เซอเบอรังเปอไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซอเบอรังเปอไร

Seberang Perai
นครเซอเบอรังเปอไร
Bandaraya Seberang Perai
การถอดเสียงอื่น ๆ
 • อังกฤษProvince Wellesley
 • ยาวีسبرڠ ڤراي
 • จีน威省
 • ทมิฬசெபராங் பிறை
ธงของเซอเบอรังเปอไร
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเซอเบอรังเปอไร
ตรา
เซอเบอรังเปอไร (สีแดง) ในรัฐปีนัง (ซ้าย) และมาเลเซียตะวันตก (ขวา)
เซอเบอรังเปอไร (สีแดง) ในรัฐปีนัง (ซ้าย) และมาเลเซียตะวันตก (ขวา)
โอเพนสตรีตแมป
แผนที่
พิกัด: 5°24′N 100°28′E / 5.400°N 100.467°E / 5.400; 100.467
ประเทศธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
รัฐ รัฐปีนัง
ก่อตั้งค.ศ. 1800
คราวน์โคโลนี1 เมษายน ค.ศ. 1867 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
ญี่ปุ่นยึดครอง19 ธันวาคม ค.ศ. 1941 – 3 กันยายน ค.ศ. 1945
จัดตั้งเป็นเทศบาล15 ธันวาคม ค.ศ. 1976[1]
จัดตั้งเป็นนคร16 กันยายน ค.ศ. 2019[2]
การปกครอง
 • ประเภทสภานคร
 • องค์กรสภานครเซอเบอรังเปอไร
 • นายกเทศมนตรีโรซาลี โมฮามุด
พื้นที่
 • ทั้งหมด751 ตร.กม. (290 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ค.ศ. 2020[3])
 • ทั้งหมด946,092 คน
 • ความหนาแน่น1,259.8 คน/ตร.กม. (3,263 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์12xxx ถึง 14xxx
รหัสโทรศัพท์+6043, +6045
ทะเบียนรถP
เว็บไซต์www.mbsp.gov.my

เซอเบอรังเปอไร (มลายู: Seberang Perai) หรือ พรอวินซ์เวลส์ลีย์ (อังกฤษ: Province Wellesley) ปรากฏในเอกสารไทยว่า สมารังไพร[4][5] ภาษาไทยถิ่นใต้ว่า แปไหร[6] เป็นพื้นที่ขนาดแคบบนคาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะปีนัง และขึ้นอยู่กับรัฐปีนัง ดินแดนเซอเบอรังเปอไรถูกล้อมด้วยรัฐเกอดะฮ์ทางเหนือและทางตะวันตก ส่วนทางทิศใต้ติดกับรัฐเประ มีเมืองสำคัญคือเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ส่วนที่ตั้งของสภานครอันเป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ใกล้เมืองบูกิตเมอร์ตาจัม เมื่อ ค.ศ. 2010 เซอเบอรังเปอไรมีประชากร 815,767 คน ทำให้ที่นี่เป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศมาเลเซีย[7][8]

เดิมเซอเบอรังเปอไรเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกอดะฮ์ ที่ถูกยกให้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น พรอวินซ์เวลส์ลีย์ ตามชื่อนายทหารสหราชอาณาจักร เพื่อสร้างประโยชน์เชิงเกษตรกรรมรวมทั้งเป็นปราการป้องกันการบุกรุกผ่านช่องแคบจากแผ่นดินใหญ่ ที่ต่อมาได้ผนวกเซอเบอรังเปอไรเข้ากับเกาะปีนังในฐานะอาณานิคมของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1867

หลังมาเลเซียได้รับเอกราช เซอเบอรังเปอไรเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ[9][10] มีการย้ายนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จากท่าเรือปีนังมาประจำที่เมืองบัตเตอร์เวิร์ทเมื่อ ค.ศ. 1974 ยังประโยชน์ด้านเศรษฐกิจแก่เซอเบอรังเปอไร ทั้งยังมีการปรับปรุงการเชื่อมต่อและการขนส่งให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ, สะพานปีนัง, สะพานสุลต่านอับดุลฮาลิมมูอัดซัมชะฮ์ ปัจจุบันเซอเบอรังเปอไรเป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองขยายปีนัง ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของมาเลเซีย[11]

เซอเบอรังเปอไรแบ่งการปกครองออกเป็นสามอำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเซอเบอรังเปอไรอูตารา (Daerah Seberang Perai Utara) มีศูนย์กลางที่เมืองเกอปาลาบาตัซ (Kepala Batas)
  2. อำเภอเซอเบอรังเปอไรเตองะฮ์ (Daerah Seberang Perai Tengah) มีศูนย์กลางที่เมืองบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam)
  3. อำเภอเซอเบอรังเปอไรเซอลาตัน (Daerah Seberang Perai Selatan) มีศูนย์กลางที่เมืองซูไงจาวี (Sungai Jawi)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Butterworth remains the Ugly Duckling". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2012.
  2. "Seberang Prai achieves city status". The Star Online (ภาษาอังกฤษ). 16 September 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  3. "07 PULAU PINANG". สืบค้นเมื่อ 2 May 2022.[ลิงก์เสีย]
  4. ภาวิตา ชวนขยัน (2558). ""ปีนัง" เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม". ศูนย์อาเซียนศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. สัมพันธภาพระหว่างไทยกับมลายูสมัยแรก (พ.ศ. 1823–2352 หรือ ค.ศ. 1280–1809) (PDF). Chulalongkorn University Intellectual Repository. p. 22.
  6. อุดมสมบัติ (จัน), หลวง. จดหมายหลวงอุดมสมบัติ. พระนคร : ศิวพร. 2505, หน้า 136
  7. "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2011.
  8. "Key summary statistics for Local Authority areas, Malaysia, 2010" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
  9. Goh Ban Lee. "Seberang Perai: The adopted child matures" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
  10. "The Mainland Awakens". Penang Monthly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-11. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.