เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)
รัชกาลถัดไปพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)
ประสูติเวียงจันทน์
พิราลัยธาตุพนม
ชายาอาดยานางบุสดี
พระนามเต็ม
พระอาดยาหลวงเจ้าพระลามมะลาดซปาดีสรีมหาพุทธปริสัทธ์ กัตติยวอรราดซวงสาอุกาสะราซาพระนม
พระนามเดิม
ท้าวสีวอรมุงคุน
วัดประจำรัชกาล
วัดหัวเวียงรังษี ธาตุพนม
ราชวงศ์เวียงจันทน์
พระบิดาเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)
พระมารดาอาดยานางยอดแก้วสีบุนมา

เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท หรือแสนกางน้อยสีมุงคุล[1] นามเต็มในพื้นเมืองพนมระบุว่าพระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท ขัติยวรราชวงศาอุกาสะราชาพระนม[2] บ้างออกว่าอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุน จุ้มพระราชโองการกษัตริย์เวียงจันทน์ในอุรังคธาตุผูกเดียวนิยมออกนามแสนกางน้อยสีมุงคุร นามเดิมท้าวสี (ศรี) นามยศเดิมที่ท้าวสีวรมุงคุน[3] ทายาทและชาวบ้านออกนามว่าเจ้าพ่อขุนโอกาส ยาปู่หลวงกาง เจ้าปู่หลวงกางน้อย เป็นต้น เป็นขุนโอกาส (เจ้าโอกาส) หรือเจ้าเมืองธาตุพนมลำดับ 2 จากราชวงศ์เวียงจันทน์ เริ่มปกครอง พ.ศ. 2360-61 ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ให้ปกครองต่อจากบิดาในวันเดียวเดือนเดียวแต่คนละปีกับพิธียกหอคำเวียงจันทน์[4] คำให้การชาวบ้านดงนาคำในบันทึกพระเทพรัตนโมลี (แก้ว กนฺโตภาโส, อุทุมมาลา, ป.ธ.6, นธ.เอก) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ระบุว่าเจ้าพระรามราชปราณีเป็นผู้รักษาบั้งจุ้มหรือคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับลานคำซึ่งเป็นฉบับดั้งเดิมสุด และเป็นผู้นำไพร่พลข้าโอกาสพระธาตุพนมอพยพจากเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านดงใน ดงนอก และหมากนาว (มะนาว) ในฝั่งซ้ายน้ำโขงของแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขตพร้อมแสนพนมและแสนนามนายกอง[5]

เจ้าพระรามราชปราณีเป็นบิดาพระอัคร์บุตร (สุวัณณบุญมี บุคคละวิเศษ) เจ้าเมืองธาตุพนมคนสุดท้ายในอารักขาฝรั่งเศสที่บ้านด่านปากเซ เป็นบิดาพระอุปราชา (สุวัณณคำเฮือง อุปละ) ผู้ตั้งสกุลรามางกูร เป็นบิดาเจ้านางยอดแก้วก่องมณีชายาเจ้าพระยาจันทสุริยวงศา (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหาร เป็นน้า (น้องแม่) พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆทองทิพย์ รามางกูร) ขุนโอกาสธาตุพนมคนที่ 3 เป็นปู่เจ้าพระยาโพธิ์สาราช (พรหมพุทธา บุคคละ) เจ้าเมืองเซบั้งไฟหรือเมืองปากเซคนแรก เป็นปู่พระบำรุงพระนมเจดีย์ศรีมหาบริษัท (เทพประจิตต์สุวรรณ บุคคละ) นายกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมคนสุดท้าย เป็นปู่หมื่นศีลสมาทานหรือหมื่นสำมาทาน (สุวัณณสีลา บุคคละ) กำนันตำบลธาตุพนมคนแรก (ต่อมาเป็นกำนันตำบลธาตุพนมใต้คู่กับพระอนุรักษ์ธาตุเจดีย์ (สา บุปผาชาติ) กำนันตำบลธาตุพนมเหนือ) เป็นปู่นายดวง รามางกูร อดีตประธานสภาจังหวัดนครพนม และเป็นทวดของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ[6] เป็นต้น

พระนามในหลักฐานลายลักษณ์[แก้]

คัมภีร์ใบลานเรื่องพื้นเมืองพนมระบุนามเต็มว่าพระอาชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราฑีสีมหาพุทธปริษัท กัตติยวรราชวงศาอุกาสะราชาพระนม บ้างออกนามอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุน ท้าวสีวรมุงคุน ท้าวกางน้อย เป็นต้น นามเดิมว่าท้าวสี หนังสืออุลังคนิทานหรือพื้นอุลํกาธาฉบับหอสมุดแห่งชาติบ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี 2 ฉบับออกนามแสนกางน้อยสีมุงคุร แสนข้าน้อยสีมุงคุร แสนคานน้อยสีมุงคุร หนังสืออุลังกาทาตุฉบับวัดซาตะกะทานะวันมิโก บ้านนาต้าย เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต ออกนามแสนกางน้อยปสิมุงคุร แสนกางน้อยสีมุงคุร และแสนกางน้อยสิมูงคูรร์ ตำนานธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ และตำนานพระธาตุพนมในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่ 1-2 ออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์ ตำนานอุรังคธาตุที่ระลึกกฐินพระราชทาน มข. ถวายวัดพระธาตุพนม 26-27 ตุลาคม 2562 ออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุล สำเนาเอกสารตั้งสกุลและอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูรของพระอุปราชา (เฮือง) 2 ฉบับ กับอนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528 ออกนามหลวงกลางน้อยศรีมงคล[7] คำให้การชาวบ้านดงนาคำออกนามแสนกลางน้อยศรีมงคลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุล ใบลานเรื่องธาตุภูกำพร้า ฉบับวัดหัวเวียงรังษี ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.ศ. 1276 ระบุนามว่าเจ้าพระยาหลวงแสนกางน้อยสีวรมุงคุล ใบลานหนังสือยั่งยืนเปลี่ยนสกุลเป็นรามางกูรต้นฉบับเดิมของพระอุปราชา (เฮือง) พ.ศ. 2490 (จ.ศ. 309) ระบุนามว่าอาชญาหลวงกางน้อยสีวรมุงคุล ส่วนเอกสารพื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชออกนามว่าพระยาโอกาสเจ้า พระมหาสมเด็จราชาธาตุพระนมบุรมมหาเจดีย์สีมุงคุณ และพระยามะรามมะราชปราฑีซาสีมุงคุรสุนทรเจ้า

ในจุ้มพระราชโองการกษัตริย์เวียงจันทน์จากคัมภีร์อุรังคธาตุ[แก้]

หนังสืออุรังคธาตุนิทานหอสมุดแห่งชาติ (ฉบับ 1)[แก้]

คัมภีร์ใบลานหนังสืออุรังคธาตุนิทานหรือพื้นอุลํกาธาฉบับหอสมุดแห่งชาติบ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับ 1 ไม่ปรากฏศรัทธาสร้าง หน้า 24-26 ออกนามว่าแสนข้าน้อยสีมุงคุร แสนคานน้อยสีมุงคุร และแสนกางน้อยสีมุงคุร ทั้งระบุว่าได้รับยศชั้นเจ้าหัวแสนซึ่งสูงกว่าเจ้าหัวหมื่นต่ำกว่าเจ้าหัวเศิกจากเจ้าอุปราชนองกษัตริย์เวียงจันทน์ (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2283-2294) ตรวจสอบจากฉบับอื่นพบว่าศักราชคลาดเคลื่อน เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 8 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ 2 วัน 2 ปานเซ่นเจ้าครูหลวงพรนซะเม็กให้เจ้าทั้ง 4 ทั้งด่านทั้ง 4 แต่งฮักษาข้าโอกาสแล พระราชาอาชญาสมเด็จบุรมบุพพิตรพระมหาธนมประโซตโพสัตตธิราชเจ้า สมพระเป็นเจ้าอันเป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชาอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนข้าน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาซีซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวนส่งไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวนสนไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยภูผาดอมพระยาแสนหมื่นทิศใดก็ดีให้แสนคานน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอดถอนเอาได้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอนเอาสรรพน้ำหนองกองข้อยลงมาแต่จอกกอก ละนอง หนองแก ซะโปน เมืองวัง เซียงหุ่ง รุผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตุ้มปกเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถืกโอวาทดวงอยานำอาชญาเฮาพระองค์แลนางพระกษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญ์ใส่หัวเขาสิ่งใดจิงได้จิงรามสีสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราซาสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่น 10 ฮ้อยน้อยใหญ่แคล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งเข้าของเงินคำซ้างม้างัวควายซ้างม้าเสื้อผ้าลูกหญิงน้องสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮึบขบเฮียงกินเข้าไปเป็นปกติเทอญ...[8]

หนังสืออุรังคธาตุนิทานหอสมุดแห่งชาติ (ฉบับ 2)[แก้]

คัมภีร์ใบลานหนังสืออุรังคธาตุหรืออุลังคะนิทานฉบับหอสมุดแห่งชาติบ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับ 2 ศรัทธาสร้างโดยพ่อเจ้าทิดแดง หน้า 25-27 ออกนามว่าแสนกางน้อยศรีมุงคุร เนื้อความเดียวกับฉบับ 1 เทียบ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2348-71) เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปานเซ่นเจ้าครูหลวงพรนสะเม็กให้เจ้าด่านทั้ง 4 แต่งฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จบุรมบุพพิตรพระมหาธนมประโซตโพสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาซีซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวนสนไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวนสนไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรซ้วนจัดทาวถอดถอนเอามาไว้ดั่งเก่าไป อย่าถกถอนเอาสรรพน้ำหนองกองข้อยลงมาแต่จอกคอก ละนอง หนองแก ซะโปน เมืองวัง เซียงหุ่ง ฮุ่งผาบังไปแสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มปกเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถืกโอวาทดวงหยำนำอาชญาเจ้าเฮาพระองค์แลนางพระกษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงได้จิงฮามสีสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัดิ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งเข้าของเงินคำซ้างม้างัวควายซ้างม้าเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่าคดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบเฮียงกินเข้าสางอย่าฮีบข้าวติบอย่ายอเล้าอย่าขอดสางจอดอย่าแปลง อัน 1 ข้อยเขาได้ไถ่อย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันใดนอกพระราชอาญาอย่ากระทำกุงประสิทธิพระราชอาญาถวายพระสกาสนอก...[9]

ลำอุรังคธาตุวัดสีพิมพามุงคุน (ผูก 1)[แก้]

คัมภีร์ใบลานลำอุรังคธาตุหรือลำอุรังคะทาตุฉบับวัดสีพิมพามุงคุน เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ลาว ผูก 1 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หน้า 23-25 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอาทั้ง 4 แต่งฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัปปอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตโพสัตตาธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิราชอาสสาชโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เหนือที่ใด หมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอนดาไว้ดั่งเก่า ใผถกอย่าถกอย่าถอนเอาสรรพน้ำหนองกองปลาข้อยลงมาแต่จอกกอก ระนอง หนองแส สองแคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์กษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบน้อยฮ้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทอกอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮึขบฮบกินเข้าสารอย่าฮิบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าขอดสางจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระราชอาชญาถวายสกาสนอง...

ลำอุรังคธาตุวัดสีพิมพามุงคุน (ผูก 2)[แก้]

คัมภีร์ใบลานลำอุรังคธาตุหรือลำอุรังคะทาตุฉบับวัดสีพิมพามุงคุน เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ลาว ผูก 2 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หน้า 23-25 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอากั้ง 4 แต่งให้ฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัปปอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตพระสัตตาธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวไปสิทธิพระราชอาชญาชโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนเหมิ่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกอย่าถอดถอนสรรพน้ำหนองกองปลาข้อยลงมาแต่จอกพอก ระนอง หนองแส สองแคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์กษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบน้อยฮ้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮึขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระราชอาชญาถวายสกาสนอง...

ลำอุรังคธาตุวัดสีพิมพามุงคุน (ผูก 3)[แก้]

คัมภีร์ใบลานลำอุรังคธาตุหรือลำอุรังคะทาตุฉบับวัดสีพิมพามุงคุน เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ลาว ผูก 3 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หน้า 27-29 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกาชได้ฮ้อย 80 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เอาเจ้าเอาทั้ง 4 แต่งให้ฮักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัสสอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตพระสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวนเส็นไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวนเส็นไปลี้ซ่อนอยู่หว้ายฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนเหมิ่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดทาวถอดเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกอย่าถอดสรรพน้ำหนองกองปลาข้อยลงมาแต่จอกพอก ระนอง หนองแส สองแกว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มต่อฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์กษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นแต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนเหมิ่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของเงินคำซ้างม้างัวควยเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระราชอาชญาถวยสกาสนอง...

หนังสืออุรังคธาตุฉบับวัดซาตะกะทานะวันมิโก[แก้]

คัมภีร์ใบลานหนังสืออุลังกาทาตุฉบับวัดซาตะกะทานะวันมิโก บ้านนาต้าย เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต ลาว หน้า 23 บรรทัด 1-4 และหน้า 24 บรรทัด 1-4 ระบุ จ.ศ. ตรงกับสมัยเจ้าอุปราชนองกษัตริย์เวียงจันทน์เช่นเดียวกับหนังสืออุรังคธาตุนิทานหอสมุดแห่งชาติ (ฉบับ 1) ออกนามว่าแสนกางน้อยปสิมุงคุร แสนกางน้อยสีมุงคุร และแสนกางน้อยสิมูงคูรร์ เนื้อความระบุว่า ...ได้ฮ้อย 8 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอาทั้ง 4 ตนให้ฮักษาข้าโอกาสแล พระรัชจอาสาสมเด็จตัสสอุดดมบุรมบุพพัตรพระมหาทนามประโซตสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธีพระราชอาสาโอวาทโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยปสิมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพี่น้องหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เหนือที่ใด หมู่ซุมพี่พี่น้องลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดถอดถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอดสรรพน้ำหนองกองปลากอมปาถข้าลงมาแต่จองพอก นอง หนองแก้ว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผา 8 บังให้แสนกางน้อยสิมูงคูรร์ตู้นเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถะโอวาทดวงหยำนามอาชญาเฮาพระองค์แลนางกษัตริย์ไปถอดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอานำเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้ลางสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำริผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนิ่งสิ่งของทองเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขี่ซีเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาอย่าสางจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้อย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำภัยซึ่งพระราชอาชญาถวายสังกลาสนอง...

อุลังกะทาดตุนิทานฉบับวัดอับเปวันนัง[แก้]

คัมภีร์ใบลานอุลังกะทาดตุนิทานหรืออุลังคะธาตุนิทานฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต ลาว หน้า 24-26 ศักราชคลาดเคลื่อนมากเพิ่ม 400 ตัว จาก 100 ตัว เป็น จ.ศ. 508 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...ได้ 5 ฮ้อย 8 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าเอาทั้ง 4 แต่งให้ฮักษาข้าโอกากาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตัสสอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทาดนามมาประโซตสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าอันเป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้องลูกแลหลานข้อยโอกาสทานเดิมบูรอย่าให้สวานเสียไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสวานเสียไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยสีมุงคุรจัดซ้อนถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอดสรรพน้ำหนองกองปลาข้าลีนมาแต่จอกพอก ระนอง หนองสองแคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮ่ม ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มฮ่อเอา อัน 1 ให้เล็กน้อยถือดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์และนางกษัตริย์ไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ได้ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงได้ให้รามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบน้อยฮ้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซาริผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนีสีของเงินคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองผาคดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอหยาหยาดขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาอย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้ฮักษาพระราชอาชมญาอันอยู่ในอันนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำโคบซิงพระรัชนอาชญาถวายสังกาส...

พื้นธาตุพนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมาราม[แก้]

คัมภีร์ใบลานพื้นทาตุพระนมหรือพื้นธาตุพนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมาราม บ้านป่าขาม นครหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ลาว หน้า 23-25 ออกนามว่าแสนกางน้อยสีมุงคุร เนื้อความระบุว่า ...สังกลาชได้ฮ้อย 8 ตัว ปีเดือนเจียง ขึ้น 3 ค่ำ วัน 2 ปางเซ่นเจ้าครูหลวงโพซะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่ให้รักษาข้าโอกาสแล พระราซาอาชญาสมเด็จตัปปอุดมบุรมบุพพิตรพระมหาทนามประโซตกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาสาพระราชโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกางน้อยสีมุงคุรให้พิพักษ์ฮักษาพีชหมู่ซุมพี่น้อยลูกหลานข้อยโอกาสทางดงบูรอย่าให้สวานเส็นไปใต้เมือเหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้อยลูกหลานหากสวานเส็นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกางน้อยมุงคุรสวัดจัดทาวถอดถอนเอามาไว้ดั่งเก่า ใผอย่าถกถอดเอาสรรพน้ำหนองกองข้อยลงมาแต่จอกพอก ละนอง ๆ แคว ซะโปน เมืองวัง เซียงฮุ่ง ผาบังให้แสนกางน้อยสีมุงคุรตู้มปกพกพันเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถือโอวาทดวงหยำนำอาชญาเฮาพระองค์แลนางพระไปจัดเอาเข้าใส่เยีย บ่ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เฮาพระองค์มีอาสาใส่หัวเขาสิ่งใดจิงให้รามสีเถ้าเอาขาบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบฮ้อยน้อยใหญ่แกล้วหาญอย่าซำลิผิบาปลังไหมเอาน้ำนิ่งซิ่งของงอคำซ้างม้างัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางซาวสีนาทตาดทองอย่ากดขื่อซื่อเฮือนเขา อัน 1 อย่าฮื้อขบฮบกินเข้าสารอย่าฮีบเข้าติบอย่ายอเหล้าหย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้ไถ่อย่าได้ถอดถอนเอาดอมเจ้าผู้ฮักษาพระราชอาชญาอันใดนอกพระราอาชญาอย่าได้กระทำคุงประสิทธิพระราชอาชญาถวายสังกลาสนอก...

ตำนานพระธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ[แก้]

ตำนานธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ (ตีพิมพ์) แปลจากอักษรธรรมลาว มหาเสวกตรี พระยาเพ็ชรรัตนสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) ครั้งเป็นพระยาสุนทรเทพกิจารักษ์สมุหเทศาภิบาลมณฑลเพ็ชรบูรณ์ถวายในหอพระสมุดฯ พระพนมนัครานุรักษ์ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนมขอราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 มอบเงินบำรุงวัดพระธาตุพนมในสมัยพระครูศิลาภิรัต (หมี บุปผาชาติ) เป็นเจ้าอาวาส ออกนามว่าแสนกลางน้อยศรีมุงคุลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์ เนื้อความแปลไทยระบุว่า ...ศักราชได้ 108 ปี เดือนเจียงขึ้น 13 ค่ำ วันจันทร์ ปางเช่นเจ้าครูหลวงโพนชะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่งให้รักสาข้าโอกาส และพระราชอาญาสมเด็จตัประอุดมบรมบพิตรพระมหาธนามประโชตะกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาญาพระราชโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกลางน้อยสีมุงคุลให้พิทักษ์รักษาพิชหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานข้าโอกาสทางคงบุญอย่าให้สว่านเส่นไปใต้เหนือ ที่ไหนหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานหากสว่านเส่นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์จัดท้าวถอดถอนเอามาไว้ดังเก่า ใครอย่าถอดถอนเอาสัพพะน้ำหนองกองข้าลงมาแต่จอกพอก ละนอง เคอน ชะโปน เมืองวัง เชียงร่ม ผาบังให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลตุ้มปกเอา อนึ่งให้เด็กน้อยถือโอกาสดวงยำนำอายาเล่าพระองค์และนางกษัตริย์ไปจัดเข้าใส่เยีย ไม่ให้เอากับเขาเว้นไว้แต่เราพระองค์มีคำสั่งใส่ศีร์ษะเขาสิ่งใดจึงให้ร่ามศรีเฒ่าแก่เอากราบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบร้อยน้อยใหญ่แก้วหารอย่าชะริผิบาปไหมเอาสิ่งของเงินคำ ช้าง, ม้า, โค, กระบือ, เสื้อผ้า ลูกหญิง นางสาว ศรีนาดตาดทอง อย่ากดขี่ซื้อเรือนเขา อนึ่งอย่ารื้อขบรบกินเข้าสารอย่าริบเข้าติบอย่าย่อร้อหย่าขอดสารจอดอย่าแปลง อนึ่งเข้าเขาได้ไถ่อย่าถอดเอากับเขาผู้รักษาพระราชอาญาอย่ากระทำกรุงประสิทธิ์พระราชอาญาถวายศักราชนอก...[10]

ตำนานพระธาตุพนมในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่ 1-2[แก้]

ตำนานพระธาตุพนมในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่ 1-2 ระบุเนื้อความเดียวกันกับตำนานธาตุพนมฉบับหอพระสมุดฯ (ตีพิมพ์) โดยออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์ เนื้อความแปลไทยระบุว่า ...ศักราชได้ 108 ปี เดือนเจียง ขึ้น 13 ค่ำ วันจันทร์ ปางเช่นเจ้าครูหลวงโพนชะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่งให้รักสาข้าโอกาส และพระราชอาญาสมเด็จตัประอุดมบรมบพิตรพระมหาธนามประโชตะกษัตราธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าองค์เป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาญาพระราชโอกาสจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกลางน้อยสีมุงคุลให้พิทักษ์รักษาพิชหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานข้าโอกาสทางคงบุญอย่าให้สว่านเส่นไปใต้เหนือ ที่ไหนหมู่ชุมพี่น้องลูกหลานหากสว่านเส่นไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยฮูภูผาดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลสวัสดิ์จัดท้าวถอดถอนเอามาไว้ดังเก่า ใครอย่าถอดถอนเอาสัพพะน้ำหนองกองข้าลงมาแต่จอกพอกละนอง เคอน ชะโปน เมืองวัง เชียงร่ม ผาบังให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลตุ้มปกเอา อนึ่งให้เด็กน้อยถือโอกาสดวงยำนำอายาเล่าพระองค์และนางกษัตริย์ไปจัดเข้าใส่เยีย ไม่ให้เอากับเขาเว้นไว้แต่เราพระองค์มีคำสั่งใส่ศีร์ษะเขาสิ่งใดจึงให้ร่ามศรีเฒ่าแก่เอากราบถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสิบร้อยน้อยใหญ่แก้วหารอย่าชะริผิบาปไหมเอาสิ่งของเงินคำ ช้าง, ม้า, โค, กระบือ, เสื้อผ้า ลูกหญิง นางสาว ศรีนาดตาดทอง อย่ากดขี่ซื้อเรือนเขา อนึ่งอย่ารื้อขบรบกินเข้าสารอย่าริบเข้าติบอย่าย่อร้อหย่าขอดสารจอดอย่าแปลง อนึ่งเข้าเขาได้ไถ่อย่าถอดเอากับเขาผู้รักษาพระราชอาญาอย่ากระทำกรุงประสิทธิ์พระราชอาญาถวายศักราชนอก...[11]

ตำนานอุรังคธาตุฉบับที่ระลึกงานกฐินพระราชทานมหาวิทยาลัยขอนแก่น[แก้]

ตำนานอุรังคธาตุที่ระลึกกฐินพระราชทาน มข. (ตีพิมพ์) ถวายวัดพระธาตุพนม 26-27 ตุลาคม 2562 ออกนามแสนกลางน้อยศรีมุงคุล ศักราชคลาดเคลื่อนจาก 108 เป็น 58 หรือ พ.ศ. 2339 เช่นอุลังกะทาดตุนีทานฉบับวัดอับเปวันนัง ช่วงศักราชราวสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2181-2238) พระยาจันทสีหราชหรือพระยาเมืองแสน (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2238) และเจ้าองค์หล่อ (ครองราชย์ราว 2239-42) เนื้อความระบุว่า ...สังกาศได้ 508 ตัว เดือนเจียง ขึ้น 10 ค่ำ วัน 2 ปางเช่นเจ้าครูหลวงโพนซะเม็กให้เจ้าด้านทั้ง 4 แต่งรักษาข้าโอกาสแล พระราชอาชญาสมเด็จตรัสอุดมบรมบพิตรพระมหาธนมประโชติสัตตธิราชเจ้า สมเด็จพระเป็นเจ้าอันเป็นพระอยู่หัวประสิทธิพระราชอาชญาโอวาทจุ้มดวงนี้ใส่หัวแสนกลางน้อยสีมุงคุลให้พิทักษ์รักษาพีชชะหมู่ซุมพี่น้องลูกแลหลานข้อยโอกาสท่านดงบุญอย่าให้สว่านเสียไปใต้เหนือ ที่ใดหมู่ซุมพี่น้องลูกหลานหากสว่านเสียไปลี้ซ่อนอยู่ห้วยรูภูผาอยู่ดอมท้าวพระยาแสนหมื่นที่ใดก็ดีให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลจัดท้าวซ้อนถอนเอามาไว้ดังเก่า ไผอย่าถกถอดสรรพน้ำหนองพองป่าข้อยลงมาแต่จอกพอก ละนอง หนองสองแคว ซะโปน เมืองวัง เชียงหุงรุ้ง ผาปันให้แสนกลางน้อยศรีมุงคุลตุ้มปกเอา อัน 1 ให้เด็กน้อยถืกโอวาทดวงอยำนำอาชญาเราพระองค์แลนางกษัตริย์ไปจัดเอาข้าวใส่เยีย บ่ได้ให้เอาดอมเขาเว้นไว้แต่เราพระองค์มีอาชญาใส่หัวเขาสิ่งใดจีงได้จีงให้รามศรีเฒ่าเอาขายถวายเป็นราชสมบัติ ท้าวพระยาแสนหมื่นสืบร้อยน้อยใหญ่แก้วหาญอย่าช้าอันว่าผิบาปไหมใส่โทษเอาน้ำนี้สิ่งข้าวของเงินคำช้างม้าวัวควายเสื้อผ้าลูกหญิงนางสาวสีนาทตาดทองอย่ากดขื่อซื้อเรือนเขา อันหนึ่งอย่ารื้อขับรับกินข้าวสารอย่าริบเข้าติบอย่ายอเลาหย่าขอดสานจอดอย่าแปง อัน 1 ข้อยเขาได้ไถ่อย่าถอดถอนเอาดอมเขาผู้รักษาพระราชอาชญาอันใดนอกพระราชอาชญาอย่ากระทำสิทธิพระราชอาชญาถวายพระสังกาศ...[12]

คำให้การชาวบ้านดงนาคำ[แก้]

เอกสารประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม) พระเทพรัตนโมลีเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมเรียบเรียง ระบุคำให้การของชาวบ้านดงนาคำออกนามว่าแสนกลางน้อยศรีมงคลและแสนกลางน้อยศรีมุงคุล ช่วงปกครองธาตุพนมกลับตรงสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2181-2238) สันนิษฐานศักราชคงคลาดเคลื่อนเนื่องจากห่างสมัยเจ้าอนุวงศ์ 100 กว่าปี เนื้อความโดยละเอียดระบุว่า ...ตามคำให้การของชาวบ้านดงนาคำอยู่ในประเทศลาวตรงข้ามกับธาตุพนมซึ่งได้บอกกันสืบต่อ ๆ มาจากบรรพบุรุษว่า เมื่อสร้างยอดพระธาตุเสร็จแล้วเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้สั่งให้หัวหน้าข้าโอกาสทั้ง 3 คนคือแสนกลางน้อยศรีมงคล แสนพนม และแสนนามพาครัวลูกหลานบ่าวไพร่อพยพจากบ้านธาตุพนมไปตั้งภูมิลำเนาอยู่แถวดงนาคำลึกจากฝั่งโขงเข้าไปในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเขตประเทศลาว ก่อนไปเจ้าราชครูฯ ให้โอวาทว่า "สูเจ้าจุ่งลูกหลานญาติพี่น้องจุ้มเจื้อเชื้อแนวไปสร้างบ้านแปงเฮือน เฮ็ดไฮ่ใส่นาอยู่แถวดงนาคำบ่อนดินดำน้ำซุ่มพุ้น ที่นั้นมีผลหมากไม้บ่ไฮ้บ่อึด มียอดบุ่นยอดหวายเผิ่งมิ้มของป่าของดงก็มาก ที่สร้างแปงไฮ่นาก็กว้างบ่อึดบ่อยาก ให้เคารพยำแยงคุณแก้ว 3 ประการ อย่าได้ประมาท ให้เอาบั้งจุ้มพระธาตุพนม (ตำนาน) เป็นที่ไหว้สักการะบูชาพิทักษ์ฮักษาอย่าขาด เพื่อให้เป็นเนื้อหนังอุปกรณ์แก่พระชินธาตุเจ้าตามเฒ่าแก่บูฮาณมา ก็หากจักวุฒิสวัสดิ์แก่สูเจ้าทั้งหลายทุกเมื่อหั่นแลฯ" ดังนี้ ส่วนแสนกลางน้อยศรีมุงคุลได้อพยพพวกพร้องไปตั้งอยู่บ้านมะนาว แสนพนมไปตั้งอยู่บ้านดงใน แสนนามพาครอบครัวไปตั้งอยู่บ้านดงนอก ทั้ง 3 บ้านถือพระบรมธาตุและตำนานพระธาตุเป็นสรณะอันศักดิ์สิทธิ์สืบมาจนบัดนี้ ตำนานพระธาตุพนมที่ชาวดงนาคำได้ไว้นั้น เล่ากันว่าเป็นฉบับดั้งเดิมและละเอียดถูกต้องกว่าฉบับอื่น ๆ จารึกลงในลานทองบรรจุหีบศิลาอย่างดี ต้องเปลี่ยนวาระกันสักการะบูชาบ้านเรือนละ 3 วัน เวียนกันไป ถือขลังและศักดิ์สิทธิ์จนเข้ากระดูกดำใครไปขอดูก็มิได้ เขาว่าเจ้าเก่านายหลังเขามาพวกเขาจึงจะเอาตำนานนั้นให้ พวกเราก็จะได้ดิบได้ดีเพราะได้สั่งความกันไว้แต่สมัยก่อนโน้น และบอกลักษณะเจ้าเก่าที่จะมานั้นว่า ต้องพิสูจน์โดยการเอาน้ำใส่โอ (ขัน) ใหญ่และให้เหยียบดู ถ้าน้ำไม่ล้นโอก็ใช่ มันเป็นแบบหาหนวดกับเต่าหาเขากับกระต่าย ตายแล้วตายอีกก็คงไม่พบ จึงเป็นการยากที่คนภายนอกจะรู้เคล็ดลับกับเขา บ้านเหล่านี้สันนิษฐานว่าเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจะสั่งย้ายภายหลัง เมื่อบ้านธาตุพนมแตกครั้งที่สองที่ได้นำเอาข้าโอกาสชาวธาตุลงไปจำปาศักดิ์ตามตำนานพระธาตุพนม...[13]

บ้านดงนาคำเดิมคือบ้านดงนอก ดงใน หรือบ้านดงท่า ดงเทิง และบ้านนาคำ บ้านดงในเดิมชื่อบ้านดงเทิงตั้งคู่กับบ้านดงท่า ปัจจุบันขึ้นกับเมืองอุทุมพอน แขวงสะหวันนะเขด ประชาชนเป็นชาวภูไทที่ตั้งรกรากอยู่เมืองวังอ่างคำและเมืองเซโปนซึ่งเป็นกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมมาแต่เดิมเรียกว่าลูกธาตุแล้วอพยพมาตั้งบ้านดงท่าดงเทิง ถือเป็นกลุ่มข้าโอกาสทำหน้าที่รักษากุญแจเปิดปิดประตูพระธาตุพนม ประเพณีโบราณก่อนงานบุญนมัสการพระธาตุพนมต้องส่งคนมาเชิญชาวบ้านดงท่าดงเทิงและชาวบ้านนาวางไปร่วมเปิดพิธี ชาวบ้านนาวางทำหน้าที่รักษาบั้งจุ้มพระธาตุพนมและอุปัฏฐากพระธาตุตุ้มพะวัง (ตุมพะวัง) เดิมบั้งจุ้มเก็บรักษาไว้ในพระธาตุตุ้มพะวังหลังสงครามเวียงจันทน์ในรัชสมัยเจ้าอนุวงศ์สยามนำไปเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ ผู้รักษาบั้งจุ้มเรียกว่าข้าบั้งจุ้ม[14] ต่อมาชาวบ้านดงท่าดงเทิงบางส่วนอพยพไปสร้างบ้านนาคำตั้งอยู่หัวน้ำบุยแล้วย้ายมาตั้งที่บุ่งกะสกและย้ายอีกครั้งในที่ตั้งบ้านนาคำปัจจุบัน หลังสงครามเวียงจันทน์ชาวดงท่าดงเทิงบูรณะพระธาตุพนมน้อยหรือพระธาตุท่าพะนมขึ้นเป็นตัวแทนพระธาตุพนม ต่อมายาท่านใหญ่มหางอน ดำลงบุน ประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวลำดับ 5 เปลี่ยนนามใหม่ว่าพระธาตุท่าพนมปฐมรัตนเจดีย์ ปัจจุบันบ้านดงท่าดงเทิงแบ่งออก 8 หมู่บ้านคือ บ้านบ้านดงท่า บ้านดงใน บ้านนาคำ บ้านหนองแปน บ้านดงขวาง บ้านตาดขาแดง (ปัจจุบันขึ้นกับเมืองอาดสะพอน) บ้านหนองเขียดเหลือง (ปัจจุบันขึ้นกับเมืองไซบูลี) และบ้านโนนป่าไล่[15]

บุตรธิดา[แก้]

เอกสารพื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธฮาชระบุว่าเจ้าพระรามราชปราณีมีบุตรธิดา 8 ท่านดังนี้ ...พระยาโอกาสเจ้าตนเป็นอาชญ์กั่วคนทั้งหลายเป็นพระมหาสมเด็จราซาธาตุพระนมบุรมมหาเจดีย์สีมุงคุณมีซื่อว่าพระยามะลามมะลาชปาฑีซาสีมุงคุรสุนทรเจ้ามีลูก 8 ตน ๆ 1 ซื่อว่าเจ้าอัคคบุตตสุทธสุวัณณบุนมี ตน 1 ซื่อว่าเจ้าอุปปราซาสุวัณณคำเฮือง ตน 1 ซื่อว่าเจ้าลาชวงสาหน่อคำเที่ยง ตน 1 ซื่อว่าท้าวหน่อพุทธา ตน 1 ซื่อว่าท้าวน้อยคำผิว ตน 1 ซื่อว่านางแก้วมณีก่องเทวี ตน 1 ซื่อว่านางสิริวัณณาเทวี ตน 1 ซื่อว่านางจันทแจ่มฟ้ากุมมารี หลานตน 1 มีซื่อว่าอุปปลสุวัณณคำถงก็ตื่มแถมยศว่าเจ้าพระพิพักษ์เจดีย์สีปริษัทขัติยวงสา เจ้าทั้งหลายทั้งมวลจักพากันมามวลกันมาน้อมพระยาธัมมิกราชเจ้าตนประเสริฐแท้ดั่งนี้ ส่วนอันว่านางทั้ง 3 ตนน้องจักไปอยู่ตาล 7 ยอดเพื่อว่าจักได้คอยพระยาธัมมิกราชตนประเสริฐมาสู่เวียงพระมหาธาตุเจ้าพระนมแท้ก็มีแท้ดั่งนี้แล...[16] เอกสารยังระบุเหตุการณ์ที่ธาตุพนมช่วงราว พ.ศ. 2369 และราว พ.ศ. 2371 ด้วยว่า ...สังกราชได้ฮ้อย 88 ตัว เจ้าพระนมขึ้นไปเฝ้าเจ้าเวียงจันทน์ สังกราชได้ฮ้อย 90 พระนมบังมุกแตกเจ้าซานน...[17]


ก่อนหน้า เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ถัดไป
เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) ขุนโอกาสหรือเจ้าโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนม
พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร)

อ้างอิง[แก้]

  1. ดูรายละเอียดใน เพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ, ดร., "พระยาธาตุ : ผู้ปกครองเขตน้ำแดนดินธาตุพนมและสายสกุลในปัจจุบัน", ใน ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ดร. และเพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ, ดร., นัยตำนานพระธาตุพนม : งานสร้างสรรรค์ในสวนพุทธมาลัยลำดับ ๓, ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี, ดร. (บรรณาธิการ), (เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่สแกนเนอร์, ๒๕๖๔), หน้า ๓๒๓-๓๒๖.
  2. ดวง รามางกูร, พระมหา, พื้นเมืองพระนม (ประวัติวงศ์เจ้าเมืองธาตุพนม), (กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังษี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏเลขหน้า. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์และเอกสารเย็บเล่ม)
  3. ดวง รามางกูร, พระมหา, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  4. คัมภีร์ใบลานเรื่อง ตำนานเมืองเก่า (บั้งจุ้ม (ตำนานเมือง)). วัดโพนกอก บ.ปากกะยุง ม.ทุละคม ข.เวียงจันทน์ สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว (เฉพาะหน้า ๓๕ อักษรธรรมลาว-ลาวเดิม). ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) เลขรหัส PLMP ๑๐ ๐๒ ๐๑ ๑๔ ๐๐๔_๐๒. หมวดตำนานเมือง. ๒๑ ใบ ๔๒ หน้า (ตรวจสอบมี ๑๘ ใบ ๓๖). ผ.๑/น.๑๒/ด.๒.
  5. รัตนโมลี, พระเทพ (เรียบเรียง), "ประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)", ใน ติสฺสวํโส ภิกฺขุ และคณะ, สมเด็จพระสังฆราชลาว พระชนม์ ๘๙ พรรษา เสด็จหนีภัย ลอยแพข้ามสู่ฝั่งไทย : มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘, (กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., ๒๕๒๘), หน้า ๒๓๔-๒๓๕.
  6. ดูรายละเอียดใน วีรพงษ์ รามางกูร, ดร., คนเดินตรอกฉบับบันทึกความทรงจำ : อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ น., (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๕), ๗๙๖ หน้า.
  7. วีรพงษ์ รามางกูร, ดร., "วงศ์สกุลของพ่อ", ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร ณ เมรุวัดตรีทศเทพ : วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๘ เวลา ๑๗.๐๐ น., (กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.ส., ๒๕๒๘), หน้า ๑-๒., เฮือง รามางกูร, ท้าว (ผู้เขียน) และเปลี่ยน สุนีย์ (ผู้ออก). เอกสารเรื่อง จดหมายบันทึก สกุลนี้สืบมาแต่ขุนรามรามางกูร และอนุญาตให้ใช้สกุลรามางกูร (สำเนา). ที่ว่าการอำเภอธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสาร ๑ ฉบับ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. ไม่ปรากฏหมวด. บ.๑/น.๑/ด.๑/บท.๔-๕. (เอกสารส่วนบุคคล) และคณะผู้จัดทำ, ใบโพธิ์ทอง...ที่ร่วงหล่น คุณแม่พิศมัย คงเพชร : ณ เมรุวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖, (นครพนม : เรณูนครการพิมพ์, ๒๕๕๖), หน้า ๑-๒.
  8. คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนิทาน (พื้นอุลํกาธา). (ฉบับ ๑) หอสมุดแห่งชาติ บ.เซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ ม.จันทะบูลี สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏเลขรหัส. ผ.๑/น.๒๔/บ.๑๒/ด.๒-น.๒๖/บ.๑๓/ด.๒
  9. คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนิทาน (อุลังคะนิทาน). (ฉบับ ๒) หอสมุดแห่งชาติ บ.เซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ ม.จันทะบูลี สปป.ลาว. เอกสารใบลาน ๑ ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏเลขรหัส. ผ.๑/น.๒๕/บ.๑๓/ด.๑-น.๒๗/บ.๑๔/ด.๑.
  10. ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน ๓๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๔๗๔, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์, ๒๔๗๔), หน้า ๒๔-๒๖.
  11. กรมศิลปากร, "ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ ๒ : ตำนานพระธาตุพนม", ใน ประชุมตำนานพระธาตุ ภาคที่ ๑ และภาคที่ ๒ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางเอิบ อุมาภิรมย์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (ธนบุรี : สินเจริญ, ๒๕๑๓), หน้า ๑๑๗-๑๑๘. เฉพาะตำนานพระธาตุพนมพิมพ์เผยแพร่แล้ว ๓ ครั้ง ครั้งแรกพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี โง้นคำ พรหมสาขา (โหง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ฉบับนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ ๔
  12. ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ, ดร., ตำนานอุรังคธาตุ : หนังสือที่ระลึกงานกฐินพระราชทานมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ ทอดถวาย ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม วันเสาร์ที่ ๒๖-วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒, (ขอนแก่น : ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๖๒), หน้า ๑๖๑-๑๖๒.
  13. พระเทพรัตนโมลี (เรียบเรียง), "ประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)", ใน ติสฺสวํโส ภิกฺขุ และคณะ, สมเด็จพระสังฆราชลาว พระชนม์ ๘๙ พรรษา เสด็จหนีภัย ลอยแพข้ามสู่ฝั่งไทย : มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘, หน้า ๒๓๔-๒๓๕.
  14. สุทธิดา ตันเลิศ, "ข้าโอกาสพระธาตุพนมสองฝั่งโขงกับการปรับมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์", ภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๘) : ๓๔-๓๖.
  15. ผู้ไท บูฮานลาว (นามแฝง), อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ๑ : ย้อนรอยการเดินทางไปสร้างพระธาตุพนมของคนฝั่งซ้าย & ฟังประวัติของพระธาตุท่าพนม, [วีดีโอคลิป], แขวงสะหวันนะเขด-แขวงคำม่วน : วิถีชีวิตชนบท, ๒๕๖๓.
  16. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู. เอกสารเรื่อง พื้นพระยาธัมมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) (ฉบับคัดลอก). วัดศรีสุมังค์ บ.นาถ่อนท่า ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. เอกสารเขียนบนกระดาษ ๑ ฉบับ. อักษรธรรมลาว-ลาวเดิม. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นเขียน. ม.ป.ป.. ไม่ปรากฏรหัส. หมวดตำนานพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์. ๓ แผ่น ๖ หน้า. ผ.๑/น.๒/ด.๒. ผ.๒/น.๓/ด.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)
  17. สิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร ขันตะ), พระครู. เอกสารเรื่อง พื้นพระยาธัมมิกราช (พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นครุธราช) (ฉบับคัดลอก). วัดศรีสุมังค์ บ.นาถ่อนท่า ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม, ผ.๓/น.๕/ด.๑. (เอกสารส่วนบุคคล)