ข้ามไปเนื้อหา

เฉินฮั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉินฮั่น

大漢
1360–1364
เฉินฮั่นในช่วงปลายราชวงศ์หยวน
เฉินฮั่นในช่วงปลายราชวงศ์หยวน
เมืองหลวงจิ่วเจียง ต่อมาเป็นอู่ฉาง
การปกครองระบอบราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• 1360–1363
เฉิน โหย่วเลี่ยง
• 1363–1364
เฉิน หลี่
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
1360
• สิ้นสุด
1364
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์หยวน
ราชวงศ์หมิง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน

เฉินฮั่น (จีนตัวย่อ: 陈汉; จีนตัวเต็ม: 陳漢; 1360–1364), หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ต้าฮั่น (Great Han) แปลว่า ฮั่นที่ยิ่งใหญ่ (จีนตัวย่อ: 大汉; จีนตัวเต็ม: 大漢) เป็นราชวงศ์จีนที่มีอายุสั้นในบริเวณแม่น้ำแยงซีตอนกลางในช่วงปลายราชวงศ์หยวนที่กำลังเกิดวุ่นวาย ก่อตั้งขึ้นโดยแม่ทัพกบฏโพกผ้าแดง เฉิน โหย่วเลี่ยง

ประวัติ

[แก้]

เฉิน โหย่วเลี่ยงเริ่มต้นการครองอำนาจและต่อมาลอบสังหารผู้นำกบฏโพกผ้าแดง สฺวี โฉ่วฮุ่ย และยึดครองระบอบการปกครองในภูมิภาคของเขา

ในช่วงที่มีอำนาจเต็มที่ ดินแดนของราชวงศ์เฉินฮั่นครอบคลุมมณฑลในปัจจุบันของ มณฑลหูเป่ย์, มณฑลเจียงซี, และ มณฑลหูหนาน แต่เจียงซีส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของขุนศึกอีกคนหนึ่ง จู หยวนจาง ในปี 1361

ในปี 1363 เฉินและจูได้ทำสงครามกันใน ยุทธการทะเลสาบที่ปั๋วหยาง ซึ่งเฉินถูกสังหาร

บุตรชายวัยรุ่นของเขา เฉิน หลี่ ขึ้นครองราชย์ต่อจากเขา แต่ไม่มีทรัพยากรพอที่จะต้านทานจูผู้มีอำนาจ ซึ่งได้พิชิตฮั่นในปีถัดไป

เฉิน หลี่ยอมสวามิภักดิ์ต่อจูและย้ายไปที่ โครยอ (เกาหลี) ซึ่งเขามีบุตรและกลายเป็นบรรพบุรุษของ ตระกูลยังซานจิน ในเกาหลี[1]

ลำดับวงศ์ตระกูล

[แก้]
พงศาวลีของเฉินฮั่น
เฉิน โหยวฟู่ (陳友富)
เฉิน ผู่ไฉ่ (陳普才)
เฉิน โหย่วเลี่ยง (陳友諒)
เฉิน หลี่ (陳理)
ตระกูลยังซานจิน (ทายาทชาวเกาหลี)
  • มีบันทึกบางส่วนจากจีนและเวียดนามที่ระบุว่า เฉิน โหย่วเลี่ยง (陳友諒) (ค.ศ. 1320–1363) เป็นบุตรของ เฉิน อี้จี๋ (陳益稷 หรือ ตรัน อิช ตัก ค.ศ. 1254–1329) ขุนนางในสมัย ราชวงศ์หยวน ซึ่งแต่เดิมเป็นเจ้าชายใน ราชวงศ์ตรัน[2][3]
  • ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่าง เฉิน ผู่ไฉ่ และ เฉิน อี้จี๋ คืออะไร หรือว่าพวกเขาเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 《明史/卷123》Mingshi
  2. 《大越史記全書》本紀卷之七:“甲午(紹豐)十四年元至正十四年春二月,北邊帥臣驛奏,元陳友諒起兵,遣使來乞和親友諒,陳益稷子。”、“辛丑(大治)四年元至正二十一年二月,明太祖攻江州。陳友諒退居武昌,使人來乞師,不許。”
  3. Ngô Sĩ Liên (1993), Đại Việt sử ký toàn thư (ภาษาเวียดนาม) (Nội các quan bản ed.), Hanoi: Social Science Publishing House, p. 251