เซจิ โอซาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซจิ โอซาวะ
小澤 征爾
โอซาวะในปี 1963
เกิด1 กันยายน ค.ศ. 1935(1935-09-01)
มุกเดน ประเทศแมนจู
(ปัจจุบันคือเฉิ่นหยาง ประเทศจีน)
เสียชีวิต6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024(2024-02-06) (88 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพวาทยกร

เซจิ โอซาวะ (ญี่ปุ่น: 小澤 征爾) เป็นวาทยกรชาวญี่ปุ่นซึ่งมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้อำนวยการเพลงให้แก่วงดุริยางค์ชั้นนำ อาทิ ซานฟรานซิสโกซิมโฟนี, โทรอนโตซิมโฟนีออร์เคสตรา, อุปรากรรัฐเวียนนา, บอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา ฯลฯ และยังเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของเบอร์ลินฟิลฮาร์มอนิกตั้งแต่ปี 2016

ประวัติ[แก้]

ภูมิหลัง[แก้]

เซจิ โอซาวะ เกิดเมื่อปี 1935 ในครอบครัวชาวญี่ปุ่นซึ่งประจำอยู่ในนครมุกเดน มณฑลเฟิ่งเทียน ประเทศแมนจู อันเป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวก็เดินทางกลับญี่ปุ่นในปี 1944 โอซาวะในวันเก้าปีเริ่มเรียนเปียโนอย่างหนัก และงานเพลงของโยฮัน เซบัสทีอัน บัค ต่อมาภายหลังจบการศึกษาในระดับมัธยมปลาย โอซาวะก็ทำกระดูกนิ้วหักจำนวนสองนิ้วในการเล่นรักบี้ ส่งผลให้เขาไม่สามารถเรียนเปียโนอีกต่อไป

ฮิเดโอะ ไซโตะ อาจารย์ของโอซาวะ จึงพาเขาไปรับชมการแสดงเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 5 ของเบทโฮเฟิน การได้รับชมการแสดงในครั้งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของโอซาวะ เขาเปลี่ยนจากสายทางนักดนตรีเข้าสู่สายทางวาทยกร[1] เขาเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการดนตรีโทโฮกะกุเอ็นในโตเกียว และจบการศึกษาในปี 1957[2][3]

ความสำเร็จระดับสากล[แก้]

เกือบหนึ่งทศวรรษหลังจากเล่นกีฬาจนนิ้วหัก โอซาวะได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดวาทยกรออร์เคสตรานานาชาติที่เมืองเบอซ็องซง ประเทศฝรั่งเศส[4] ความสำเร็จในครั้งนี้นำไปสู่การถูกรับเชิญจากชาร์ล มุนช์ ผู้อำนวยการเพลงของบอสตันซิมโฟนีออร์เคสตรา ให้เขาเข้ามาฝึกหัดที่ศูนย์ดนตรีเบิร์กไชร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลาไม่กี่ปีหลังมาอยู่ที่นี่ โอซาวะก็ได้รับรางวัลคูเซวิตสกีในฐานะวาทยกรฝึกหัดยอดเยี่ยม ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับสูงสุดของสถาบัน

โอซาวะได้รับทุนการศึกษาจากแฮร์แบร์ท ฟ็อน คารายัน วาทยกรผู้ยิ่งใหญ่ของเยอรมนี เขาจึงย้ายไปพำนักในเบอร์ลินตะวันออก และแล้วโอซาวะภายใต้การอบรมของคารายัน ก็เป็นที่เข้าตาของเลนนาร์ด เบิร์นสไตน์ วาทยกรผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา เขาได้รับแต่งตั้งจากเบิร์นสไตน์ให้เป็นวาทยกรผู้ช่วยของวงนิวยอร์กฟิลฮาร์มอนิกในปี 1961

อ้างอิง[แก้]

  1. "Seiji Ozawa at the Kennedy Center Honors". YouTube.
  2. Reitman, Valerie (March 9, 2000). "Crash Course in Passion". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  3. Iuchi, Chiho (December 2, 2017). "Master class: Conductor Seiji Ozawa passes on his knowledge to a new generation". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 27, 2020.
  4. Aaron Green. "Seiji Ozawa – A Profile of the Great Conductor". Classicalmusic.about.com. สืบค้นเมื่อ January 6, 2016.