เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าสมพมิตร ณ เชียงใหม่
เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) ปฏิบัติหน้าที่ควาญช้างพระที่นั่ง
เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่
แต่งตั้ง10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่[1]
แต่งตั้งพ.ศ. 2465
เกิดพ.ศ. 2408
ถึงแก่กรรม12 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (66 ปี)
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ เชียงใหม่
เจ้าบิดาเจ้าน้อยรศ ณ เชียงใหม่
เจ้ามารดาเจ้าเอื้องผึ้ง ณ เชียงใหม่

นายพันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม นามเดิม เจ้าสมพมิตร ณ เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) (พ.ศ. 2403 - พ.ศ. 2473) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือผู้สืบสายโลหิตจากพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจมณฑลพายัพ

พระประวัติ[แก้]

เจ้าไชยสงคราม หรือ เจ้าสมพมิตร ณ เชียงใหม่ [2][3][4][1] เกิดปี พ.ศ. 2408 เป็นโอรสในเจ้าน้อยรศ ณ เชียงใหม่ (โอรสในเจ้าอุปราช (หน่อคำ ณ เชียงใหม่), เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ และเจ้าหญิงบุนนาค) กับ เจ้าเอื้องผึ้ง ณ เชียงใหม่

เจ้าไชยสงคราม สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 และพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 และมีศักดิ์เป็นราชปนัดดา (เหลน-ปู่ทวด) ในพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 5

ประวัติการรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2445 - เริ่มรับราชการเป็นเสนา ตำแหน่งทหารจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2446 - รับพระราชทานสัญญาบัตรยศนายร้อยตำรวจเอก ตำแหน่งผู้บังคับกองตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - เลื่อนยศเป็นนายพันตำรวจตรี[5]
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่ [6]
  • พ.ศ. 2451 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - เลื่อนยศเป็นนายพันตำรวจโท[7]
  • พ.ศ. 2455 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลพายัพ
  • 16 ธันวาคม 2458 – นายหมู่โท[8]
  • พ.ศ. 2459 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2465 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2466 - เลื่อนพระยศเป็นนายพันตำรวจเอก[9]
  • 26 พฤศจิกายน 2467 – นายหมวดตรี[10]
  • 19 พฤศจิกายน 2468 – นายหมวดโท[11]
  • พ.ศ. 2472 - ออกจากราชการรับพระราชทานบำนาญ

การปฏิบัติภารกิจ[แก้]

เจ้าไชยสงคราม ได้รับฉายาว่าเป็น "มือปราบแห่งเวียงพิงค์" เป็นเจ้านายผู้มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามโจรผู้ร้ายในมณฑลฝ่ายเหนือและรับราชการสนองพระเดชพระคุณถวายความปลอดภัยแก่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 และ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ตลอดสองรัชสมัย

เจ้าไชยสงคราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้านายฝ่ายเหนือ ให้ปฏิบัติหน้าที่ควาญช้างพระที่นั่งและถวายความปลอดภัยแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และจากการปฏิบัติภารกิจรับใช้สนองเบื้องพระยุคลบาทดังกล่าว เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก ต่อมาจึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับโอรสของเจ้าไชยสงคราม ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับการศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยโปรดฯ ให้พำนักในวังศุโขทัย

เจ้าไชยสงคราม เคยได้เข้าเฝ้าถวายเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ พร้อมกับ เจ้าราชภาคินัย เจ้าน้อยเลาแก้ว เจ้าน้อยเมืองชื่น และเจ้าน้อยวุฒิวงษ์ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2447[12] ตามราชประเพณีที่ประเทศราชต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการไปยังกรุงเทพฯ ทุกๆ 3 ปี หรือทุกปี เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และการยอมเป็นเมืองขึ้น ซึ่งนับเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการครั้งสุดท้าย [13][14]

เจ้าไชยสงคราม ป่วยเป็นลม ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2474 สิริอายุได้ 66 ปี [1]

ครอบครัว[แก้]

เจ้าไชยสงคราม มีชายา 1 ท่าน และหม่อม 2 ท่าน มีบุตรรวมทั้งหมด 11 คน ดังนี้

เจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าหน่อคำ ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าจันทรโสภา ณ เชียงใหม่
หม่อมคำใส ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าไชยมงคล ณ เชียงใหม่
  3. เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ [15][16]
  4. เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ คหบดีผู้บุกเบิกกิจการโรงภาพยนตร์และโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าบิดาในเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง การต่างประเทศ และสาธารณสุข
  5. เจ้าไชยชนะ ณ เชียงใหม่
หม่อมอุษา ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าน้อยอินทร์ ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าน้อยหมอก ณ เชียงใหม่
  3. เจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ เป็นเจ้ายายของทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๔๘, ตอน ง, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๗๔, หน้า ๑๘๙๒-๓
  2. ความเป็นมาของตำรวจล้านนา
  3. ย่านท่าแพ[ลิงก์เสีย]
  4. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-10.
  5. ส่งสัญญาบัตรกรมตำรวจภูธรไปพระราชทาน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตร์ขุนนางไปพระราชทาน, เล่ม ๒๓, ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๕, หน้า ๑๓๑
  7. ตั้งตำแหน่งยศนายทหารตำรวจภูธร
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  10. พระราชทานยศเสือป่า (กองเสนาน้อยรักษาดินแดนพายัพ)
  11. พระราชทานยศนายเสือป่า
  12. เจ้าประเทศราชเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการ เจ้านครเชียงใหม่ เฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการราชกิจจานุเบกษา เล่ม 21 ตอนที่ 28 วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2447
  13. ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงินสมัยรัตนโกสินทร์ เก็บถาวร 2017-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
  14. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 35
  15. ย่านท่าแพ[ลิงก์เสีย]
  16. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๙๒, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๐, ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๙, ๒๔ ตุลาคม ๒๔๖๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • อนุ เนินหาด, พันตำรวจโท. สังคมเมืองเชียงใหม่: ย่านถนนเจริญเมือง (๑๙). [2] เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน