เค็นโตะ มิยาอูระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค็นโตะ มิยาอูระ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มเค็นโตะ มิยาอูระ
สัญชาติธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกิด (1999-02-22) กุมภาพันธ์ 22, 1999 (25 ปี)
คูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนสูง1.90 m (6 ft 3 in)
น้ำหนัก87 กก. (191 lb)
กระโดดตบ347 ซม.
บล็อก320 ซม.
มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวาเซดะ
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตบตรงข้าม (Opposite spiker)
สโมสรปัจจุบันเจเท็กโตะ สติงส์
หมายเลข16 (ทีมชาติ)
15 (สโมสร)
ทีมชาติ
2017–2018ทีมชาติญี่ปุ่น U–19
2017ทีมชาติญี่ปุ่น U–21
2019ทีมชาติญี่ปุ่น U–23
2021–presentทีมชาติญี่ปุ่นชุดใหญ่

เค็นโตะ มิยาอูระ (ญี่ปุ่น: 宮浦 健人โรมาจิMiyaura Kento;  เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542) เป็นนักวอลเลย์บอลชาย สัญชาติญี่ปุ่น จากจังหวัดคูมาโมโตะ บนเกาะคีวชู ปัจจุบันเขากำลังเป็นนักวอลเลย์บอลกึ่งอาชีพอยู่ใน ปลุสลีกา ให้แก่สโมสรสตอล นิซ่า นอกจากนี้เขายังเคยรับหน้าที่กัปตันทีมวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี และทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัยวาเซดะ[2][3][4]

อาชีพวอลเลย์บอล[แก้]

ประถมศึกษา[แก้]

เค็นโตะเริ่มต้นเล่นวอลเลย์บอลตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แต่ในขณะนั้นเขามีรูปร่างที่ผอม และขาดพละกำลัง ทำให้เขาได้รับโอกาสลงเล่นในชั้นปีที่ 4 ในฐานะผู้เล่นตัวสำรอง นอกจากนี้เค็นโตะยังถูกบอกอีกว่า "เขาไม่ใช่เอซหรอก"[a][4]

มัธยมศึกษา[แก้]

เค็นโตะได้รับการชักชวนให้มาร่วมสโมสรวอลเลย์บอลระดับยุวชนที่เปิดขึ้นใหม่ ของโรงเรียนมัธยมจินเซย์ [ja],[5] ในขณะนั้นมีผู้เล่นอยู่เพียง 2 คนในสโมสร จึงทำให้ไม่สามารถลงทำการแข่งขันได้ แต่เขาก็ยังคงฝึกซ้อมวอลเลย์บอลทุกวัน

หลังจากนั้น ในระดับมัธยมปลาย เค็นโตะได้รับการรบกวนจากอาการบาดเจ็บ ทำให้เขาจำเป็นต้องถอนตัวออกจากทีม ถัดมาในชั้นมัธยมฯ ปีที่ 5 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นกัปตันทีม แต่เขาก็ยังไม่มีความสามารถมากพอจนเกิดปัญหาต่าง ๆ ซึ่งนั่นกลายเป็นช่วงเวลาที่ยากในชีวิตวอลเลย์บอลของเค็นโตะ จนคิดที่อยากจะเลิกเล่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความลำบากนั้นทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เค็นโตะและทีมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016 ซึ่งส่งผลกระทบให้สถานที่ฝึกซ้อมต้องปิดลง และเขาได้สถานที่ฝึกซ้อมใหม่หลังจากผ่านไปประมาณ 1 เดือน แต่สภาพแวดล้อมก็ไม่เอื้ออำนวยมากนัก และนั่นทำให้ทีมของเขาชนะเพียงตำแหน่งรองชนะเลิศใน'การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์มัธยมปลายทั่วประเทศญี่ปุ่น [en] (ฮารุโค)[4]

มหาวิทยาลัย[แก้]

หลังจากจบการศึกษาจากระดับมัธยมปลาย เค็นโตะตัดสินใจเข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ซึ่งมีสโมสรวอลเลย์บอลที่มีชื่อเสียง ถัดจากนั้นเขาถูกเรียกตัวเข้าทีมชาติญี่ปุ่น รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี เป็นครั้งแรก และได้รับหน้าที่เป็นกัปตันทีมอีกด้วย ในปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัย เขาตระหนักถึงความสำคัญของสภาพร่างกาย นั่นจึงทำให้เขาเริ่มออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง พร้อมกับการปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของทีมเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ นอกเหนือจากนั้น เขายังเปลี่ยนรูปแบบการเสิร์ฟ จากการยืนเสิร์ฟไปเป็นแบบกระโดดเสิร์ฟ และนั่นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของทีมอีกด้วย ซึ่งในปีถัดมา เค็นโตะก็ได้กลายเป็นผู้เสิร์ฟความหวังของทีม[4]

เค็นโตะได้ถูกเรียกตัวเข้าติดทีมชาติชุดเยาวชนในทุกรุ่นอายุ ตั้งแต่อายุไม่เกิน 19 ปี, รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ในปีค.ศ. 2017,[6][7] รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี และชุดมหาวิทยาลัยโลกในปี 2019 ตามลำดับ[8][9][10]

ในชั้นปีสุดท้่าย เขาได้เป็นกัปตันของทีม และพาทีมชนะใน การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศญี่ปุ่น [en] ซึ่งนั่นทำให้กลายเป็นแชมป์ปีที่ 5 ติดต่อกันของรายการ[4] หลังจากนั้น วี.ลีก ฤดูกาล 2020–21 เขาได้เข้าร่วมกับสโมสร เจเท็กโตะ สติงส์ ซึ่งอยู่ในลีกระดับสูงสุดของประเทศ[11][12]

อาชีพ และทีมชาติชุดใหญ่[แก้]

ฤดูกาล 2020–21[แก้]

ในปีค.ศ. 2021 เค็นโตะได้ถูกเรียกตัวติดทีมชาติชุดใหญ่ เป็นครั้งแรกในชีวิต[13][14] และการแข่งขันแรกในระดับชุดใหญ่ของเขาคือรายการ วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย 2021[15]ทีมชาติญี่ปุ่นจบในตำแหน่งรองชนะเลิศ โดยเขาทำแต้มไปทั้งหมด 76 คะแนน และได้รับรางวัล Best Opposite Spiker (ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม)[16][17][18]

ในวันที่ 15 เดือนตุลาคม เค็นโตะได้ลงเล่นเต็มการแข่งขันในฐานะผู้เล่นตั้วจริงเป็นครั้งแรกในวี.ลีก พบกับสโมสร เจที ธันเดอร์ โดยเจเท็กโตะ สติงส์ แพ้ไป 1–3 เซ็ต[19] และเขาได้กลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญของทีมหลังจากได้ช่วยทำคะแนน จนเป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุดในเกือบทุกแมตช์ที่ลงเล่น

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2022 ขณะนั้นเจเท็กโตะอยู่ที่อันดับ 7 ของตาราง หลังจากแพ้ไป 5 แมตช์ติดต่อกัน โดยในวันนั้นเค็นโตะได้ช่วยทีมให้ชนะสโมสร โทเรย์แอร์โรส์ ด้วยคะแนน 3–1 เซ็ตในบ้าน[20][21] อีกทั้งยังเขายังเป็นผู้ที่ทำคะแนนสูงสุดด้วยคะแนน 30 แต้ม หลังจบเกมเขาถึงขนาดนั่งลงร้องไห้กับชัยชนะนั้น[22]

เจเท็กโตะ สติงส์ จบฤดูกาลด้วยอันกับที่ 7 ของตาราง โดยเค็นโตะอยู่ที่อันดับ 5 ของผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุดตลอดฤดูกาล และสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในบรรดาผู้เล่นสัญชาติญี่ปุ่น ด้วยคะแนน 651 แต้ม[23]

ฤดูกาล 2022–23[แก้]

เค็นโตะได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมชาติญี่ปุ่น 2 ปีติดต่อกัน และเขาได้เข้าร่วมในการแข่งขัน วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2022 ในสัปดาห์แรกเขาได้ลงเล่นในฐานะผู้เล่นตัวจริง ในแมตช์ที่พบกับ ทีมชาติสหรัฐ โดยทีมชาติญี่ปุ่นแพ้ไป 3–0 เซ็ต และเขาทำแต้มไปทั้งหมด 20 คะแนน[24][25] หลังจากนั้น เขาได้ลงเล่นเป็นผู้เล่นตัวจริงอีกครั้งในแมตช์ที่พบกับ ทีมชาติเยอรมนี โดยญี่ปุ่นชนะไป 1–3 เซ็ต อีกทั้งเขายังทำคะแนนสูงสุดให้กับทีม 17 คะแนน รวมไปด้วย 15 คะแนนจากการบุก และ 2 คะแนนจากการเสิร์ฟ[26]

สโมสร[แก้]

ทีมชาติ[แก้]

รางวัล[แก้]

ส่วนบุคคล[แก้]

สโมสร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "第6回アジアカップ". JVA.
  2. "第11回アジアユース男子選手権大会(U-19)". JVA.
  3. "第19回アジアジュニア男子選手権大会(U-20)". JVA.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "【連載】『令和2年度卒業記念特集』第29回 宮浦健人/男子バレーボール" (ภาษาญี่ปุ่น). wasedasports. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  5. 5.0 5.1 "宮浦健人選手のバレー歴". jtekt-stings.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-29. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  6. 6.0 6.1 "第11回アジアユース男子選手権大会(U-19)-日本代表メンバー". JVA.
  7. 7.0 7.1 "第19回世界ジュニア男子選手権大会(U-21) -日本代表メンバー". jva.or.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
  8. 8.0 8.1 "第3回アジアU23男子選手権大会出場選手" (PDF). JVA.
  9. "第3回アジアU23男子選手権". JVA.
  10. 10.0 10.1 "第30回ユニバーシアード競技大会(2019/ナポリ)男子バレーボール競技 -日本代表メンバー". jva.or.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
  11. 11.0 11.1 "Kento Miyaura from FIVB". FIVB.
  12. "卒業後の進路" (ภาษาญี่ปุ่น). wasedavolley.org. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  13. 13.0 13.1 "2021年度男子日本代表チーム 選手・監督・スタッフ". JVA.
  14. "男子バレー 初代表の福山汰一&宮浦健人らが生き残りを懸けアピール" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  15. "第21回アジア男子選手権大会 - 日本代表メンバー" (ภาษาญี่ปุ่น). jva.or.jp. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  16. 16.0 16.1 "DAILY BULLETIN No.8" (PDF). asianvolleyball.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-21. สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
  17. "【バレー】男子日本代表・宮浦健人インタビュー「昨シーズンのアジア選手権に比べたらかなり成長をしていると思うので自信を持ってやりたい」" (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo! Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  18. "男子バレー界の次世代エース オポジット宮浦健人 西田有志不在で現れた新星" (ภาษาญี่ปุ่น). nishinippon.co.jp. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  19. "Breaking news of match results - Report B". vleague.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-18. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
  20. "試合会場レポート Report A" (ภาษาญี่ปุ่น). JVA. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  21. "試合結果速報 Report B" (ภาษาญี่ปุ่น). JVA. 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  22. "男子バレー左の新エースはルーキー宮浦健人。ユース代表で控えだった西田有志の活躍に「僕も負けない」 - 【パリ五輪へ「現状維持ではいけない」】" (ภาษาญี่ปุ่น). sportiva.shueisha.co.jp. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  23. "総得点". vleague.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  24. "FIVB Volleyball Nations League - Men P2 Match Result". fivb.org (ภาษาอังกฤษ). 10 June 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  25. "【男子バレー】初スタメン宮浦健人が20得点も日本は2-3で米国に敗北。敵将も「非常に良いプレーをしていた」と賛辞!" (ภาษาญี่ปุ่น). thedigestweb.com. 11 June 2022. สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  26. "FIVB Volleyball Nations League - Men P2 match result". fivb.org (ภาษาอังกฤษ). FIVB. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
  27. "Kento Miyaura from FIVB". FIVB.
  28. "Bahrain dominate - Japan and Iran post big wins opening day of Asian U20 volleyball" (PDF). newsofbahrain. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  29. "Miyaura MVP". FIVB. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
  30. "早稲田主将・宮浦健人 4連覇がかかった未知数のインカレ「全てを出し尽くす」" (ภาษาญี่ปุ่น). 4years. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  31. "全日本インカレ「組織として日本一」を目指した早稲田大が4連覇を達成" (ภาษาญี่ปุ่น). vbnext. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-11. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  32. "令和2年度 天皇杯・皇后杯 全日本バレーボール選手権大会 ファイナルラウンド組み合わせ(男子)" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). tk2020.jva.or.jp. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  33. "Men's final round -pdf.form A" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). tk2020.jva.or.jp. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  34. "Men's final round -pdf.form B" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). tk2020.jva.or.jp. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.

หมายเหตุ[แก้]

  1. เอซ (อังกฤษ: ace) หมายถึง ผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักของทีม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า เค็นโตะ มิยาอูระ ถัดไป
รางวัล
อิหร่าน อาเมียร์ กาโฟร์ [en] ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม (Best Opposite Spiker)
วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย

(2021)
รอประกาศ