อยเพลงจากโปรเจ็กต์ DARK ROOM TRILOGY ชื่อว่า "ห้องที่ไม่เคยสว่าง" เพลงได้ถูกนำไปสร้างเป็นหนังสั้นโรแมนติกทริลเลอร์เขย่าขวัญเรื่อง "REDECORATE" ที่กำกับโดย โอ๋ - ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ
ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ทางวงได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครบรอบ 10 ปีของวง โดยใช้ชื่อว่า ไทยประกันชีวิต Presents HALL OF FAN Sunday Evening Concert ตอน The Yers 10 Years ที่ GMM Live House @CentralWorld 8th Floor เป็นคอนเสิร์ตใหญ่เต็มรูปแบบที่จะเล่นทุกเพลงของวง โดยมีแขกรับเชิญคือ วง สเลอ และได้มีการเซอร์ไพรส์ช่วง Encore ก็คือ "เต๋า - ธนา กุสุมภ์" ได้กลับขึ้นมาบนเวทีเซอร์ไพรส์แฟนเพลง และร่วมเล่น 2 เพลงสุดท้ายร่วมกัน
แนวเพลงและสไตล์[แก้]
- ดนตรีของเดอะเยอร์สเป็นแนวอินดี้ร็อก, นิวเวฟ, โพสต์พังก์ริไววัล ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีทางฝั่งสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา[17][18]
- เนื้อหารวมของเพลงเดอะเยอร์สโดยส่วนมากจะเป็นแนวมืดมน เล่าถึงความรักที่ไม่สมหวัง ความเจ็บปวดจากการอกหัก ความรักที่ไม่สดใส แต่แอบแฝงด้วยข้อคิดให้กำลังใจหรือประชดประชันโดยสิ้นเชิง[1][18]
- การแต่งกายของสมาชิกในวงจะเป็นโทนสีดำและไว้ผมยาว เนื่องจากสมาชิกในวงมีความชื่นชอบที่ตรงกันและวงดนตรีที่ชื่นชอบนิยมแต่งกายในลักษณะนี้[1]
- วงดนตรีที่เดอะเยอร์สได้รับอิทธิพลคือ จอยดิวิชัน, เดอะเคียวร์, อีดิเตอร์ส, ไวต์ลายส์, อาร์เคดไฟร์, อินเตอร์โปล, ควีนส์ออฟเดอะสโตนเอจ[17][19]
สมาชิก[แก้]
|
|
ผลงาน[แก้]
ผลงานเพลงของเดอะเยอร์ส | |
---|---|
สตูดิโออัลบั้ม | 3 |
มิวสิกวิดีโอ | 16 |
ซิงเกิล | 16 |
เพลงประกอบภาพยนตร์ | 1 |
เดโม | 3 |
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
ปี | ข้อมูลของอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
2554 |
|
|
2558 |
|
|
2561 |
|
|
ซิงเกิล[แก้]
ปี | รายชื่อเพลง | อัลบั้ม |
---|---|---|
2552 |
"การสื่อสาร" |
Smallroom 007 Boutique |
2554 |
"เทศกาล" |
Y |
"ระหว่างขับรถ" | ||
"ลืมไปก่อน" (คัฟเวอร์ บุดด้าเบลส) |
Fat Awards 11 | |
2555 |
"คืนที่ปวดร้าว" |
Y |
"เต้นรำครั้งสุดท้าย" | ||
"พูด" | ||
2556 |
"พูด" |
A Room On The Hill |
2557 |
"คืนที่ฟ้าสว่าง" |
You |
2558 |
"เสพติดความเจ็บปวด" | |
"เพียงหนึ่งครั้ง" | ||
"แอบรอ" | ||
2559 |
"ความลับของเงา" | |
"TV" | ||
2560 |
"พายุหมุน" |
Cry |
2561 |
"เกลียด" | |
"ดื่ม" |
Play 2 Project | |
"เสียง" | Cry | |
2562 | "ห้องที่ไม่เคยสว่าง" | DARK ROOM TRILOGY |
เดโม[แก้]
ปี | รายชื่อเพลง | หมายเหตุ |
---|---|---|
2550 |
"Last Day"[20] |
— |
"ลวงตา"[21] |
เพลงถูกนำไปรวมอยู่ในซีดี CCD #22 ของนิตยสาร DDT ฉบับที่ 22 | |
2551 |
"STAY"[22] |
เดโมของเพลง "คืนที่ปวดร้าว" |
เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]
ปี | รายชื่อภาพยนตร์ | รายชื่อเพลง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2558 |
ฉลุย แตะขอบฟ้า |
"ก็มันเป็นอย่างนั้น" |
เป็นการนำเพลงต้นฉบับของบิลลี่ โอแกน มาเรียบเรียงใหม่ |
มิวสิกวิดีโอ[แก้]
ปี | รายชื่อเพลง | อัลบั้ม | ผู้กำกับ | ประเภท |
---|---|---|---|---|
2553 |
"การสื่อสาร" |
Smallroom 007 Boutique | ยศทร บุญญธนาภิวัฒน์ & เจษฎา หันช่อ | เรื่องประกอบ |
2554 |
"เทศกาล" |
Y | Kittithat & Dollach | |
"ระหว่างขับรถ" |
Tanis Troe & Spike Jem | |||
2555 |
"คืนที่ปวดร้าว" |
ภาพการแสดงดนตรี | ||
"เต้นรำครั้งสุดท้าย" |
เรื่องประกอบ | |||
"พูด" |
...in Smallroom | ภาพการแสดงดนตรี | ||
2557 |
"คืนที่ฟ้าสว่าง" |
You | สาลินี เขมจรัส | เรื่องประกอบ |
2558 |
"เสพติดความเจ็บปวด" |
Happyland | ภาพการแสดงดนตรี | |
"ก็มันเป็นอย่างนั้น" |
เพลงประกอบภาพยนตร์ ฉลุย แตะขอบฟ้า | N/A | ภาพการแสดงดนตรี, รวมภาพจากภาพยนตร์ | |
"เพียงหนึ่งครั้ง" |
You | N/A | เรื่องประกอบ | |
"แอบรอ" |
Happyland | ภาพการแสดงดนตรีบันทึกสด | ||
2559 |
"ความลับของเงา" | |||
"TV" |
เรื่องประกอบ | |||
2560 | "น้ำลาย" | เพลงประกอบโฆษณา วันทัช | Hello Filmmaker | |
"พายุหมุน" |
Cry | Happyland | ||
2561 | "เกลียด" | N/A | ||
"ดื่ม" | Play 2 Project | Staygold | ||
"เสียง" | Cry | |||
2562 | "ห้องที่ไม่เคยสว่าง" | DARK ROOM TRILOGY | ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ |
รางวัล[แก้]
- The Fat Awards
ปี | ผู้รับ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2553[23] | "การสื่อสาร" | บันทึกเสียงยอดเยี่ยมแห่งปี (Record of the Year) | เสนอชื่อเข้าชิง |
The Yers | ศิลปินหน้าใหม่แห่งปี (New Artist of the Year) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2554[24] | ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมแห่งปี (Duo or Group Artist of the Year) | ชนะ[25] | |
Y | อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งปี (Album of the Year) | เสนอชื่อเข้าชิง |
- Season Awards
ปี | ผู้รับ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2554[26] | The Yers | ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม | ชนะ[27] |
ศิลปินกลุ่มร็อคยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
Y | อัลบั้มยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
อัลบั้มร็อคยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
"Dance In The Dark" | เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2558[28] | The Yers | ศิลปินคู่หรือกลุ่มยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
ยศทร บุญญธนาภิวัฒน์ และ ดนัย ธงสินธุศักดิ์ | โปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
"คืนที่ฟ้าสว่าง" | เพลงร็อคยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
"ความลับของเงา" | เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
- You2play Awards
ปี | ผู้รับ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2554[29] | The Yers | ศิลปินหน้าใหม่ยอดนิยม (Favorite New Artist) | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปี | ผู้รับ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2555[30] | The Yers | นักร้องกลุ่มแห่งปี | เสนอชื่อเข้าชิง |
- The Guitar Mag Awards
ปี | ผู้รับ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2556[31] | The Yers | New Wave | เสนอชื่อเข้าชิง |
2558[32] | Best Choice of The Year | เสนอชื่อเข้าชิง |
ปี | ผู้รับ | รางวัล | ผล |
---|---|---|---|
2558[33] | The Yers | ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "THE YERS - Interview [Smallroom Inside]". YouTube. 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ "The Yers "การสื่อสาร" Promo Video". YouTube. 2009-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-02-10.
- ↑ "เพลงอินดี้อันดับ 1 ของปี 2011". thailandsusu. 2011-12-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-15.
- ↑ "เอกกี้..เม้าท์ - The Yers วันที่ 6 มีนาคม 2558". YouTube. 2015-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ "The Yers เซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัดค่าย genie records". Genie-records. 2014-03-11. สืบค้นเมื่อ 2014-05-03.
- ↑ "Cat 30 วันเสาร์ที่ 4 October 2014". Cat Radio. 2014-10-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
- ↑ "Cat 30 วันเสาร์ที่ 14 March 2015". Cat Radio. 2015-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
- ↑ "5Live One Night Stand : The Yers". YouTube. 2014-09-30. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
- ↑ "3 ใบปิดแรก และ MV ก็มันเป็นอย่างนั้น จากหนัง 'ฉลุย แตะขอบฟ้า'". MThai. 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
- ↑ "" ในชีวิตคนเรา จะมีความรักที่สวยงามและบริสุทธิ์เกิดขึ้นได้ซักกี่ครั้ง ? " The Yers Official Page". Facebook. 2015-08-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-04.
- ↑ ""The Yers" จัดปาร์ตี้เปิดซิงเพลงใหม่ 9 เพลงรวด แง้มปล่อย"YOU"อัลบั้มเต็มชุดใหม่ธันวาคมนี้!". สยามดารา. 2015-11-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ "แถลงการณ์จาก The Yers จากกรณี Facebook และ IG ถูกแฮคโดยหญิงสาวนิรนาม". Facebook. 2015-11-19. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ "แถลงการณ์จาก The Yers เรื่อง Album "YOU"". Facebook. 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 2015-12-17.
- ↑ https://www.facebook.com/theyerstheyers/photos/a.617113715000583/1576499079062037/?type=3&theater
- ↑ https://www.facebook.com/theyerstheyers/photos/a.148381855207107/1586511211394157/?type=3&theater
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=Lxmh-etVzZI
- ↑ 17.0 17.1 "โสตศึกษา ROCK : THE YERS". YouTube. 2013-04-23. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ 18.0 18.1 "The Next Big Thing?". asia-city. 2010-10-21. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ "เกี่ยวกับ The Yers". Facebook. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ "Last Day by THE YERS". Myspace. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ "LuangTa by THE YERS". Myspace. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ "STAY by THE YERS". Myspace. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27.
- ↑ "ประกาศรายชื่อ Nominees FaTAWARDS 2010". Facebook. 2011-09-15. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "สรุปผลรางวัล The Fat Awards ที่เพิ่งประกาศเมื่อหัวค่ำที่ผ่านมาครับ". Pantip. 2012-07-25. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "สรุปผลการประกาศรางวัลและภาพบรรยากาศจากงาน The Fat Awards มาให้ดูแล้วที่นี่!!". truelife. 2012-07-25. สืบค้นเมื่อ 2014-05-03.
- ↑ "รายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้าย "สีสัน อะวอร์ดส์" ครั้งที่ 24 ประจำปี 2554". Facebook. 2012-03-13. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2554". Siamzone. 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ 2014-05-03.
- ↑ "รายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้าย "สีสัน อะวอร์ดส์" ครั้งที่ 27 ประจำปี 2558". Facebook. 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-03-21.
- ↑ "You2play Awards 2011 (1/7)". You2play. 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "ผลรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ 2013". Sanook. 2013-03-21. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "THE GUITAR MAG AWARD 2013". The Guitar Mag. 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "THE GUITAR MAG AWARD 2015". Facebook. 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-02-27.
- ↑ "เปิดโผ5อันดับ'เพลงไทยสากล'ค้นหาใครเข้าชิงคมชัดลึกอวอร์ด13". คมชัดลึกออนไลน์. 2013-03-21. สืบค้นเมื่อ 2016-03-14.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เดอะเยอร์ส ที่ เฟซบุ๊ก
- เดอะเยอร์ส ที่ ยูทูบ
- เดอะเยอร์ส ที่ อินสตาแกรม
- เดอะเยอร์ส ที่ ทวิตเตอร์
- เดอะเยอร์ส ที่ มายสเปซ