เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์
(เชย กัลยาณมิตร)
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2459 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ
ถัดไปเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2406
เสียชีวิต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงพุ่ม สุรสีห์วิสิษฐศักดิ์
บุตรพระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร)
ชัด กัลยาณมิตร
บุพการี
ภาพล้อเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอดีตข้าหลวงใหญ่แห่งมณฑลพายัพในสมัยรัชกาลที่ 5[1]

ประวัติ[แก้]

เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ มีนามเดิมว่า เชย เกิดเมื่อปีกุน พ.ศ. 2406 เป็นบุตรพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ชื่น กัลยาณมิตร) (บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)) เริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นนายรองพิจิตรสรรพการ จ่าเร่งงานรัดรุด พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร และพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ตามลำดับ[2]

วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์เป็นเจ้าพระยา[3] มีราชทินนามว่า เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ อรรคราชวโรปกร บดินทรเทพยภักดี ราชกรณียกิจจำนง มหามัตยพงษ์ประพัทธ์ กัลยาณวัตรวิบุลย์ อดุลยอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[4]

ต่อมาวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาเป็นเจ้าพระยาหิรัญบัฏ มีราชทินนามว่า เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ อรรคราชวโรปกร บดินทรเทพยภักดี ราชกรณียกิจจำนง มหามัตยพงศ์ประพัทธ์ กัลยาณวัตรวิบุลย์ อดุลยอาชวาธยาศรัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[5]

20 มกราคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง­พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ขึ้นมารับราชการตำแหน่ง ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ [6]เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ได้ปฏิรูปการปกครอง การศึกษา การแพทย์ การคมนาคม จนมณฑลพายัพเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย เมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าหลวงใหญ่แห่งมณฑลพายัพแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง­พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 จนกระทั่งกราบบังคมทูลลาออกจากราชการในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465[7]

เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 บุตรธิดาของท่าน ได้แก่ พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร) และหม่อมชื้น ประวิตร ณ อยุธยา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี เป็นต้น[2]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • นายรองพิจิตรสรรพการ
  • พ.ศ. 2428 จ่าเร่งงานรัดรุด ถือศักดินา 600[8]
  • 25 มีนาคม พ.ศ. 2432 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตติพิพัฒน์[9]
  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444 พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ถือศักดินา [10]

ยศและตำแหน่ง[แก้]

  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่ใหญ่[11]
  • 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 - นายกองตรี[12]
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - นายกองโท[13]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2458 - เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
  • – ผู้ช่วยเสนาธิการเสือป่า
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2459 - นายกองเอก[14]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 - กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์,มหาอำมาตย์เอก (เชย กัลยาณมิตร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  2. 2.0 2.1 สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 194-8. ISBN 974-417-534-6
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์เป็นเจ้าพระยา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๑, ๒๓ มกราคม ๑๒๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๕, ๒๓ มกราคม ๑๒๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๓, ๓ เมษายน ๒๔๖๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๔๕ หน้า ๘๗๑, ๒๔ มกราคม ๑๒๑
  7. "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-15. สืบค้นเมื่อ 2015-06-05.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก, เล่ม ๓ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๑๘๓, ๗ ตุลาคม ๑๒๔๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๔๕๑, ๒๙ มีนาคม ๑๐๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๕๗๙, ๓ พฤศจิกายน ๑๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๓๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๗๔, ๒๗ กรกฎาคม ๑๓๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๓๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๔๕๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๔๙, ๖ มกราคม ๒๔๕๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๘๒, ๒ สิงหาคม ๒๔๖๕
  16. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
  17. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องยศ
  18. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  19. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม 26, ตอน 0 ง, 23 มกราคม พ.ศ. 2452, หน้า 2397
  21. พระราชทานเครื่องยศ
  22. พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล
  23. ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน