ข้ามไปเนื้อหา

เดวิด โบอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เดวิด โบวี)
เดวิด โบอี
เดวิด โบอี ในปี ค.ศ. 1975
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเดวิด โรเบิร์ต โจนส์
เกิด8 มกราคม ค.ศ. 1947(1947-01-08)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต10 มกราคม ค.ศ. 2016(2016-01-10) (69 ปี)
นครนิวยอร์ก สหรัฐ
แนวเพลงร็อก, แกลมร็อก, อาร์ตร็อก, ป็อปร็อก, บลู-อายด์โซล, นิวเวฟ, เวิลด์มิวสิค, เอกซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง
ช่วงปี1964-2016
ค่ายเพลงDeram, RCA, Rykodisc, EMI America, Virgin, EMI, ISO, Columbia, BMG, Parlophone, Pye
เว็บไซต์www.davidbowie.com

เดวิด โบอี (อังกฤษ: David Bowie; เกิด 8 มกราคม ค.ศ. 1947) หรือชื่อเกิด เดวิด โรเบิร์ต โจนส์ (อังกฤษ: David Robert Jones) เป็นนักร้อง - นักแต่งเพลง, นักแสดง, นักดนตรี, ผู้เรียบเรียงเพลง, นักแสดง และจิตรกรชาวอังกฤษ โบอีมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จมาร่วมห้าทศวรรษด้วยดนตรีและภาพลักษณ์ใหม่ ๆ จนได้รับการนับถือจากนักวิจารณ์เพลงและศิลปินอื่น ๆ ว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงดนตรีสู่ยุคใหม่ โดยเฉพาะผลงานดนตรีในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่เขาได้รับกล่าวขานว่ามีอิทธิพลต่อนักดนตรีหลายคน[1] โบอีมีเนื้อเสียงเด่นแบบแบริโทน[2][3] หลังจากปี ค.ศ. 2004 โบอีเลิกแสดงทัวร์คอนเสิร์ต และการแสดงครั้งสุดท้ายจัดขึ้นเพื่อการกุศลเมื่อปี ค.ศ. 2006

ในปี ค.ศ. 2013 โบอีกลับมาอีกครั้ง หลังห่างหายจากวงการเพลงไปหนึ่งทศวรรษ โบอียังคงเดินหน้าทำผลงานเพลง จนกระทั่งเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับเมื่อปี ค.ศ. 2016

เกิดและเติบโตในบริกซ์ตัน เซาท์ลอนดอน โบวีพัฒนาแนวเพลงจนเกิดความสนใจในช่วงแรก แม้ว่าความพยายามของเขาจะไปในทางป็อปสตาร์ โดยในช่วงทศวรรษ 1960 ถือเป็นช่วงที่ไม่ประสบความสำเร็จของโบวี ผลงานเพลง "Space Oddity" ก็ถือเป็นเพลงแรกของโบวีที่ได้ติดลำดับห้าในใน UK Single Charts หลังการปล่อยเมื่อเดือนกรกฎาคม 1969 สามปีให้หลังจากเพลงนี้ถูกปล่อยไปได้ เขาปรากฏตัวอีกครั้งในปี 1972 ในช่วงยุคแนวเพลงแกลมร็อกเริ่มเฟื่องฟู ด้วยสีผมของโบวีอันฉูดฉาดและการแต่งตัวโดยไม่มีเส้นแบ่งทางเพศ โบวียังมีบทบาทตัวละครประจำตัวของเขา นั้นคือ ซิกกี สตาร์ดัสท์ (Ziggy Stardust) บทบาทของเขาถือได้ว่ากลายเป็นแนวหน้า โดยซิงเกิลของเขาอย่าง "Starman" และอัลบั้ม The Rise and Fall of Ziggy Stardust and the Spiders from Mars. ซิกกี สตาร์ดัสท์คืออีกบุคลิกของโบอี ซึ่งแสดงเห็นในอีกด้านหนึ่งโดยการคิดค้นนวัตกรรมทางดนตรีและการแสดงอันน่าตื่นเต้น

ในปี 1975 โบอีประสบความสำเร็จครั้งแรกทางฝั่งสหรัฐ กับซิงเกิลอันดับ 1 "Fame" จากอัลบั้มฮิต Young Americans ที่เขาอธิบายว่าเป็นแนว "พลาสติกโซล" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวเพลงอีกครั้งของตัวเขา เขาทั้งสับสนในความคาดหวังจากค่ายเพลงและกลุ่มคนฟังในอังกฤษและรวมกับปัญหาอาการติดยา เป็นเหตุให้เขาออกอัลบั้ม Station to Station ออกมาในปี 1976 โดยตัวเขานั้นได้บอกเอาไว้ว่าตัวเขาไม่สามานถจำเหตุการณ์ในช่วงการทำอัลบั้มนี้ได้เลยเพราะอาการติดยาอย่างหนัก เขาจึงย้ายไปอยู่เบอร์ลินร่วมกับ อิกกี พอป เพื่อบำบัดอาการติดยาและแสวงหาแรงบันดาลใจใหม่ จนออกมาเป็นอัลบั้มสามชุดที่ได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีแนวทดลองจากเยอรมันอย่างแนวเคราต์ร็อก ที่ถูกเรียกกันว่า "Berlin Trilogy" ซึ่งเป็นผลงานที่ร่วมกับ ไบรอัน อีโน อันประกอบด้วยอัลบั้ม Low, "Heroes" และ Lodger ทั้ง 3 อัลบั้มติดท็อป 5 ในสหราชอาณาจักร "Berlin Trilogy" นั้นได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผลงานที่เผยแพร่ดนตรีแนวเคราต์ร็อก เวิลด์มิวสิก และแอมเบียนท์ ให้ได้รับการรู้จัก และมีอิทธิพลต่อการกำเนิดของดนตรีแนว โพสต์พังก์ ซินท์ป็อป กอทิกร็อก อินดัสเทียล และโพสต์ร็อก ในทศวรรษ 1980 และ 1990

หลังจากไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรด้านยอดขายในปลายยุค 1970 โบอีมีซิงเกิลอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรในปี 1980 กับซิงเกิล "Ashes to Ashes" ที่บรรจุอยู่ในอัลบั้ม Scary Monsters (and Super Creeps) เขาร่วมกับควีน ในซิงเกิลอันดับ 1 "Under Pressure" และออกอัลบั้มในปี 1983 ชุด Let's Dance ที่มีซิงเกิลฮิต "Let's Dance", "China Girl", และ "Modern Love" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ขายดีและป็อปที่สุดอัลบั้มหนึ่งของเขา

โบอีออกอัลบั้มออกมาอีกหลายอัลบั้มตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 จนไปถึง ต้นทศวรรษที่ 2000 มีตั้งแต่แนวอาร์ตป็อปในอัลบั้ม Black Tie White Noise (1993) อินดัสเทรียลในอัลบั้ม Outside (1995) อิเล็กทรอนิก้าในอัลบั้ม Eartling (1997) ป็อปร็อกในอัลบั้ม Hours (1999) และอาร์ตร็อกในอัลบั้ม Heathen (2002) และ Reality (2003) ก่อนที่จะพักจากการออกอัลบั้มไปสิบปี

ในปี 2013 โบอีกลับมากับอัลบั้มในแนวอาร์ตร็อก The Next Day ซึ่งได้รับการกล่าวว่าเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่เศร้าที่สุดของเขา โดยได้รับสันนิษฐานว่ามาจากความแก่ชราของตัวโบอีเอง และในปี 2016 เขาก็ได้ออกอัลบั้มชุดสุดท้ายของเขาในแนวเอ็กซ์เพอริเมนทัลร็อกและแจ๊ส Blackstar ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับมุมมองกับความตายและอดีตของตัวเขา อัลบั้มนี้ออกมาเพียงสองวันก่อนที่เขาจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ อัลบั้มนี้ถูกยกย่องจากนักวิจารณ์ว่าเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดของโบอีและเปรียบดั่ง "มรณานุสติ" ของตัวเขาเอง

ในปี 2002 บีบีซีได้ออกแบบสำรวจในหัวข้อ 100 คนอังกฤษที่ยอดเยี่ยมที่สุด โบอีติดอยู่อันดับ 29 ตลอดในอาชีพเขา มีผลงานอัลบั้มขายได้ประมาณ 136 ล้านชุด[4] และติดอยู่ในศิลปินอัลบั้มขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์เพลงป็อปอังกฤษ ในปี 2004 นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับให้เขาที่อันดับ 39 ในหัวข้อ 100 ศิลปินร็อกที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[5]

เดวิด โบอี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2016 หรือ 2 วันหลังจากอายุครบ 69 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. David Bowie by Stephen Thomas Erlewine; URL accessed 21 March 2007
  2. "Earthling". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  3. Pareles, John (30 November 1991). "Review/Rock; For Bowie, One More Change of Pace". The New York Times. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessdaymonth= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  4. "David Bowie profile". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-09. สืบค้นเมื่อ 2008-09-10.
  5. "The Immortals: The First Fifty". Rolling Stone Issue 946. Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-25. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  6. David Bowie died of liver cancer, friend says - NY Daily News

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]