เจ้าแม่โอลาเทวี
โอลาเทวี | |
---|---|
เทพีแห่งอหิวาตกโรค เทพนารีแห่งแผ่นความเย็น | |
![]() เทวรูปเจ้าแม่โอลา ศิลปะจาลุกยะตะวันตก พุทธศตวรรษที่สิบเจ็ดถึงสิบแปด ประดับ ณ เทวสถานกามาลิอิศวร (Iswara Temple) รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย | |
ชื่ออื่น | โอลาจัณฑี, โอลาบิบี , บิบิมา |
ส่วนเกี่ยวข้อง | พระเทวี ศักติ |
ที่ประทับ | ภูมิโลกและเทวโลก |
มนตร์ | โอลาเทพีมนตร์ |
พาหนะ | สิงโต ลา |
คู่ครอง | มายาสูร |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในกรีก | เนซอย |
เทียบเท่าในโรมัน | เนซอย |
โอลาเทวี (สันสกฤต: ओलादेवी) เป็นพระเทพีในศาสนาพราหมณ์ ฮินดูซึ่งนางเป็นเทพีท้องถิ่นซึ่งถูกการผสานความเชื่อตามคติพหุเทวนิยมในคติศาสนาพราหมณ์ ฮินดู นางเป็นเทพีแห่งอหิวาตกโรค และได้รับความนิยมในการสักการะบูชาสูงสุดในกลุ่มชาวเบงกอล ( ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศบังกลาเทศและประเทศอินเดียส่วนใหญ่ในรัฐเบงกอลตะวันตก) และมารวาณร์ รัฐราชสถาน นางเป็นที่รู้จักในนามไวพจน์อื่น ๆ เช่นโอไลย์จัณฑี, โอลาบิบี และ บิบีมา นางยังได้รับการยกย่องจากชาวฮินดูในเบงกอล
นางยังได้รับการสักการะบูชาในรัฐราชสถานในฐานะผู้ช่วยของเจ้าแม่ศีตลาในการขจัดโรคระบาดทั่วของสานุศิษย์นาง คือ อหิวาตกโรค ดีซ่าน อาการท้องร่วง และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร นางได้รับการขนานนามว่า โอริมาตา ใน ประเพณีชาวมารวี ไม่ปรากฏเทวประติมานวิทยาของนางแบบเด่นชัดแต่เทพลักษณะส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับพระเทพีศีตลา โอลาเทพีมีบทบาทสำคัญในประเพณีศาสนาชาวบ้านของชาวเบงกอล และได้รับการยกย่องจากชุมชนต่างศาสนาและวัฒนธรรม[1][2][3]
เทพปกรณัม[แก้]
กล่าวกันว่าโอลาเทพีเป็นหนึ่งในภรรยาของมายาสูร ประมุขแห่งอสูรในเทพปกรณัมพราหมณ์ ฮินดู และเป็นสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญของเหล่าอสูร แทตย์ และทานพ ในเทพปกรณัมท้องถิ่น[1] โดยทั่วไปชาวอาณาประชาราษฎร์ยกย่องนางเป็นเป็นเทพีผู้พิทักษ์ป้องกันอหิวาตกโรค ปกป้องศิษยาสานุศิษย์ของนางจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งปรากฏเป็นโรคระบาดทั่วไปในชาวเบงกอล[1] ในรากศัพท์ภาษาเบงกอล คำว่า โอลา คือ หมายถึงการขึ้นไปข้างบนในภาษาเบงกอลเพื่อบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวหลวม ๆ และอาเจียนของอหิวาตกโรค
ในฐานะพระเทพีในศาสนาพราหมณ์ ฮินดูซึ่งนางเป็นเทพีท้องถิ่นซึ่งถูกการผสานความเชื่อตามคติพหุเทวนิยมในคติศาสนาพราหมณ์ ฮินดู นับถือว่านางเป็นหนึ่งในภาคหนึ่งของเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทพี อันปรากฏรูปลักษณ์คือทรงภูษิตาภรณ์พัสตราภรณ์สีน้ำเงิน และมีฉวีสีเหลือง ประดับศิราภรณ์พร้อมด้วยเครื่องอลงกรณ์อย่างเทพี และปรากฏองค์พร้อมด้วยกุมารบนเพลาของนาง[1] ในหมู่ชาวมุสลิมเบงกอลขนานนามนาองว่า โอลาบิบี หรือ บิบีมา จาก โอลา บิบีกัลย์ (คีตาแห่งโอลาบิบี) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของลูกของราชกุมารีมุสลิมอันทรงสภาพพรหมจารีที่สาปสูญไปอย่างลึกลับไร้ล่องลอยและปรากฏขึ้นอีกครั้งในฐานะเทพี เพื่อรักษาบุตรชายของประมุขของอาณาจักรและ แบดชาฮ์ พร้อมด้วยบิดรมารดรของนาง[3]โดยนางสวมมาลา ผ้าพันศอ และเครื่องประดับ นางสวมรองบาทนคราและในบางครั้งก็สวมถุงบาทด้วย ในหัตถ์ข้างหนึ่งของนางทรงธารพระกรวิเศษที่ทำลายความเจ็บป่วยของบรรดาศิษย์ของนาง[1]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Oladevi - Banglapedia
- ↑ Islam in Bangladesh
- ↑ 3.0 3.1 Ralph W. Nicholas. Fruits of Worship: Practical Religion in Bengal. Page 205. Orient Longman, 2003. ISBN 81-8028-006-3
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าแม่โอลาเทวี