ข้ามไปเนื้อหา

เจ2 ลีก ฤดูกาล 2025

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ2 ลีก
ฤดูกาล2025
วันที่15 กุมภาพันธ์ – 29 พฤศจิกายน
จำนวนนัด180
จำนวนประตู426 (2.37 ประตูต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุด3 คน (9 ประตู)
ทีมเหย้า
ชนะสูงสุด
เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ 5–1 เอฮิเมะ เอฟซี (16 มีนาคม 2025)
ทีมเยือน
ชนะสูงสุด
โรอัสโซ คูมาโมโตะ 0–4 อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา (2 มีนาคม 2025)
จำนวนประตูสูงสุดวี-วาเรน นางาซากิ 3–4 อิวากิ เอฟซี (25 เมษายน 2025)
จำนวนผู้ชมสูงสุด49,991 คน
เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ 1–2 อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา
(6 พฤษภาคม 2025)
จำนวนผู้ชมต่ำสุด2,610 คน
มิโตะ ฮอลลีฮอก 2–1 โรอัสโซ คูมาโมโตะ
(17 พฤษภาคม 2025)
จำนวนผู้ชมรวม1,417,910 คน[1]
จำนวนผู้ชมเฉลี่ย8,011 คน
2024
สถิติทั้งหมดปรับปรุงล่าสุดในวันที่ 1 มิถุนายน 2025

เจ2 ลีก ฤดูกาล 2025 หรือรู้จักในชื่อ เมจิ ยาสึดะ เจ2 ลีก ฤดูกาล 2025 (ญี่ปุ่น: 2025 明治安田J2リーグ; โรมาจิ: 2025 Meiji Yasuda J2 Rīgu) ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน เป็นฤดูกาลที่ 27 ของเจ2 ลีก ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลอาชีพระดับที่สองของประเทศญี่ปุ่นสำหรับสโมสรฟุตบอล นับตั้งแต่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1999 และเป็นฤดูกาลที่ 11 ของลีกนับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจาก เจ.ลีก ดิวิชัน 2

ภาพรวม

[แก้]

ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลสุดท้ายของเจลีกที่แข่งขันในรอบปีปฏิทินตั้งแต่ปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูหนาว และฤดูกาลถัดไปจะแข่งขันตั้งแต่ฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ผลิ[2]

กำหนดการแข่งขัน

[แก้]

รูปแบบและนัดการแข่งขันได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 โดยฤดูกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 และสิ้นสุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2025

กำหนดการแข่งขันเพลย์ออฟเลื่อนชั้นในระหว่างวันที่ 7 ถึง 13 ธันวาคม ค.ศ. 2025

ความเปลี่ยนแปลงจากฤดูกาลก่อน

[แก้]

สามทีมที่ตกชั้นไปเจ3 ลีก ฤดูกาล 2025 ได้แก่ โทจิงิ เอสซี, คาโงชิมะ ยูไนเต็ด และเดอะสปา กุมมะ หลังพวกเขาจบอันดับที่ 18, 19 และ 20 ตามลำดับ ในฤดูกาลก่อนหน้านี้ หลังพวกเขาอยู่ในลีกระดับที่สองเป็นเวลา 7, 1 และ 5 ปี ตามลำดับ

สามทีมที่ตกชั้นจากเจ1 ลีก ฤดูกาล 2024 ได้แก่ จูบิโล อิวาตะ, ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ และซางัน โทซุ หลังพวกเขาอยู่ในลีกสูงสุดเป็นเวลา 1, 8 และ 13 ปี ตามลำดับ

ชิมิซุ เอส-พัลส์ และโยโกฮามะ เอฟซี เลื่อนชั้นไปเจ1 ลีก ฤดูกาล 2025 หลังเป็นผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ตามลำดับ ในเจ2 ลีก ฤดูกาลก่อนหน้านี้ ชิมิซุ เอส-พัลส์กลับขึ้นสู่ลีกสูงสุดหลังหายไปสองปี ขณะที่ โยโกฮามะ เอฟซี กลับขึ้นสู่ลีกสูงสุดหลังหายไปหนึ่งปี ทีมที่สามที่เลื่อนชั้นคือ ฟาเจียโน โอกายามะ ผู้จบอันดับที่ 5 ในฤดูกาล 2024 และชนะเลิศเพลย์ออฟ พวกเขาแข่งขันในลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพวกเขา

สามทีมที่เลื่อนชั้นจากเจ3 ลีก ฤดูกาล 2024 ได้แก่ โอมิยะ อาร์ดิจา, สโมสรฟุตบอลอิมาบาริ และคาตาเลร์ โทยามะ หลังเป็นผู้ชนะเลิศ, รองชนะเลิศ และชนะเลิศเพลย์ออฟ ตามลำดับ โอมิยะกลับขึ้นสู่ลีกระดับที่สองหลังหายไปหนึ่งปี อิมาบาริจะได้แข่งขันในลีกระดับที่สองเป็นครั้งแรกของพวกเขา และคาตาเลร์ ผู้จบอันดับที่ 3 ในฤดูกาล 2024 และชนะเลิศเพลย์ออฟ จะได้แข่งขันในลีกระดับที่สองหลังหายไปสิบเอ็ดปี

ตั้งแต่ฤดูกาลนี้ โอมิยะ อาร์ดิจา เปลี่ยนชื่อของพวกเขาเป็น อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา หลังจากเรดบูลเข้าซื้อสโมสรตั้งแต่ ค.ศ. 2025

สโมสร

[แก้]
สโมสร ที่ตั้ง สนามกีฬา ความจุ อันดับในฤดูกาลที่แล้ว ใบอนุญาต
เบลาบลิตซ์ อากิตะ อากิตะ สนามกีฬาโซยุ 18,560 เจ2 (อันดับที่ 10) เจ1
เอฮิเมะ เอฟซี เอฮิเมะ สนามกีฬานินงิเนียร์ 20,919 เจ2 (อันดับที่ 17) เจ1
ฟูจิเอดะ มายเอฟซี ชิซูโอกะ สนามฟุตบอลฟูจิเอดะ 10,057 เจ2 (อันดับที่ 13) เจ1
ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ ฮกไกโด ซัปโปโระโดม 38,794 เจ1 (อันดับที่ 19) เจ1
เอฟซี อิมาบาริ เอฮิเมะ สนามกีฬาเอสิกส์ซาโตยามะ 5,316 เจ3 (อันดับที่ 2) เจ2
อิวากิ เอฟซี ฟูกูชิมะ ฮาวายเอียนส์สเตเดียมอิวากิ 5,066 เจ2 (อันดับที่ 9) เจ1
เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ ชิบะ ฟูคูดะเด็งชิอารีนา 19,470 เจ2 (อันดับที่ 7) เจ1
จูบิโล อิวาตะ ชิซูโอกะ สนามกีฬายามาฮ่า 15,156 เจ1 (อันดับที่ 18) เจ1
คาตาเลร์ โทยามะ โทยามะ สนามกีฬาโทยามะแอตเลติก 18,588 เจ3 (อันดับที่ 3) เจ1
มิโตะ ฮอลลีฮอก อิบารากิ เคส์เด็งกิสเตเดียมมิโตะ 10,152 เจ2 (อันดับที่ 15) เจ1
มอนเตดิโอ ยามางาตะ ยามางาตะ สนามกีฬาเอ็นดีซอฟต์ 20,638 เจ2 (อันดับที่ 4) เจ1
โออิตะ ทรินิตา โออิตะ คราซัสโดมโออิตะ 31,997 เจ2 (อันดับที่ 16) เจ1
อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา ไซตามะ แนกไฟว์สเตเดียมโอมิยะ 15,491 เจ3 (อันดับที่ 1) เจ1
รีโนฟา ยามางูจิ ยามางูจิ สนามกีฬาอิชินเมะ-ไลฟ์ 15,115 เจ2 (อันดับที่ 11) เจ1
โรอัสโซ คูมาโมโตะ คูมาโมโตะ สนามกีฬาเองาโอะ เคนโกะ 30,275 เจ2 (อันดับที่ 12) เจ1
ซางัน โทซุ ซางะ สนามกีฬาเอกิมาเอะเรียลเอสเตส 20,805 เจ1 (อันดับที่ 20) เจ1
โทกูชิมะ วอร์ติส โทกูชิมะ สนามกีฬาโพคารี่สเวท 17,924 เจ2 (อันดับที่ 8) เจ1
วี-วาเรน นางาซากิ นางาซากิ พีซสเตเดียมคอนเนกเต็ดบายซอฟต์แบงก์ 20,027 เจ2 (อันดับที่ 3) เจ1
เวกัลตะ เซ็นได มิยากิ ยูร์เทกสเตเดียมเซ็นได 19,526 เจ2 (อันดับที่ 6) เจ1
เวนท์ฟอเรท โคฟุ ยามานาชิ สนามกีฬาจิตรีไซเคิลอิงก์ 15,853 เจ2 (อันดับที่ 14) เจ1

บุคลากรและชุดแข่งขัน

[แก้]
ทีม ผู้จัดการทีม กัปตันทีม ผู้ผลิตชุดแข่ง ผู้สนับสนุนบนเสื้อ (หน้าอก)
เบลาบลิตซ์ อากิตะ ประเทศญี่ปุ่น เคน โยชิดะ ประเทศญี่ปุ่น ฮิโรโตะ โมโรกะ ประเทศบราซิล แอตเลตา ทีดีเค
เอฮิเมะ เอฟซี ประเทศญี่ปุ่น ชินยะ อาโอโนะ (ชั่วคราว) ประเทศญี่ปุ่น ฟูมะ ชิราซากะ ประเทศญี่ปุ่น โจการ์โบลา นินงิเนียร์เน็ตเวิร์ก
ฟูจิเอดะ มายเอฟซี ประเทศญี่ปุ่น ไดซูเกะ ซูโดะ ประเทศญี่ปุ่น มาซาฮิโกะ ซูงิตะ ประเทศญี่ปุ่น โกล. เซอิคัง เคนซา เซ็นเตอร์
ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ ประเทศญี่ปุ่น ไดกิ อิวามาซะ ประเทศญี่ปุ่น ทาคูมะ อาราโนะ ประเทศญี่ปุ่น มิซูโนะ อิชิยะ
เอฟซี อิมาบาริ ประเทศญี่ปุ่น เคอิจิ คูราอิชิ ประเทศญี่ปุ่น ยูตะ มิคาโดะ ประเทศญี่ปุ่น เอสิกส์ ยูนิชาร์ม
อิวากิ เอฟซี ประเทศญี่ปุ่น ยูโซะ ทามูระ ประเทศญี่ปุ่น เรียว เอ็นโดะ สหรัฐอเมริกา อันเดอร์อาร์เมอร์ บีเอชซี
เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ ประเทศญี่ปุ่น โยชิยูกิ โคบายาชิ ประเทศญี่ปุ่น ไดซูเกะ ซูซูกิ ประเทศเดนมาร์ก ฮัมเมล ฟูจิ อีเล็กทริก
จูบิโล อิวาตะ ประเทศมอลตา จอห์น ฮัตชินสัน ประเทศญี่ปุ่น ฮิโรกิ ยามาดะ ประเทศอังกฤษ แอดมีเริล ยามาฮ่า
คาตาเลร์ โทยามะ ประเทศญี่ปุ่น เรียว อาดาจิ ประเทศญี่ปุ่น ริกิ มัตสึดะ ประเทศญี่ปุ่น โกลด์วิน ยูเคเค เอพี
มิโตะ ฮอลลีฮอก ประเทศญี่ปุ่น นาโอกิ โมริ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ซอกเกอร์ จังกี เคส์โฮลดิงส์
มอนเตดิโอ ยามางาตะ ประเทศญี่ปุ่น ซูซูมุ วาตานาเบะ ประเทศญี่ปุ่น ชูโตะ มินามิ ประเทศบราซิล แพนัลตี เอบีม
โออิตะ ทรินิตา ประเทศญี่ปุ่น โทโมฮิโระ คาตาโนซากะ ประเทศญี่ปุ่น อาราตะ วาตานาเบะ ประเทศเยอรมนี พูมา ไดฮัทสุ คิวชู
อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา ประเทศญี่ปุ่น เทตสึ นางาซาวะ สหรัฐอเมริกา อันเดอร์อาร์เมอร์ เรดบูล
รีโนฟา ยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น เรียว ชิงากิ ประเทศบราซิล ฟินตา ยูพีอาร์
โรอัสโซ คูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น ทาเคชิ โอกิ ประเทศญี่ปุ่น เรอิ ฮิราคาวะ ประเทศอังกฤษ แอดมีเริล ฮิราตะ
ซางัน โทซุ ประเทศญี่ปุ่น อากิโกะ โคงิคุ ประเทศญี่ปุ่น นาโอยูกิ ฟูจิตะ สหรัฐอเมริกา นิวบาลานซ์ คิมูระ อินฟอร์เมชัน เทคโนโลยี
โทกูชิมะ วอร์ติส ประเทศญี่ปุ่น โคซาคุ มาซูดะ ประเทศญี่ปุ่น โยอิจิโระ คากิทานิ ประเทศญี่ปุ่น มิซูโนะ โอตสึกะเภสัชกรรม
(โพคารี่สเวท)
วี-วาเรน นางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ทาคาฮิโระ ชิโมตาอิระ ประเทศญี่ปุ่น ฮิโรกิ อากิโนะ สหรัฐอเมริกา แฟนาติกส์ เจแปเน็ต
เวกัลตะ เซ็นได ประเทศญี่ปุ่น โยชิโนะ โมริยามะ ประเทศญี่ปุ่น ยาซูชิ เอ็นโดะ ประเทศเยอรมนี อาดิดาส ไอริส โอยามะ
เวนท์ฟอเรท โคฟุ ประเทศญี่ปุ่น ชินจิ โอตสึกะ ประเทศญี่ปุ่น มาซาฮิโระ เซกิงูจิ ประเทศญี่ปุ่น มิซูโนะ ฮาคูบาคุ

การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม

[แก้]
ทีม ผู้จัดการทีมที่ออก สาเหตุที่ออก วันที่ออก อันดับในตารางคะแนน ผู้จัดการทีมที่ได้รับการแต่งตั้ง วันที่แต่งตั้ง
ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ ประเทศเซอร์เบีย มิคาอิโล เปโตรวิช[3] สิ้นสุดสัญญา 4 ธันวาคม 2024 ก่อนเริ่มฤดูกาล ประเทศญี่ปุ่น ไดกิ อิวามาซะ[4] 12 ธันวาคม 2024
จูบิโล อิวาตะ ประเทศญี่ปุ่น อากิโนบุ โยโกอูจิ[5] 11 ธันวาคม 2024 ประเทศมอลตา จอห์น ฮัตชินสัน[6] 19 ธันวาคม 2024
เอฮิเมะ เอ็ฟซี ประเทศญี่ปุ่น คิโยทากะ อิชิมารุ ถูกไล่ออก 21 พฤษภาคม 2025 อันดับที่ 20 ประเทศญี่ปุ่น ชินยะ อาโอโนะ (ชั่วคราว) 21 พฤษภาคม 2025[7]
คาตาเลร์ โทยามะ ประเทศญี่ปุ่น มิจิฮารุ โอตางิริ ลาออก 27 พฤษภาคม 2025 อันดับที่ 17 ประเทศญี่ปุ่น เรียว อาดาจิ 27 พฤษภาคม 2025[8]

ผู้เล่นต่างชาติ

[แก้]

ตั้งแต่ฤดูกาล 2024 ไม่มีข้อจำกัดในการเซ็นสัญญากับผู้เล่นต่างชาติ แต่สโมสรสามารถลงทะเบียนผู้เล่นต่างชาติได้เพียง 5 คนต่อทีมในนัดการแข่งขันหนึ่งวันเท่านั้น[9] ผู้เล่นจากประเทศพันธมิตรเจลีก (ประเทศไทย, เวียดนาม, เมียนมาร์, มาเลเซีย, กัมพูชา, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และกาตาร์) ได้รับการยกเว้นจากข้อจำกัดเหล่านี้

  • ชื่อผู้เล่นที่เป็น ตัวหนา หมายถึงผู้เล่นได้รับการลงทะเบียนระหว่างช่วงซื้อขายนักเตะกลางฤดูกาล
  • ชื่อผู้เล่นที่เป็น ตัวเอียง หมายถึงผู้เล่นมีสัญชาติญี่ปุ่น นอกเหนือจากสัญชาติฟีฟ่าของพวกเขา, ถือสัญชาติของประเทศพันธมิตรเจลีก หรือได้รับการยกเว้นไม่ต้องถือเป็นผู้เล่นต่างชาติเนื่องจากเกิดในญี่ปุ่น และลงทะเบียนเรียนหรือสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนที่ได้รับการรับรองในประเทศ[10]
สโมสร ผู้เล่นคนที่ 1 ผู้เล่นคนที่ 2 ผู้เล่นคนที่ 3 ผู้เล่นคนที่ 4 ผู้เล่นคนที่ 5 ผู้เล่นคนที่ 6 ผู้เล่นคนที่ 7 อดีตผู้เล่น
เบลาบลิตซ์ อากิตะ ประเทศเซอร์เบีย ลูกา ราโดติช
เอฮิเมะ เอ็ฟซี ประเทศออสเตรเลีย เบน ดันแคน ประเทศบราซิล อาเธอร์ วิอานา ประเทศบราซิล มาร์เซล สคาเลเซ ประเทศเกาหลีใต้ บัก กอน-วู ประเทศไทย เอกนิษฐ์ ปัญญา
ฟูจิเอดะ มายเอฟซี ประเทศบราซิล แอนเดอร์สัน ชาเวส ประเทศบราซิล โรเก จูเนียร์ ประเทศเซเนกัล ชีก เดียมันกา
ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ ประเทศกานา ฟรานซิส แคนน์ ประเทศกานา คิงลอร์ด ซาโฟ ประเทศเซียร์ราลีโอน อามาดู บากาโยโก ประเทศสเปน จอร์ดี ซานเชซ ประเทศเกาหลีใต้ คิม กอน-ฮี ประเทศเกาหลีใต้ ปาร์ก มิน-กยู ประเทศไทย สุภโชค สารชาติ
เอ็ฟซี อิมาบาริ ประเทศบราซิล ดานิโล การ์โดโซ ประเทศบราซิล มาร์กุส วินิซิอุส ประเทศบราซิล วินิซิอุส ดินิซ ประเทศบราซิล เวสลีย์ ทังก์ ประเทศเกาหลีใต้ อี ยอง-จุน
อิวากิ เอ็ฟซี ประเทศเกาหลีใต้ ฮยอน วู-บิน ประเทศเกาหลีใต้ จู ฮยอน-จิน
เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ ประเทศบราซิล คาร์ลินโญส จูเนียร์ ประเทศบราซิล เดเรก ประเทศบราซิล ดูดู ปาเชโก ประเทศสเปน โฆเซ ออเรลิโอ ซัวเรซ
จูบิโล อิวาตะ ประเทศเบลเยียม จอร์ดี ครูซ์ ประเทศบราซิล ลีโอ โกเมส ประเทศบราซิล มาเธียส เปอิโซโต ประเทศบราซิล ริคาร์โด กราซา ประเทศอิสราเอล ฮัสซัน ฮิลู ประเทศเกาหลีใต้ ปาร์ก เซ-กี
คาตาเลร์ โทยามะ ประเทศบราซิล กาเบรียล นาสซิเมนโต ประเทศเกาหลีใต้ โก บง-โจ
มิโตะ ฮอลลีฮอก
มอนเตดิโอ ยามางาตะ ประเทศออสเตรเลีย ทอม เฮวาร์ด-เบลล์ ประเทศจอร์เจีย เบกา มิเคลตาดเซ
โออิตะ ทรินิตา ประเทศบราซิล เดอร์แลน ประเทศบราซิล มาเทอุส เปเรย์รา ประเทศเกาหลีใต้ คิม ฮยุน-วู ประเทศเกาหลีใต้ มุน คยอง-กุน
อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา ประเทศบราซิล อาร์เธอร์ ซิลวา ประเทศบราซิล เกเบรียล ประเทศบราซิล เมาริซิโอ คาปรีนี ประเทศโคลอมเบีย ฟาเบียน กอนซาเลซ ประเทศไนจีเรีย โอริโอลา ซันเดย์
รีโนฟา ยามางูจิ ประเทศบราซิล ซิลวิโอ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นิก มาร์สแมน ประเทศเกาหลีใต้ ชเว ฮยอง-ชาน ประเทศเกาหลีใต้ คิม บยอม-ยอง
โรอัสโซ คูมาโมโตะ ประเทศเกาหลีเหนือ รี แท-ฮา ประเทศเกาหลีใต้ แบ จอง-มิน สหรัฐอเมริกา แอนทอน เบิร์นส์
ซางัน โทซุ ประเทศบราซิล คริสเตียโน ประเทศบราซิล โจ ประเทศลิทัวเนีย วีกินทัส สลิฟกา ประเทศเกาหลีใต้ ยาง ฮัน-บิน ประเทศสเปน อาร์เนา ริเอรา
โทกูชิมะ วอร์ติส ประเทศบราซิล เอลซินญู ประเทศบราซิล เจา วิกเตอร์ ประเทศบราซิล ไคเก ประเทศบราซิล ลูกัส บาร์เซลโลส ประเทศบราซิล ทอนนี แอนเดอร์สัน ประเทศไนจีเรีย ลอว์เรนซ์ อิซุชุกวู
วี-วาเรน นางาซากิ ประเทศบราซิล เอดิการ์ จูนิโอ ประเทศบราซิล เอดูอาร์โด ประเทศบราซิล เอเมอร์สัน เดโอเลเซียโน ประเทศบราซิล มาร์กอส กิลแลร์เม ประเทศบราซิล มาเธียส เฆซุส ประเทศสเปน ฆวนมา
เวกัลตะ เซ็นได ประเทศบราซิล อีรอน ประเทศบราซิล กุสตาโว ประเทศบราซิล มาเตอุส โมราเอส
เวนท์ฟอเรท โคฟุ ประเทศบราซิล เอดูอาร์โด มันชา ประเทศบราซิล มาเธียส เลเรีย ประเทศบราซิล เรนาโต ออกัสโต ประเทศเกาหลีใต้ ลี มิน-กี ประเทศเกาหลีใต้ ไทกะ ซน

ตารางคะแนน

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การเลื่อนชั้นหรือการตกชั้น
1 เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ 19 11 5 3 32 17 +15 38 เลื่อนชั้นสู่เจ1 ลีก
2 มิโตะ ฮอลลีฮอก 19 11 5 3 28 15 +13 38
3 อาร์บี โอมิยะ อาร์ดิจา 19 10 6 3 31 18 +13 36 ผ่านเข้าสู่เพลย์ออฟเลื่อนชั้น
4 เวกัลตะ เซ็นได 19 10 6 3 26 19 +7 36
5 โทกูชิมะ วอร์ติส 19 9 6 4 20 10 +10 33
6 จูบิโล อิวาตะ 19 9 5 5 30 24 +6 32
7 ซางัน โทซุ 19 8 5 6 20 20 0 29
8 วี-วาเรน นางาซากิ 19 7 7 5 32 32 0 28
9 เอฟซี อิมาบาริ 19 6 9 4 23 17 +6 27
10 โออิตะ ทรินิตา 19 6 8 5 19 18 +1 26
11 เวนท์ฟอเรท โคฟุ 19 6 6 7 18 18 0 24
12 ฟูจิเอดะ มายเอฟซี 19 6 4 9 22 26 −4 22
13 ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ 19 6 4 9 22 31 −9 22
14 เบลาบลิตซ์ อากิตะ 19 6 2 11 22 34 −12 20
15 อิวากิ เอฟซี 19 4 7 8 22 28 −6 19
16 โรอัสโซ คูมาโมโตะ 19 4 6 9 19 27 −8 18
17 มอนเตดิโอ ยามางาตะ 19 4 5 10 24 29 −5 17
18 รีโนฟา ยามางูจิ 19 3 8 8 18 24 −6 17 ตกชั้นสู่เจ3 ลีก
19 คาตาเลร์ โทยามะ 19 3 7 9 16 21 −5 16
20 เอฮิเมะ เอฟซี 19 1 9 9 20 36 −16 12
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดในนัดการแข่งขันที่ลงเล่นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2025. แหล่งข้อมูล: Meiji Yasuda J2 League, J.League Data Site
กฏการจัดอันดับ: 1) คะแนน; 2) ผลต่างประตู; 3) ประตูรวม; 4) เฮดทูเฮดคะแนน; 5) เฮดทูเฮดผลต่างประตู; 6) เฮดทูเฮดประตูรวม; 7) คะแนนแฟร์เพลย์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "J. League Data Site". data.j-league.or.jp. สืบค้นเมื่อ 24 February 2025.
  2. ".League season timing to transition from 2026/27 season". JLeague.co. Japan Professional Football League. 19 December 2023. สืบค้นเมื่อ 11 December 2024.
  3. "ミハイロ ペトロヴィッチ監督 退任のお知らせ" [Notice of retirement of Coach Mihajlo Petrović]. Consadole-sapporo.jp/ (ภาษาญี่ปุ่น). Hokkaido Consadole Sapporo. 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 4 December 2024.
  4. "ランコ ポポヴィッチ氏 監督就任のお知らせ" [Announcement of appointment of Daiki Iwamasa as manager] (ภาษาญี่ปุ่น). Hokkaido Consadole Sapporo. 12 December 2024. สืบค้นเมื่อ 12 December 2024.
  5. "横内 昭展監督 辞任のお知らせ" [Announcement of Director Akinobu Yokouchi's resignation]. Jubilo-iwata.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Júbilo Iwata. 11 December 2024. สืบค้นเมื่อ 11 December 2024.
  6. "松橋力蔵氏 監督就任のお知らせ" [Announcement of new head coach John Hutchinson] (ภาษาญี่ปุ่น). Júbilo Iwata. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
  7. "Ehime manager change announcement, resignation old manager and appointment of new manager"". ehimefc.com/. สืบค้นเมื่อ 3 June 2025.
  8. "Kataller Toyama manager change announcement, resignation old manager and appointment of new manager". www.kataller.co.jp. สืบค้นเมื่อ 3 June 2025.
  9. "「ホームグロウン制度」の導入と「外国籍選手枠」の変更について". J.LEAGUE.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-26. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
  10. "プロサッカー選手の契約、登録および移籍に関する規則" (PDF). jfa.jp.