ข้ามไปเนื้อหา

เดวิด วอร์เรน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดวิด วอร์เรน

วอร์เรนกับต้นแบบของกล่องดำ
เกิดเดวิด รอนัลด์ เดอ เมย์ วอร์เรน
20 มีนาคม ค.ศ. 1925(1925-03-20)
กรูตไอลันดต์ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ออสเตรเลีย
เสียชีวิต19 กรกฎาคม ค.ศ. 2010(2010-07-19) (85 ปี)
เมลเบิร์น ออสเตรเลีย
สัญชาติออสเตรเลีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซิดนีย์
อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
มีชื่อเสียงจากเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน, เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน, "กล่องดำ"
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงานองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
เดวิด วอร์เรนให้สัมภาษณ์เรื่องสิ่งประดิษฐ์ของเขาในการรายงานข่าวของเอบีซี ปี 1985

เดวิด รอนัลด์ เดอ เมย์ วอร์เรน (David Ronald de Mey Warren, 20 มีนาคม 1925 – 19 กรกฎาคม 2010) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ผู้คิดค้นและพัฒนาเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน (flight data recorder หรือ FDR) และเครื่องบันทึกเสียงภายในห้องนักบิน (cockpit voice recorder หรือ CVR) หรือที่เรียกว่า "กล่องดำ"[1]

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

วอร์เรนเป็นลูกของเรฟ ฮิวเบิร์ต (Rev Hubert) กับเอลลี วอร์เรน (Ellie Warren) และมีพี่น้องสามคน เขาได้รับการศึกษาที่ลอนเซสตันเชิร์ชแกรมมาร์สกูล (Launceston Church Grammar School)[2] และทรินิตีแกรมมาร์สกูล (Trinity Grammar School) รัฐนิวเซาท์เวลส์[3][4] พ่อของเขา ฮิวเบิร์ต เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางอากาศบริเวณเหนือช่องแคบแบสส์เมื่อปี 1934[5]

เขาได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์, ปริญญาเอกด้านเชื้อเพลิงและพลังงานจากอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน, อนุปริญญาอิมพิเรียลคอลเลจ, และอนุปริญญาด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น[6]

อาชีพ

[แก้]

วอร์เรนทำงานที่ห้องปฏิบัติการวิจัยการบินขององค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมในเมลเบิร์นตั้งแต่ปี 1952 ถึง 1983 โดยได้ไต่เต้าขึ้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับนักวิจัยหลัก[6][7] ในขณะนั้น เขาได้เกิดความคิดเกี่ยวกับเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบินในขณะที่กำลังสืบสวนการตกของเครื่องบินไอพ่นโดยสารเชิงพาณิชย์ลำแรกของโลก คอเม็ท ในปี 1953 หลังจากที่เขาได้ไปเห็นเครื่องบันทึกเสียงขนาดเล็กในงานแสดงสินค้า "ถ้ามีนักธุรกิจคนหนึ่งใช้งานสิ่งนี้บนเครื่องบินและก็พบมันในซากปรักหักพัง แล้วเรามาย้อนเปิดฟัง เราก็จะพูดได้ว่า 'เรารู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของสิ่งนี้'" วอร์เรนเล่าในภายหลัง "เสียงใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกเก็บไว้ และคุณก็สามารถนำมันออกมาจากซากปรักหักพังได้"[5]

แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเคยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกตัวแปรระหว่างการบินหลายอย่าง แต่นั่นก็ไม่ได้รวมถึงการบันทึกเสียง อีกทั้งไม่สามารถใช้ซ้ำได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้งานได้จริงในเที่ยวบินเชิงพาณิชย์แบบประจำ สิ่งประดิษฐ์ของวอร์เรนนั้นอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก ช่วยให้สามารถลบและบันทึกซ้ำได้ง่าย ซึ่งทำให้สามารถใช้งานได้จริงสำหรับการให้บริการเส้นทางประจำ แนวคิดของวอร์เรนเกี่ยวกับเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบินได้เพิ่มมิติใหม่ให้กับเครื่องมือในการบันทึกข้อมูลการบิน และได้พิสูจน์แล้วว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งในการสืบสวนอุบัติเหตุ ในบางอุบัติเหตุที่เครื่อง CVR มีบทบาทสำคัญนั้น เบาะแสที่สำคัญในการหาสาเหตุของอุบัติเหตุไม่ได้มาจากเสียงที่บันทึกได้จากลูกเรือ แต่ได้จากเสียงอื่น ๆ ที่บันทึกไว้ได้โดยบังเอิญ[8]

ในวันที่ 20 มีนาคม 2021 กูเกิลได้แสดงดูเดิลบนหน้าแรกในบางประเทศ เนื่องในวันเกิดปีที่ 96 ของเดวิด วอร์เรน[9][10]

หมายเหตุและอ้างอิง

[แก้]
  1. การทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน และเครื่องบันทึกเสียงภายในห้องนักบิน เดิมถูกรวมไว้ในกล่องเดียว
  2. Seales, Rebecca (18 July 2019). "This little-known inventor has probably saved your life". BBC. สืบค้นเมื่อ 19 July 2019.
  3. "Black box inventor David Warren dies". Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 22 July 2010. สืบค้นเมื่อ 18 Sep 2020.
  4. Heath, Phillip (1990). Trinity the Daring of Your Name, A History of Trinity Grammar Schoo, Sydney. Sydney: Allen & Unwin. p. 284. ISBN 0044422245.
  5. 5.0 5.1 Coopes, Amy (20 July 2010). "Aircraft 'black box' inventor dies in Australia". AFP. Google.com. สืบค้นเมื่อ 2 August 2010.
  6. 6.0 6.1 Dave Warren – Biography เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Defence Science and Technology Organisation, www.dsto.defence.gov.au, retrieved 30 November 2012.
  7. "Black box inventor dies, age 85". Telegraph. 21 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2 August 2010.
  8. "Data Collection and Improved Technologies". National Transportation Safety Board. 20 May 1998. We were able to derive the speed of the engines based on a sound spectrum analysis of the engine sounds recorded on the CVR. That information, in combination with conversations between the crew enabled us to determine that the engines were not at high thrust as the pilots believed.
  9. https://www.google.com/doodles/david-warrens-96th-birthday
  10. https://www.youtube.com/watch?v=9m3mntgDJaU

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]