เจี๋ยง เหว่ย์กั๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้านี้เป็นชื่อบุคคลจีน นามสกุลคือ เจี่ยง
เจี๋ยง เหว่ย์กั๋ว
蔣緯國
เจี๋ยง เหว่ย์กั๋วในช่วงศึกษาที่เยอรมัน รับราชการทหารในกองทัพแวร์มัคท์ มียศร้อยตรี Fahnenjunker
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ คนที่ 4 แห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน ค.ศ. 1986 – 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993
ประธานาธิบดี เจี่ยง จิงกั๋ว
หลี่ เติงฮุ่ย
ก่อนหน้า Wang Tao-yuan
ถัดไป Shih Chi-yang
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของหน่วยกองทัพร่วม คนที่ 12 แห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน ค.ศ. 1980 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 1984
ประธานาธิบดี เจี่ยง จิงกั๋ว
ก่อนหน้า Wang To-nien
ถัดไป Wen Ha-hsiung
อธิการบดีคนที่ 2 แห่งมหาวิทยาลัย Tri-service
ดำรงตำแหน่ง
16 สิงหาคม ค.ศ. 1975 – 6 มิถุนายน ค.ศ. 1980
ประธานาธิบดี Yen Chia-kan
Chiang Ching-kuo
ก่อนหน้า Yu Po-chuan
ถัดไป Wang To-nien
อธิการบดีคนที่ 3 วิทยาลัยกองบัญชาการและเจ้าหน้าที่แห่งกองทัพสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน ค.ศ. 1963 – 31 สิงหาคม 1968
ประธานาธิบดี เจียง ไคเชก
ก่อนหน้า Wu Wen-chi
ถัดไป Lu Fu-ning
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 6 ตุลาคม ค.ศ. 1916
โตเกียว, จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต 22 กันยายน ค.ศ. 1997(1997-09-22) (80 ปี)
ไทเป, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
ที่ไว้ศพ Wuzhi Mountain Military Cemetery
เชื้อชาติ Flag of the Republic of China.svg สาธารณรัฐจีน
พรรค Naval Jack of the Republic of China.svg พรรคก๊กมินตั๋ง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  สาธารณรัฐจีน
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
ประจำการ นาซีเยอรมนี 1936-1939
สาธารณรัฐจีน 1936, 1939-1997
ยศ นาซีเยอรมนี นักเรียนนายร้อย ยศร้อยตรี Fahnenjunker
สาธารณรัฐจีน นายพล
หน่วย กรมทหารติดอาวุธที่ 1
บังคับบัญชา สาธารณรัฐจีน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังติดอาวุธ
การยุทธ์ นาซีเยอรมนี อันชลุส
นาซีเยอรมนี การทัพโปแลนด์
สาธารณรัฐจีน สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สาธารณรัฐจีน สงครามกลางเมืองจีน
บำเหน็จ สาธารณรัฐจีน เครื่องอิสริยาภรณ์ตะวันสาดส่อง ท้องฟ้าสีคราม
German Cross.svg กางเขนเหล็กชั้นที่ 1

เจี๋ยง เหว่ย์กั๋ว (จีนตัวเต็ม: 蔣緯國; จีนตัวย่อ: 蒋纬国; พินอิน: Jiǎng Wěiguó,; 6 ตุลาคม ค.ศ. 1916 - 22 กันยายน ค.ศ. 1997 ) เป็นบุตรบุญธรรมของประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน จอมทัพเจียง ไคเชก, น้องชายบุญธรรมของประธานาธิบดี เจี่ยง จิงกั๋ว,

เจี๋ยง เหว่ย์กั๋วเคยดำรงตำแหน่งนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน (ที่เคยรับการศึกษาและฝึกฝนโดยกองทัพแวร์มัคท์ของนาซีเยอรมัน), และเป็นบุคคลสำคัญในพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อสาธารณรัฐจีนถอยมาไต้หวัน เขายังได้เป็นนายพลแห่งกองทัพสาธารณรัฐจีน เขามีชื่อตามธรรมเนียมจีน คือ เจี้ยนเก่า (建鎬) และ เนี่ยนถัง (念堂) แวร์มัคท์มักเรียกเขาว่า เหว่ย์กั๋ว เจี่ยง; (Wego Chiang)

ประวัติ[แก้]

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

อดีตที่พำนักอาศัยของเจี่ยงเว่ยกั๋วในนครหนานจิง

ในฐานะหนึ่งในบุตรชายสองคนของเจี่ยงไคเชกชื่อของเจี๋ยง เหว่ย์กั๋วมีความหมายเฉพาะตามที่พ่อตั้งใจไว้ "เว่ย" มีความหมายตามตัวอักษรแปลว่า "ขนาน (ของละติจูด)" ขณะที่ "กั๋ว" หมายถึง "ประเทศชาติ"; ซึ่งพี่ชายของเขา, "จิง" แปลตามอักษรแปลว่า "ลองจิจูด" ชื่อได้รับแรงบันดาลใจจากการอ้างอิงในภาษาจีนคลาสสิกเช่นกั๋ว-ยฺหวี่, ที่ซึ่ง "เพื่อวาดเส้นลองจิจูดและละติจูดของโลก" ใช้เป็นการอุปมาสำหรับบุคคลที่มีความสามารถสูงโดยเฉพาะในการบริหารประเทศ

เกิดที่กรุงโตเกียว ขณะเจี่ยงไคเชกและสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งถูกกวาดล้างโดยรัฐบาลเป่ยหยางและหนีลี้ภัยไปที่ญี่ปุ่นด้วยความจำยอม เจี๋ยง เหว่ย์กั๋วเป็นบุตรชายที่แท้จริงของไท้ ชีเตาที่เกิดขณะลี้ภัยกับสุภาพสตรีชาวญี่ปุ่น, (ญี่ปุ่น: ชิเงะมัตสึ คาเนะโกะโรมาจิ重松金子)[1][2][3][4] ก่อนหน้านี้เจี๋ยง เหว่ย์กั๋วทำให้ไม่ยอมรับในคำกล่าวอ้างข่าวลือใด ๆ และยืนยันว่าเขาเป็นลูกชายที่แท้จริงของเจี่ยงไคเชกจนกระทั่งปีต่อมา (ค.ศ. 1988) เมื่อเขายอมรับว่าเขาเป็นลูกบุญธรรม[5]

ตามคำนินทาที่ได้รับความนิยม ไท้เชื่อว่าการรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสุภาพสตรีชาวญี่ปุ่นของเขาจะถูกฝ่ายญี่ปุ่นนำไปใช้ทำลายการแต่งงานและอาชีพด้านการงานของเขา ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเขาจึงยกเจี๋ยงเหว่ย์กั๋วให้เป็นบุตรบุญธรรมของเจียงไคเชก โดยฝากทารกเจี๋ยงกับชาวญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: ยะมาดะ จุนทาโร่โรมาจิ山田純太郎) ไปยังเมืองเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน[1] เหยา เย่เฉิง (姚冶誠), ภรรยาคนที่สองของเจียงไคเชก, ได้รับเลี้ยงดูเจี๋ยง เหว่ย์กั๋วเสมือนแม่บุญธรรม[6]

ปี ค.ศ. 1910 เจี๋ยงเหว่ย์กั๋วได้ย้ายภูมิลำเนาตามเจียงไคเชกไปยังเมืองซีโข่วในเฟิงหัว ต่อมาเจี๋ยงได้เข้าศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซูโจว

ในกองทัพแวร์มัคท์[แก้]

เจี๋ยง เหว่ย์กั๋วขณะเป็นนักเรียนนายร้อยในกองทัพเยอรมัน ปี ค.ศ. 1938

เนื่องจากพี่ชายของเจี๋ยงเหว่ย์กั๋ว เจี่ยง จิงกั๋วถูกควบคุมตัวเป็นเสมือนตัวประกันทางการเมืองในสหภาพโซเวียต โดยโจเซฟ สตาลิน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในกรุงมอสโก เจียงไคเชกจึงส่งเจี๋ยงเหว่ย์กั๋วไปยังประเทศเยอรมนีเพื่อการศึกษาด้านการทหารที่ Kriegsschuleในมิวนิค ที่นี่เขาจะได้เรียนรู้หลักคำสอนยุทธวิธีทางทหารของเยอรมันที่ทันสมัยที่สุด อีกทั้งองค์กรและการใช้อาวุธในสนามรบสมัยใหม่ เช่นทฤษฎีแรงบันดาลใจจากเยอรมันของ Maschinengewehr (ปืนกลขนาดกลางในสมัยนั้น หรือปืนกลแบบMG-34)

บทบาทในกองทัพเยอรมัน[แก้]

อาชีพทางการเมืองและการทหาร[แก้]

ตำแหน่งของเขาในรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ประกอบไปด้วย:

งานเขียน[แก้]

  • Grand Strategy Summary 《大戰略概說》
  • A Summary of National Strategy 《國家戰略概說》
  • The strategic value of Taiwan in the world 《臺灣在世局中的戰略價值》 (1977)
  • The Middle Way and Life 《中道與人生》 (1979)
  • Soft military offensive 《柔性攻勢》
  • The basic principles of the military system 《軍制基本原理》 (1974)
  • The Z that creates this age 《創造這個時代的Z》

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 2009年08月02日, 人民網, 蔣介石、宋美齡的感情危機與蔣緯國的身世之謎 เก็บถาวร 2012-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 新華網(港澳臺)
  2. 蔣緯國的親媽——重松金子 เก็บถาวร กรกฎาคม 20, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 鳳凰網
  3. 寇維勇 (1989-01-12). "戴季陶之子?蔣緯國是坦然談身世". 聯合 報.
  4. 李玉玲 (1995-01-02). "李敖:據蔣介石日記考證 蔣緯國不是蔣公之子". 聯合報.
  5. Sep 23, 1997, Last son of Chiang Kai-shek dies, China Informed
  6. 楊湘鈞 (2012-05-29). "蔣緯國生父是誰? 戴傳賢銅像勾起大公案". 聯合報.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Wang Shichun (汪士淳), (1996). Travelling alone for a thousand mountains: The Life of Chiang Wei-kuo (千山獨行 蔣緯國的人生之旅), Tianxia Publishing, Taiwan. ISBN 957-621-338-X
  • Zhou Shao (周劭). The trifles of Chiang Wei-kuo's youth (青年蔣緯國瑣事), within the volume "Huanghun Xiaopin" (黃昏小品), Shanghai Guji Publishing House (上海古籍出版社), Shanghai, 1995. ISBN 7-5325-1235-5
  • KWAN Kwok Huen (關國煊). Biography of Chiang Wei-kuo (蔣緯國小傳). Biography Literature (傳記文學), 78, 4.