เจดีย์ซงเยว่
เจดีย์ซงเยว่ | |
---|---|
嵩岳寺塔 | |
ภาพถ่ายเจดีย์เมื่อปี 2015 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | เติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 34°30′06″N 113°00′57″E / 34.50167°N 113.01583°E |
เจดีย์ซงเยว่ (จีน: 嵩岳寺塔; พินอิน: Sōngyuè sìtǎ) เป็นเจดีย์จีนในอารามซงเยว่บนเขาซง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 523[1] ในสมัยราชวงศ์เว่ย์เหนือ และเป็นหนึ่งในไม่กี่เจดีย์จากศตวรรษที่หกในจีนที่ยังคงอยู่ในสภาพดีจนถึงในปัจจุบัน นอกจากนี้ เจดีย์นี้ยังเป็นเจดีย์สร้างด้วยอิฐที่เก่าแก่ที่สุดของจีนที่ยังคงเหลือถึงปัจจุบัน[1] สิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่จากสมัยเดียวกันนั้นสร้างด้วยไม้และสูญหายไปตามกาลเวลา เว้นแต่เพียงป้อมปราการที่ทำจากดินอัด[2][3] ในปี ค.ศ. 2010 เจดีย์นี้ได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในฐานะส่วนหนึ่งของหมู่ปูชนียสถาน "ศูนย์กลางของสวรรค์และโลก" ในนครเติงเฟิง[4]
การเผยแผ่ของศาสนาพุทธมาถึงดินแดนจีนมีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมจีนอย่างมาก ในศตวรรษที่หก ศาสนาพุทธมีอิทธิพลอย่างสูงไปทั่วสังคมจีน และวัฒนธรรมจีนมีการปรับธรรมเนียมให้มีวิถีชีวิตและพิธีกรรมแบบพุทธเป็นส่วนประกอบ[2] สถูปแบบเอเชียใต้ซึ่งเป็นทรงกลมได้รับการแปรสภาพเป็นเจดีย์สูงเพื่อประดิษฐานพระธาตุในใจกลาง[2][3][5] รูปร่างของเจดีย์มีการปรับเปลี่ยนเรื่อยมาจากอินเดียสู่จีน ลักษณะของเจดีย์ซึ่งเป็นรูปหลายเหลี่ยมนั้นเสนอว่าอาจเป็นความพยายามในยุคแรกที่จะควบรวมสถาปัตยกรรมจีนอันประกอบด้วยเส้นตรงและมุมเข้ากับรูปแบบวงกลมของพุทธศาสนสถานจากอินเดีย เส้นผ่านศูนย์กลางของเจดีย์ลดหลั่นลงไปตามความสูง ดังที่พบเช่นเดียวกันในเสาของถ้ำคูหาพุทธในเอเชียกลางและอินเดีย ไปจนถึงเจดีย์ทรงวงกลมในจีน[2]
เจดีย์ซงเยว่มีความโดดเด่นที่แปลนรูปสิบสองเหลี่ยม ความสูง 40 เมตร สร้างขึ้นจากอิฐสีออกเหลืองที่เชื่อมต่อกันด้วยปูนขาวดินเหนียว[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Yetts, 124.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Xinian, Fu (2002). Chinese Architecture -- The Three Kingdoms, Western and Eastern Jin, and Northern and Southern Dynasties (English ed.). Yale University Press. pp. 86, 87, 89. ISBN 0-300-09559-7.
- ↑ 3.0 3.1 "Songyue Temple Pagoda in Dengfeng of Henan Province". china.org.cn. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
- ↑ "Historic Monuments of Dengfeng in "The Center of Heaven and Earth"". UNESCO World Heritage Center.
- ↑ Ching, Francis D.K.; และคณะ (2007). A Global History of Architecture. New York: John Wiley and Sons. p. 275. ISBN 978-0-471-26892-5.
- ↑ Xinian, Fu (2002). Chinese Architecture -- The Three Kingdoms, Western and Eastern Jin, and Northern and Southern Dynasties (English ed.). Yale University Press. pp. 62, 86, 87, 89. ISBN 0-300-09559-7.