เค็งโงะ คูมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค็งโงะ คูมะ
隈 研吾
เค็งโงะ คูมะ เมื่อปี 2014
เกิดค.ศ. 1954 (อายุ 69–70 ปี)
โยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ศิษย์เก่า

เค็งโงะ คูมะ (ญี่ปุ่น: 隈 研吾โรมาจิKuma Kengo; เกิดปี 1954) เป็นสถาปนิกชาวญี่ปุ่น และอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว คูมะมักได้รับการเปรียบเปรยกับสถาปนิกร่วมสมัยอย่างชิเงรุ บังและคาซูโยะ เซจิมะ รวมถึงยังมีผลงานเขียนที่โดดเด่น ผลงานออกแบบสำคัญของเขารวมถึงสนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่นในโตเกียวที่สร้างขึ้นสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020[1]

การงาน[แก้]

ในปี 1987 คูมะก่อตั้งสตูดิโอออกแบบสปาเชียล (Spatial Design Studio) และในปี 1990 ได้ก่อตั้งบริษัท Kengo Kuma & Associates เขาเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ และมหาวิทยาลัยเคโอ ที่ซึ่งในปี 2008 เขาได้รับวุฒิ Ph.D. ในสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์[2] ขณะเป็นศาสตราจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว เขาได้ทำงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม, การเป็นนครและการออกแบบในห้องทดลองส่วนตัวของเขาที่ชื่อ คูมะแล็บ (Kuma Lab)[3] บริษัท Kengo Kuma & Associates ของเขาตั้งอยู่ในโตเกียว จีน และปารีส มีพนักงานเป็นสถาปนิกอยู่กว่า 300 คน และผลืตผลงานออกแบบหลากหลายระดับในทั่วโลก

ปรัชญา[แก้]

คูมะระบุว่าเป้าหมายของเขาคือการฟื้นฟูธรรมเนียมของสิ่งปลูกสร้างแบบญี่ปุ่น และเพื่อตีความใหม่ (reinterpret) ธรรมเนียมเหล่านี้ให้เข้ากับบริบทของศตวรรษที่ 21 ในปี 1997 เขาชนะรางวัลจากสถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์ญี่ปุ่น และในปี 2009 ได้รับการแต่งตั้งเป็น Officier de L'Ordre des Arts et des Lettres ในฝรั่งเศส คูมะบรรยายและเขียนหนังสือกับบทความจำนวนมากที่พูดคุยและวิจารณ์การเข้าใจ (approaches) สถาปัตยกรรมร่วมสมัย เอกสารงานสัมมนา Anti-Object: The Dissolution and Disintegration of Architecture เขียนในปี 2008 ได้เรียกร้องถึงสถาปัตยกรรมแห่งความเชื่อมโยง, การเคารพสิ่งรอบข้างแทนที่จะข่มพวกมัน

คูมะเคยระบุถึงหลักปรัชญาในการออกแบบว่า "คุณอาจจะกล่าวว่าเป้าหมายของผมคือการ 'ฟื้นฟูที่นั่น' ("to recover the place") สถานที่นั้นเป็นผลของธรรมชาติและเวลา; นี่เป็นมุมมองที่สำคัญที่สุด" เขามองงานออกแบบของตนเองว่าเป๋น "ออกไปทางการจับธรรมชาติมาใส่กรอบ (some kind of frame of nature) ที่ซึ่งเราสามารถนำธรรมชาติมาทดลองให้ลึกซึ้ง และให้เราเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น" เขาระบุถึงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นว่า "[มี]ลักษณะคือความโปร่ง (Transparency) [...] ผมพยายามใช้แสงและวัสดุจากธรรมชาติเพื่อสร้างความโปร่งแบบใหม่ (new kind of transparency)” [4]

นอกจากนี้คูมะยังนิยมทำงานร่วมกับช่างฝีมือญี่ปุ่นทั้งทางด้านไม้และวัสดุอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานของคูมะในปี 2016 ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมยั่งยืนโลก[5]

โครงการ[แก้]

โครงการชิ้นสำคัญของคูมะได้แก่พิพิธภัณฑ์ศิลปะซันโตรี่ (Suntory Museum of Art) โตเกียว, บ้านผนังไผ่ (Bamboo Wall House) จีน, สำนักงานใหญ่บริษัทเครือ LVMH (Louis Vuitton Moet Hennessy) ญี่ปุ่น, Besançon Art Center ฝรั่งเศส, และสปาของแมนดารินโอเรียนเต็ลที่ Dellis Cay ในหมู่เกาะแคริบเบียน[6]

ผลงานสำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Self, Jack (April 2013). "Kuma Chameleon". สืบค้นเมื่อ 5 May 2015.
  2. "Kuma Kengo 隈 研吾". Kengo Kuma and Associates. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  3. "Kuma-lab_about". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-30. สืบค้นเมื่อ 2013-03-07.
  4. Bognar, B. (2009). Material Immaterial: The New Work of Kengo Kuma. New York: Princeton Architectural Press.
  5. Contal, Marie-Hélène; Revedin, Jana (May 2017). Sustainable Design 5, Vers une nouvelle éthique pour l'architecture et la ville / Towards a new ethics for architecture and the city. Paris: Éditions Alternatives / Cité de l'architecture & du patrimoine. ISBN 978-2-072-718-649.
  6. Mandarin Oriental Dellis Cay เก็บถาวร 2011-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  7. Morkis, Stefan (2011-03-28). "V&A museum architect Kengo Kuma to give Dundee lecture". The Courier. Dundee, Scotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-14. สืบค้นเมื่อ 2011-10-30.
  8. "Meme Meadows Experimental House".
  9. "The Wisdom Tea House - interview - Domus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-02-04.
  10. Osumi, Magdalena (28 December 2015). "Seibu to debut dinner trains featuring local fare on its scenic Chichibu Line from spring". The Japan Times. Japan: The Japan Times Ltd. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  11. "Misono-Za | Kengo Kuma and Associates".
  12. "Kengo Kuma revives Japan's historic theatre with black square tiles creating motif on the façade".
  13. Briginshaw, David (2020-03-17). "JR East opens Takanawa Gateway station". railjournal.com. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  14. "Japan's New Kadokawa Culture Museum is Housed in an Angular, Granite Structure Designed by Kengo Kuma". 21 July 2020.
  15. "1550 Alberni | Westbank Corp". westbankcorp.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-28. สืบค้นเมื่อ 2017-12-28.
  16. "1550 Alberni Street Tower". kkaa.co.jp (ภาษาอังกฤษ และ ญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  17. "Kigumi Table". einszueins.design (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
  18. "Under One Roof / Kengo Kuma & Associates". 14 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]