เจ้าบุญมี ตุงคนาคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าบุญมี ตุงคนาคร
ข้อมูลส่วนบุคคล
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์[1]
คู่สมรสเจ้าโสภา ตุงคนาคร (ณ ลำพูน)

เจ้าบุญมี ตุงคนาคร หรือ เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร[2] เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์ทิพย์จักรหรือ เชื้อเจ็ดตน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูนคนแรก[3] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย

ประวัติ[แก้]

เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร เป็นเจ้านายเชื้อสายทิพจักราทิวงศ์ สมรสกับเจ้าโสภา ตุงคนาคร (สกุลเดิม ณ ลำพูน) ราชนัดดาในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9[2][4]

เจ้าหนานบุญมี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ของจังหวัดลำพูน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476[5] และได้รับการเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489

ต่อมาได้เว้นช่วงการทำงานการเมืองไประยะหนึ่ง กระทั่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[6] โดยได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ คู่กับเจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน โอรสเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[7] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/37102/1/Boontarika_bo_back.pdf
  2. 2.0 2.1 "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
  3. อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
  4. 107 ปี คุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์เมืองลำพูน จาก เชียงใหม่นิวส์
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรเภทที่ 1
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]