เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน)

เจ้าน้อยยอดฟ้า ณ น่าน
พระยาราชบุตรแห่งนครแพร่
(พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2446)
เจ้าราชดนัยแห่งนครน่าน
(พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2460)
ประสูติพ.ศ. 2413
พิราลัย2 มีนาคม พ.ศ. 2460
พระชายาเจ้าหญิงสุพรรณวดี เทพวงศ์
พระบุตรเจ้าสร้อยฟ้า โลหะพจน์พิลาศ
เจ้าวิลาวัณย์ ณ น่าน
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชสกุลณ น่าน
พระบิดาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
พระมารดาแม่เจ้ายอดหล้าอัครชายา

รองอำมาตย์เอก ร้อยตำรวจเอก เจ้าราชดนัย (น้อยยอดฟ้า ณ น่าน) หรือ เจ้าน้อยยอดฟ้า ณ น่าน เจ้าราชดนัยแห่งนครน่าน อดีตพระยาราชบุตรแห่งนครแพร่ และเป็นราชโอรสในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 กับแม่เจ้ายอดหล้า

พระประวัติ[แก้]

เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน) หรือ เจ้าน้อยยอดฟ้า ณ น่าน เป็นราชโอรสในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 กับแม่เจ้ายอดหล้า มีเชษฐา-เชษฐภิคินี ร่วมเจ้ามารดารวม 13 องค์ คือ

  1. เจ้าคำบุ ณ น่าน
  2. พระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน)
  3. เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยยศ ณ น่าน)
  4. เจ้านางอัมรา ณ น่าน
  5. เจ้าราชวงศ์ (เจ้าน้อยรัตน ณ น่าน)
  6. เจ้าน้อยบริยศ ณ น่าน
  7. เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน เสกสมรสกับ เจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยบรม ณ น่าน)
  8. อำมาตย์ตรี เจ้าราชวงศ์ (เจ้าสุทธิสาร ณ น่าน)
  9. เจ้าราชภาติกวงษ์ (เจ้าจันทวงษ์ ณ น่าน)
  10. เจ้าราชบุตร (เจ้าหนานบุญรังษี ณ น่าน)
  11. เจ้าราชภาคินัย (เจ้าน้อยมหาวงษ์ ณ น่าน)
  12. เจ้าราชดนัย (เจ้าน้อยยอดฟ้า ณ น่าน)
  13. เจ้านางสมุท ณ น่าน

เจ้าน้อยยอดฟ้า เสกสมรสกับเจ้าหญิงสุพรรณวดี เทพวงศ์ ราชธิดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย กับแม่เจ้าบัวไหล เจ้าน้อยยอดฟ้า มีตำแหน่งเดิมเป็น พระยาราชบุตร พระยาราชบุตรนครแพร่ และรับราชการเป็นนายตำรวจอยู่ในเมืองนครแพร่ มียศเป็น ร้อยตำรวจเอกพระยาราชบุตร ต่อมาปีพ.ศ. 2446 ภายหลังจากกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าบิดาได้ขอย้ายพระยาราชบุตรไปรับราชการที่เมืองนครน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าราชดนัย เจ้าราชดนัยแห่งนครน่าน[1] ท่านจึงได้พาครอบครัวไปพำนักอยู่นครน่าน จึงกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2460 เจ้าราชดนัยป่วยเป็นโรคฝีในปอด ถึงแก่กรรมเมื่อชนมายุได้ 47 ปี

พระยศ[แก้]

เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ ดังนี้

  1. เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น "พระยาราชบุตร เมืองแพร่"
  2. เมื่อปี พ.ศ. 2446 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น "เจ้าราชดนัย นครเมืองน่าน"

เหตุการณ์กบฎเงี้ยวปล้นเมืองแพร่[แก้]

ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองนครแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว เจ้าพิริยเทพวงษ์จึงต้องเสด็จหรีภัยการเมืองไปประทับเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว[2] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 ส่วนเจ้านายองค์อื่น ๆ ถูกถอดยศศักดิ์ ถูกควบคุมลงไปกักตัวไว้ที่กรุงเทพฯ และให้ชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ร่วมถึงพระยาราชบุตร (เจ้าน้อยยอดฟ้า ณ น่าน) ก็ถูกถอดยศศักดิ์ ริบทรัพย์สมบัติ ให้ชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ และให้ย้ายออกจากนครแพร่ ภายหลังเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มีคำสั่งให้ร้อยตำรวจเอกพระยาราชบุตรนำกองกำลังตามขึ้นไปตีพวกโจรเงี้ยวที่แตกไปอยู่ตำบลสะเอียบ ซึ่งร้อยตำรวจเอกเพระยาราชบุตรก็สามารถกระทำงานที่มอบหมายสำเร็จ คือตีพวกกองโจรเงี้ยวจนแตกพ่ายไป ได้ริบทรัพย์จับเชลยกลับมาเป็นจำนวนมาก อันเป็นวิธีสร้างความดีลบล้างความผิดเพื่อหลีกเลี่ยงการประหารชีวิตเพราะสยามไม่ประสงค์จะให้กระทบกระเทือนใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระยาราชบุตรเป็นราชโอรสในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่อมาปี พ.ศ. 2446 เจ้าบิดาได้ขอย้ายพระยาราชบุตรไปรับราชการที่เมืองนครน่าน และขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น “เจ้าราชดนัย” อันเป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นชอบด้วย

ธิดา[แก้]

เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน) สมรสกับเจ้าสุพรรณวดี เทพวงศ์ โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ไปสู่ขอตามประเพณีล้านนาในปี พ.ศ. 2439 มีธิดา 2 คน คือ

  1. เจ้าสร้อยฟ้า ณ น่าน สมรสกับรองอำมาตย์โทขุนโลหะพจน์พิลาศ มีบุตร-ธิดา 4 คน
    1. นายสมพงษ์ โลหะพจน์พิลาศ สมรสกับนางแสงเดือน กันทาธรรม (เชื้อสายเจ้าธรรมสาร)
    2. นางสุภาพ แสงศิริ
    3. นางวรรณแวว ไชยวงศ์
    4. นายโสภณ แสงสิริ
  2. เจ้าวิลาวัณย์ ณ น่าน ไม่มีบุตรธิดา[3]

โดยธิดาทั้งสองคือสายสัมพันธ์สองแผ่นดินแห่งนครแพร่ และนครน่าน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติศาสตร์ที่ชีวิตคุณอาจไม่เคยรู้ กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ http://www.oknation.net/blog/kingkaoz
  2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ประวัติเจ้าพิริยเทพวงศ์ (เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่) เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
  3. หมู่บ้าน วังฟ่อน. เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์(ทายาท)