พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระเจ้านครเมืองน่าน | |||||
![]() | |||||
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | |||||
ราชาภิเษก | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 | ||||
ครองราชย์ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 – 5 เมษายน พ.ศ. 2461 | ||||
รัชกาล | 25 ปี 43 วัน | ||||
พระอิสริยยศ | พระเจ้าประเทศราช | ||||
ก่อนหน้า | เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||
ถัดไป | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ||||
อรรคราชเทวี | แม่เจ้ายอดหล้า | ||||
พระชายา | 7 องค์ | ||||
พระราชบุตร | 41 พระองค์ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ณ น่าน สายที่ 1[1] | ||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | ||||
พระบิดา | เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||
พระมารดา | แม่เจ้าสุนันทาอัครราชเทวี | ||||
ประสูติ | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 (เจ้าสุริยะ) | ||||
พิราลัย | 5 เมษายน พ.ศ. 2461 (87 ปี) ณ คุ้มหลวงนครน่าน |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช[2] (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 – 5 เมษายน พ.ศ. 2461)[3] ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 – 5 เมษายน พ.ศ. 2461) เป็นพระโอรสองค์ที่สองในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และเป็นพระนัดดา (หลานปู่) ใน สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 และเป็นพระเชษฐาต่างเจ้ามารดากับ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ชาวเมืองน่านเรียกพระนามอย่างลำลองว่า "พระเจ้าน่าน" และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 7 (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 – 5 เมษายน พ.ศ. 2461) ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
พระประวัติ[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช มีพระนามเดิมว่า เจ้าสุริยะ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ จ.ศ. 1193) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ประสูติแต่แม่เจ้าสุนันทาอรรคราชเทวี (พระชายาที่ 1) มีพระเชษฐาพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 6 พระองค์ ดังนี้
- เจ้ามหาพรหม ภายหลังได้เป็น เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน (เจ้าอุปราช,พิราลัย พ.ศ. 2430)
- เจ้าสุริยะ ภายหลังได้เป็น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 (เจ้าราชวงษ์ พ.ศ. 2398,ว่าที่เจ้าอุปราช พ.ศ. 2431,เจ้านครเมืองน่าน พ.ศ. 2436,พระเจ้านครเมืองน่าน พ.ศ. 2446,พิราลัย พ.ศ. 2461)
- เจ้าสิทธิสาร ภายหลังได้เป็น เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน (เจ้าสุริยวงษ์,เจ้าราชวงษ์,เจ้าอุปราช,พิราลัย พ.ศ. 2442)
- เจ้าบุญรังษี ภายหลังได้เป็น เจ้าราชบุตร เมืองนครน่าน (เจ้าราชบุตร,พิราลัย พ.ศ. 2431)
- เจ้านางหมอกแก้ว ณ น่าน
- เจ้านางคำทิพ ณ น่าน
พระอิสริยยศ[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ ต่าง ๆ ดังนี้
- ในปี พ.ศ. 2398 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้ง เจ้าสุริยะ ขึ้นเป็น เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน
- เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2432 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าราชวงษ์ (สุริยะ) เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน ว่าราชการในตำแหน่ง เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ เจ้าราชวงษ์ (สุริยะ) ว่าที่เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน ขึ้นเป็น เจ้านครเมืองน่าน ได้รับการเฉลิมพระนามว่า "เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน"[4]
- วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ขึ้นเป็น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน[5] มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิกิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน"[6]
ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่านที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดถึง พระเจ้านครเมืองน่าน มีพระสถานะเป็น พระเจ้าประเทศราชล้านนา องค์ที่ 7 (องค์สุดท้าย)[7] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงได้รับพระราชทานมหามงกุฎจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับว่าเป็น พระเจ้าประเทศราชล้านนา พระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานพระเกียรติยศนี้
พระยศพลเรือน[แก้]
- เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "มหาอำมาตย์เอก"[8]
เครื่องอิสริยยศ[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระอิสริยยศต่าง ๆ ดังนี้
1.) เครื่องประกอบพระอิสริยยศครั้งที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น เจ้านครเมืองน่าน
- เครื่องประกอบพระอิสริยยศครั้งที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น เจ้านครเมืองน่าน[9] ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระอิสริยยศ ดังนี้
- พานหมากทองคำ พร้อมเครื่องในทองคำ 1
- ประคำทองคำ 1
- กระโถนคำ 1
- คนโทคำ
- กระบี่บั้งทองคำ 1
- พระมาลากำมะหยี่เกี้ยวทองคำ 1
- ปืนคาบศิลาคร่ำเงิน 1
- ปืนคาบศิลาตอลาย 2
- หอกตอทองคำ 1
- สัปทน 1
- โต๊ะเงินท้าวช้าง 1 คู่
- เสื้อผ้าต่าง ๆ
2.) เครื่องประกอบพระอิสริยยศครั้งที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครเมืองน่าน
- เครื่องประกอบพระอิสริยยศครั้งที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระอิสริยยศ ดังนี้
- เสื้อครุย
- พระชฎา
- สังข์เลี่ยมทองคำ 1
- หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยา 1
- กากระบอกทองคำ 1
- กระบี่ฝักทองคำศีร์ษะนาคลงยา 1
- เสื้อเยียรบับ 2
- ผ้านุ่งเยียรบับ 1
- ผ้านุ่งเขียนทอง 1
- เจียรบาต 1
(นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานสิ่งของสำหรับพระเกียรติยศอีกหลายอย่าง เช่น พระชฎา เป็นต้น)
พิราลัย[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ประชวรเป็นพระโรคชรา อาการทรงบ้างทรุดบ้างเสมอมา จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461 พระอาการได้กำเริบมากขึ้น แพทย์หลวงและแพทย์ชเลยศักดิประกอบโอสถถวายการรักษาโดยเต็มกำลังพระอาการหาคลายไม่ ครั้นถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 (เวลา 4.50 น.) พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ก็ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ หอคำหลวงเมืองนครน่าน (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) สิริพระชนมายุได้ 87 ปี 2 เดือน 28 วัน รวมระยะเวลาที่ทรงครองเมืองนครน่าน 25 ปี[10]
พระกรณียกิจ[แก้]
ด้านการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ได้เข้าเฝ้าทูลอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2416 ครั้งที่ยังดำรงตำแหน่ง เจ้าสุริยวงษ์ นครเมืองน่าน ได้คุมนางระมาดลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย ณ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลาไปกลับ 4 เดือน
- ครั้งที่ 2 ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2433 เจ้าสุริยวงษ์ว่าที่เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน ได้นำแสนท้าวพระยาเมืองเชียงแขง ซึ่งมีความยินดีและยอมเป็นขอบขันธสีมาของกรุงเทพฯ แล้วนั้น ลงมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ณ กรุงเทพฯ
- คร้งที่ 3 ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น เจ้าราชวงษ์ นครเมืองน่าน
- ครั้งที่ 4 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ได้เข้าเฝ้าถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงินและเครื่องราชบรรณาการ และในคราวนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน
- ครั้งที่ 5 ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2437 ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานเครื่องประกอบอิสริยยศ เช่น พานหมากทองคำ, กระบี่บั้งทองคำ, มาลากำมะหยี่เกี๊ยวยอดองคำ, สัปทน ฯลฯ
- ครั้งที่ 6 ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ได้เข้าเฝ้าถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงินและเครื่องราชบรรณาการ
- ครั้งที่ 7 ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2440 ได้เข้าเฝ้าทูลพระขวัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
- ครั้งที่ 8 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ณ เมืองพิไชย
- ครั้งที่ 9 ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงินและเครื่องราชบรรณาการ
- ครั้งที่ 10 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 ได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า
- ครั้งที่ 11 ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 ได้เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานเครื่องยศและเลื่อนฐานันดรศักดิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน
- ครั้งที่ 12 ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 เวลาบ่าย 5 โมงเศษ ได้เข้าเฝ้าฯ กราบถวายบังคมลา กลับนครเมืองน่าน
ด้านการปกครอง[แก้]
- กวาดต้อนและชักชวนให้ชุมชนไทลื้อในเมืองต่าง ๆ ของสิบสองปันนา ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่ในจังหวัดน่าน[11]
- ยกเลิกอำนาจโทษประหารทางอาญา
- จัดวางผังเมือง ขยายถนนให้กว้างขวาง สะดวกแก่การสัญจรไปมา
- เมื่อปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สร้าง กองเรือนจำเมืองนครน่านขึ้น ดังปรากฏข้อความดังนี้ “การที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่นครเมืองน่านนั้น เจ้านครเมืองน่าน (พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ) มีความยินดีเปนอันมาก เจ้านครเมืองน่านได้จัดตั้งที่สำหรับขังนักโทษในที่ว่าการศาลต่างประเทศ 1 หลัง ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายไว้สำหรับราชการสืบไป แลขอให้เจ้านายบุตรหลานมาฝึกหัดในศาลต่างประเทศด้วย”
ด้านการทหาร[แก้]
- ทรงทำนุบำรุงกิจการทหาร โดยการรวบรวมกำลังพลเข้าสังกัดมูลนาย ฝึกกำลังพลการรบ จัดตั้งยุ้งฉาง สะสมเสบียงอาหาร กระสุนดินดำ
- โดยเมื่อปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่เจ้าราชวงศ์นครน่าน ได้ทรงนำกำลังไปสมทบกับทัพหลวง
- ครั้นปี พ.ศ. 2445 เกิดขบถเงี้ยวที่เมืองแพร่ โดยพวกขบถจะยกทัพมายึดนครน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ได้ทรงยกกำลังทหารไปขัดตาทัพต่อสู้กับขบถเงี้ยว และได้ร่วมกับกองทัพหลวงตามตีจนได้รับชัยชนะ
ด้านการศึกษา[แก้]
- ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภาษาไทยเป็นแห่งแรกในนครน่าน ให้ชื่อว่าโรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ปฐมของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารในปัจจุบัน
ด้านศาสนา[แก้]
- ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดและบูชนียวัตถุเป็นอันมาก และเป็นองค์ประธานในการจัดสร้างคัมภีร์ใบลาน จารึกพระธรรมคำสั่งสอนไว้เป็นจำนวนมาก โปรดให้สร้างหอพระไตรปิฏกหลังใหญ่ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร บูรณะวัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นต้น
เหตุการณ์สำคัญในเมืองนครน่าน[แก้]
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองนครน่าน ในยุคสมัยที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน (พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2461) มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
1.) นครน่าน เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ประเทศไทยเสียดินแดน ครั้งที่ 11 )
- ในปี พ.ศ. 2446 เมืองนครน่าน ได้เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (ประเทศไทยเสียดินแดน ครั้งที่ 11 ) รวมพื้นที่ 25,500 ตร.กม. ประกอบด้วย เมืองเงิน เมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน และเมืองหลวงภูคา (ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ แขวงไชยบุรีทั้งหมด รวมถึงพื้นที่บางส่วนในแขวงหลวงน้ำทา, แขวงบ่อแก้ว และแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว) ให้กับจักรวรรดิฝรั่งเศส
การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในอาณาเขตเมืองนครน่าน ให้กับจักรวรรดิฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2446 โดยในอดีตพื้นที่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของล้านนา ซึ่งถือกันมาตั้งแต่โบราณว่าเป็นเขตแดนล้านนาจรดกับแม่น้ำโขงโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นอาณาจักรล้านนากับอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) หลักการข้างต้นยังปฏิบัติสืบมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เพราะมีหลักฐานกล่าวถึง เมืองเงิน หรือ (เมืองกุฎสาวดี) ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำโขงและอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2415 คนในบังคับของอังกฤษเดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองเงิน ถูกคนร้ายฆ่าตาย แล้วเหตุการณ์ในครั้งนั่น เจ้าหลวงเมืองนครน่าน เป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้กับคนในบังคับของอังกฤษ หัวเมืองชายแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่เป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครน่าน ประกอบด้วย เมืองเงิน (เมืองกุฎสาวดี), เมืองคอบ, เมืองเชียงลม, เมืองเชียงฮ่อน และเมืองหลวงภูคา แม้ว่าทั้ง 5 เมืองนี้จะเป็นเมืองชายขอบของเมืองนครน่าน แต่เจ้าผู้ครองนครน่าน ก็ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเมื่อจักรวรรดินิยมมีความต้องการดินแดนในส่วนนี้ก็เข้าแทรกแซงด้วยกำลังที่เหนือกว่า จนกระทั่งได้ไปในที่สุด
- สาเหตุของการเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้แก่จักรวรรดิฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2446 นั้นสืบเนื่องมาจากปัญหา 2 ประการ คือ
- ประการที่ 1 ผลของการตีความในสนธิสัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่ 25 กิโลเมตร
- ประการที่ 2 สืบเนื่องมาจากปัญหาการแย่งชิงบ่อเกลือ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณต้นแม่น้ำน่าน เมืองที่มีบ่อเกลือจำนวนมาก ได้แก่ เมืองเงิน (เมืองกุฎสาวดี) จึงเกิดปัญหาโต้เถียงกันบ่อยที่สุด และเป็นเมืองที่อยู่ในเขตพื้นที่ 25 กิโลเมตร ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเงินซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขง ประกอบกับเป็นเมืองที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ราษฎรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทลื้อ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งยั่วยุให้ฝรั่งเศสคิดเข้าครอบครองพื้นที่บริเวณส่วนนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามราษฎรส่วนใหญ่ในเมืองเงินมีความจงรักภักดีต่อ เจ้าหลวงเมืองน่าน เป็นอย่างมาก จึงเป็นอุปสรรคต่อการเกลี้ยกล่อมของฝรั่งเศสไม่น้อย นอกจากเมืองเงินซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในเขตพื้นที่ 25 กิโลเมตรแล้ว ยังมีเมืองคอบ เมืองเชียงลม และเมืองเชียงฮ่อน ล้วนต้องประสบปัญหาการเข้าแทรกแซงของฝรั่งเศสทั้งสิ้น
เหตุผลที่ไทยต้องยอมสูญเสียดินแดนดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศสในครั้งนั้น เพราะไทยต้องการยุติปัญหาการแย่งชิง เมืองเงินระหว่างเมืองนครน่าน กับ เมืองหลวงพระบาง ซึ่งทั้งสองเมืองได้เข้ามาแย่งกันปกครองในพื้นที่จนเกิดการวิวาทถกเถียงกันเสมอ โดยทุกครั้งสยามต้องพยายามอดกลั้นไม่ใช้กำลังโต้ตอบตลอดมา เพราะไม่ปรารถนาประจัญหน้ากับฝรั่งเศส ผู้ที่สนับสนุนการกระทำของเมืองหลวงพระบาง ฉะนั้นเพื่อยุติปัญหาที่ยืดเยื้อสยามจึงต้องยอมยกเมืองเงินและเมืองอื่น ๆ ในเขต 25 กิโลเมตร (พื้นที่ 25,500 ตร.กม.) ให้แก่จักรวรรดิฝรั่งเตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นผลให้การคุกคามของจักรวรรดิฝรั่งเศสในหัวเมืองมณฑลพายัพ ด้านทิศตะวันออก ยุติลงด้วย จึงทำให้ฝ่ายสยามเห็นโอกาสที่จะผนวกหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม จึงจัดการปฏิรูปการปกครองภายในมณฑลพายัพทั้งหมดในปี พ.ศ. 2458 นอกจากนั้นการสูญเสียดินแดนดังกล่าว เพื่อแลกกับการยึดครองเมืองจันทบุรีที่จักรวรรดิฝรั่งเศสยึดเอาไว้เป็นประกันซึ่งเป็นเมืองไทยแท้กว่าเมืองประเทศราช .
2.) จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
- ในปี พ.ศ. 2437 จากการที่หัวเมืองประเทศราชล้านนา 5 หัวเมือง ถูกจักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิฝรั่งเศสขนาบโอบล้อมทั้ง 2 ด้าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวม 5 หัวเมืองประเทศราชล้านนา ซึ่งประกอบด้วย เมืองนครเชียงใหม่ , เมืองนครลำปาง , เมืองนครน่าน , เมืองนครลำพูน และเมืองนครแพร่ จัดตั้งเป็นมณฑลลาวเฉียง
- ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยก เมืองนครลำปาง , เมืองนครน่าน และเมืองนครแพร่ จัดตั้งเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ตั้งสำนักข้าหลวงใหญ่มณฑลที่เมืองนครแพร่
- ในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ แล้วให้มารวมกับมณฑลพายัพตามเดิม
รับราชการพิเศษ[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ในวาระโอกาศต่าง ๆ ดังนี้
- เมื่อปี พ.ศ. 2395 ได้เป็นหัวหน้าสร้างพลับพลาประทับแรมที่ตำบลนาริน ท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดนครเมืองน่าน รวมเวลาทำจนเสร็จ 1 เดือน แล้วลงไปรับเสด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ที่อำเภอท่าอิฐ เมืองพิไชย ที่เสด็จขึ้นมาเมืองนครน่าน คราวเสด็จไปราชการทัพเมืองเชียงตุง รวมระยะเวลา 10 วัน
- เมื่อปี พ.ศ. 2396 ได้ตามเสด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ไปราชการทัพเมืองเชียงตุง รวมระยะเวลา 7 เดือนเศษ
- เมื่อปี พ.ศ. 2398 ได้นำตัวพระยาหลวงบังคม พระยาเมืองเชียงรุ้ง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลา 4 เดือนเศษ
- เมื่อปี พ.ศ. 2399 ได้ยกทัพเมืองน่านขึ้นไปกวาดต้อนครอบครัว ชาวไทลื้อ เมืองพง เขตสิบสองปันนา ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในการบังคับของฮ่อ ให้เข้ามาอยู่ในเขตของเมืองนครน่าน คราวนั้นได้ครอบครัวชาวไทลื้อ ประมาณ 1,000 คน และทรงโปรดให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองเชียงม่วน และเมืองเชียงคำ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดพะเยา) รวมระยะเวลา 5 เดือน
- เมื่อปี พ.ศ. 2406 ได้คุมนางรมาดลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลา 4 เดือน
- เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้คุมช้างพลายสีปลาดลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลา 4 เดือน
- เมื่อปี พ.ศ. 2416 ได้คุมนางรมาดลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 ณ กรุงเทพฯ รวมระยะเวลา 4 เดือน
- เมื่อปี พ.ศ. 2430 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปจัดรวบรวมเสบียงอาหารที่ เมืองเชียงคำ ส่งกองทัพของ นายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อครั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทรงเป็นแม่ทัพ นำกองทัพสยามขึ้นมาปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง และได้เข้าร่วมไปในกองทัพด้วย รวมระยะเวลาที่จัดการลำเลียงส่งเสบียงอาหาร 4 เดือน
ราชโอรส ราชธิดา[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช มีพระชายา 7 องค์ และพระโอรสพระธิดา รวมทั้งสิ้น 41 พระองค์ (อยู่ในราชสกุล ณ น่าน สายที่ 1) มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
พระชายาที่ 1 แม่เจ้ายอดหล้าอัครราชเทวี (ชายาเอก) ประสูติพระโอรสพระธิดา 13 พระองค์ ดังนี้
- เจ้าคำบุ ณ น่าน
- เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน ภายหลังเป็น พระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน) พระยาวังขวา นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางภูคา ณ น่าน มีโอรส/ธิดา หนึ่งในนั้นคือแม่เจ้าศรีโสภา อัครชายาในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64
- เจ้าน้อยยศ ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าบุรีรัตน์ นครเมืองน่าน
- เจ้านางอัมรา ณ น่าน
- เจ้าน้อยบุญรัตน์ ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าราชวงศ์ นครเมืองน่าน
- เจ้าน้อยบริยศ ณ น่าน
- เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยบรม ณ น่าน) พระโอรสองค์ที่ 1 ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 กับแม่เจ้าปาริกาเทวี (พระชายาที่ 7)
- เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าราชวงศ์ นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางบัวเขียว ณ น่าน (พระธิดาองค์ที่ 2 ในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 กับแม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา (ชายาที่ 1)
- เจ้าหนานจันทวงษ์ ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าราชภาติกวงษ์ นครเมืองน่าน
- เจ้าหนานบุญรังษี ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน
- เจ้าน้อยมหาวงษ์ ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าราชภาคินัย นครเมืองน่าน
- เจ้าน้อยยอดฟ้า ณ น่าน ภายหลังเป็น เจ้าราชดนัย นครเมืองน่าน เสกสมรสกับเจ้านางสุพรรณวดี เทพวงศ์ ราชธิดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ฯ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 26
- เจ้านางสมุท ณ น่าน
พระชายาที่ 2 แม่เจ้าคำปลิวราชเทวี ประสูติพระธิดา 4 พระองค์ (ถึงแก่กรรมไปตั้งแต่เยาว์วัยทั้งหมด ไม่ปรากฏพระนาม)
พระชายาที่ 3 แม่เจ้าจอมแฟงราชเทวี ประสูติพระโอรสพระธิดา 3 พระองค์ ดังนี้
- เจ้านางบัวแว่น ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าราชบุตร (น้อยอนุรศรังษี ณ น่าน) (พระโอรสองค์ที่ 1 ในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 กับแม่เจ้าสุคันธาเทวี (พระชายาที่ 8)
- เจ้าแห้ว ณ น่าน
- เจ้าน้อยครุธ ณ น่าน
พระชายาที่ 4 แม่เจ้าคำเกี้ยวเทวี ประสูติพระธิดา 2 พระองค์ ดังนี้
- เจ้านางเกี๋ยงคำ ณ น่าน
- เจ้านางคำอ่าง ณ น่าน
พระชายาที่ 5 แม่เจ้ายอดหล้าเทวี (คนละองค์กับชายาเอก) ประสูติพระโอรสพระธิดา 7 พระองค์ ดังนี้
- เจ้านางเทพมาลา ณ น่าน
- เจ้านางเทพเกสร ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าอินทร์แปลง เทพวงศ์ราชโอรสองค์ที่ 7 ในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 26 กับแม่เจ้าบัวไหลราชเทวี (ชายาที่ 2)
- เจ้าน้อยอินทแสงสี ณ น่าน
- เจ้านางจันทวดี ณ น่าน
- เจ้านางศรีสุภา ณ น่าน
- เจ้านางดวงมาลา ณ น่าน
- เจ้านางประภาวดี ณ น่าน
ชายาที่ 6 หม่อมศรีคำ ชายา ประสูติพระโอรสพระธิดา 5 พระองค์ (พระโอรส 3 พระองค์/พระธิดา 2 พระองค์) พระโอรสถึงแก่กรรมไปตั้งแต่เยาว์วัยเหลือแต่พระธิดา ดังนี้
- เจ้านางบัวแก้ว ณ น่าน
- เจ้านางศรีพรหมา ณ น่าน ภายหลังเป็น หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา หม่อมในหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
ชายาที่ 7 หม่อมบัว ประสูติพระโอรสพระธิดา 7 พระองค์ (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์วัย 4 พระองค์) ส่วนที่ยังพระชนย์ชีพอยู่ ดังนี้
- เจ้านางต่อมแก้ว ณ น่าน
- เจ้าก่ำ ณ น่าน
- เจ้านางเกียรทอง ณ น่าน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2430 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2436 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) (ชื่อเดิม : จุลสุราภรณ์)[12]
- พ.ศ. 2440 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) (ชื่อเดิม : มหาสุราภรณ์)[13]
- พ.ศ. 2444 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2444 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) (ชื่อเดิม : จุลวราภรณ์)[15]
- พ.ศ. 2446 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
เหรียญราชอิสริยาภรณ์[แก้]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงได้รับพระราชทาน เหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2436
เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ.
เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ.
เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ.
เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ.
เหรียญรัชมังคลาภิเศก (ร.ม.ศ.)
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม[แก้]
- โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เดิมมีชื่อว่า “ โรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ” ด้วยความอุปถัมภ์ของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน
- โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์
- ค่ายสุริยพงษ์ หรือ มณฑลทหารบกที่ 38
- ถนนสุริยพงษ์
ราชตระกูล[แก้]
พงศาวลีของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล (ต้นวงศ์), ต้นราชสกุล)
- ↑ ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 10[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- ↑ ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2436
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การตั้งพระเจ้านครเมืองน่าน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการประกาศตั้งพระเจ้านครเมืองน่าน, เล่ม 20, ตอน 35, 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 122, หน้า 610
- ↑ "เมืองน่านขึ้นกับอาณาจักรล้านนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454
- ↑ เครื่องประกอบพระอิสริยยศครั้งที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น เจ้านครเมืองน่าน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพิลาไลย เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2461
- ↑ สิบสองปันนา ดินแดนบรรพบุรุษคนไทย หรือ?[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2436
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลา เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2440 เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2444
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2444
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิซอร์ซมีงานต้นฉบับซึ่งเป็นผลงานของหรือเกี่ยวข้องกับ: พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช |
ก่อนหน้า | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ![]() |
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2461) |
![]() |
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2374
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2461
- เจ้านายฝ่ายเหนือ
- เจ้าผู้ครองนครน่าน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ราชโอรสในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ
- ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
- เจ้าราชวงศ์
- เจ้าอุปราช
- สกุล ณ น่าน
- พระเจ้าประเทศราช
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์