เคร์ต วิลเดิร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เคร์ต วิลเดร์ส)
เคร์ต วิลเดิร์ส
วิลเดิร์สใน ค.ศ. 2014
หัวหน้าพรรคเพื่อเสรีภาพ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006
ก่อนหน้าจัดตั้งตำแหน่ง
หัวหน้าพรรคเพื่อเสรีภาพ
ในสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006
ก่อนหน้าจัดตั้งตำแหน่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กรกฎาคม ค.ศ. 2002
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม ค.ศ. 1998 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2002
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1963-09-06) 6 กันยายน ค.ศ. 1963 (60 ปี)
เวนโล ประเทศเนเธอร์แลนด์
เชื้อชาติดัตช์
พรรคการเมืองพรรคเพื่อเสรีภาพ (ค.ศ. 2006 – ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989–2004)
อิสระ (ค.ศ. 2004–2006)
คู่สมรสKrisztina Márfai (สมรส 1992)
ที่อยู่อาศัยเดอะเฮก
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเปิด

เคร์ต วิลเดิร์ส (ดัตช์: Geert Wilders; เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1963) เป็นนักการเมืองชาวดัตช์ เขาเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อเสรีภาพ (Partij voor de Vrijheid – PVV) ตั้งแต่เขาก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2006[1][2] เขาเป็นที่รู้จักจากการวิจารณ์ศาสนาอิสลามและสหภาพยุโรป[3] มุมมองของเขาทำให้กลายเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในเนเธอร์แลนด์และต่างประเทศ โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 เขาต้องได้รับการคุ้มกันจากตำรวจติดอาวุธตลอดเวลา[4]

วิลเดิร์สได้รณรงค์ให้หยุดในสิ่งที่เขามองเป็น "อิสลามานุวัตรของเนเธอร์แลนด์" เขาเทียบอัลกุรอานด้วยไมน์คัมพฟ์ และรณรงค์ให้แบนหนังสือนี้ในประเทศเนเธอร์แลนด์[5][6] เขาสนับสนุนให้หยุดผู้อพยพจากประเทศมุสลิม[5][7] และสนับสนุนให้ห้ามสร้างมัสยิดใหม่[8] ภาพยนตร์ที่แสดงข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศาสนาอิสลามในมุมมองของเขาชื่อ ฟิตนะฮ์ ซึ่งเผยแพร่ใน ค.ศ. 2008 ได้รับความสนใจจากนานาชาติและมีเสียงวิจารณ์อย่างรุนแรง พรรคของเขาก็ถูกฟ้องร้องเนื่องจากมีการใช้เนื้อหาในภาพยนตร์ของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต[9] สื่อกล่าวถึงเขาเป็นผู้อิงสามัญชน[10][11][12] และระบุเป็นพวกขวาจัด[13][14][15] เขาปฏิเสธที่ถูกระบุเป็นผู้มีมุมมองฝ่ายขวาจัด และมองตนเองเป็นพวกเสรีนิยมฝ่ายขวา และยังกล่าวอีกว่าตนไม่ต้องการที่จะ "ถูกเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มฟาสซิสต์ฝ่ายขวาที่ผิด"[16]

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ[แก้]

วิลเดิร์สเริ่มอาชีพทางการเมืองภายใต้ที่ปรึกษาชื่อ Frits Bolkestein

วิลเดิร์สเกิดในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1963 ที่นครเวนโล จังหวัดลิมบืร์ค[17] เขาเป็นลูกคนสุดท้องจากลูก ๆ 4 คน[18] และเติบโตในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เขาเป็นลูกของพ่อชาวดัตช์และแม่ที่เกิดในอินโดนีเซียสมัยอาณานิคม[19][20] ซึ่งมีภูมิหลังผสมระหว่างดัตช์กับอินโดนีเซีย[21][22] พ่อของเขาทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทผลิตสิ่งพิมพ์และถ่ายเอกสารของ Océ[23] และซ่อนตัวจากพวกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชอกช้ำมากจนแม้แต่หลังจากนั้นไป 40 ปี เขาก็ยังคงปฏิเสธที่จะเข้าประเทศเยอรมนี[24]

เป้าหมายของวิลเดิร์สหลังจบการศึกษาจากโรงเรียนชั้นมัธยมคือเห็นโลก เนื่องจากเขาไม่มีเงินมากพอที่จะเดินทางไปออสเตรเลีย (สถานที่ที่เขาอยากไป) เขาจึงเดินทางไปอิสราเอลแทน[24] และอาสาสมัครที่โมชาฟ Tomer ในเวสต์แบงก์ปีหนึ่ง[25] เขาเดินทางไปยังประเทศอาหรับเพื่อนบ้านด้วยเงินที่มีและได้รับแรงกระตุ้นจากการที่ภูมิภาคนี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เมื่อเขากลับเนเธอร์แลนด์ เขายังคงความคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายของอิสราเอล และ "ความรู้สึกพิเศษของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน" ให้แก่ประเทศ[26]

เดิมเขาทำงานในอุตสาหกรรมประกันสุขภาพ โดยอาศัยที่ยูเทรกต์ ความสนใจในหัวข้อนี้ทำให้เขาเข้าสู่วงการการเมืองในฐานะนักเขียนสุนทรพจน์ของพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย[24][27]

ตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

มุมมองเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม[แก้]

วิลเดิร์สเป็นที่รู้จักจากการวิจารณ์ศาสนาอิสลาม โดยสรุปความเห็นของเขาด้วยคำพูดว่า "ผมไม่ได้เกลียดมุสลิม ผมเกลียดอิสลาม"[3] Paul พี่ชายของเขา กล่าวอ้างในการให้สัมภาษณ์ว่า ในเรื่องส่วนตัวของเขา วิลเดิร์สไม่มีปัญหากับชาวมุสลิม[28] ถึงแม้ว่าเขาระบุกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงเป็นมุสลิมเพียง 5–15% จากทั้งหมด[29] เขาโต้แย้งว่า "ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า 'อิสลามสายกลาง'" และ "กุรอานยังระบุว่ามุสลิมที่เชื่อกุรอานเพียงบางส่วนถือเป็นพวกนอกศาสนา"[30] เขากล่าวแนะให้มุสลิมควร "ฉีกกุรอานครึ่งหนึ่งถ้าพวกเขาต้องการที่จะอยู่ในเนเธอร์แลนด์" เพราะมันมี "สิ่งที่ไม่ดี" และมุฮัมมัด "... ในสมัยนี้อาจถูกตามล่าในฐานะผู้ก่อการร้าย"[31]

ณ วันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 วิลเดิร์สมีความคิดเห็นในจดหมายเปิดผนึก[32]ที่อยู่ใน De Volkskrant หนังสือพิมพ์ดัตช์ ว่ากุรอาน (ซึ่งเขาเรียกว่า "หนังสือฟาสซิสต์") ควรทำให้เป็นหนังสือนอกกฎหมายในเนเธอร์แลนด์เหมือนกับ ไมน์คัมพฟ์ ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[33] เขาระบุว่า "หนังสือนี้ยุยงให้เกิดความเกลียดชังและการเข่นฆ่า จึงไม่มีที่ยืนในทางกฎหมายของเรา.[34] เขายังกล่าวถึงมุฮัมมัดเป็น "มารร้าย"[25] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 วิลเดิร์สเสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า "ภาษีผ้าเช็ดหัว" ต่อฮิญาบที่หญิงมุสลิมสวมใส่ เขากล่าวแนะว่าผู้หญิงควรจ่ายใบอนุญาต 1000 ยูโร และนำเงินเหล่านั้นไปใช้ในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการปลดปล่อยให้เป็นอิสระของผู้หญิง (women's emancipation)[35][36]

มุมมองเกี่ยวกับอิสราเอล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Castle, Stephen (5 August 2010). "Dutch Opponent of Muslims Gains Ground". The New York Times. Netherlands. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  2. Mock, Vanessa (11 June 2010). "Wilders makes shock gains in Dutch elections". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 June 2010.
  3. 3.0 3.1 Traynor, Ian (17 February 2008). "'I don't hate Muslims. I hate Islam,' says Holland's rising political star". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2013. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009.
  4. Wilders kan zich vrijheid nauwelijks herinneren NOS, 4 May 2015;
  5. 5.0 5.1 Surge for Dutch anti-Islam Freedom Party, BBC News, 10 June 2010.
  6. "Nancy Graham Holm: Three Questions to Ask Geert Wilders about Anti-Islam Hate Speech". Huffington Post. USA. 22 April 2011. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  7. Hardy, Roger (28 April 2010). "Dutch Muslim women striving to integrate". BBC News. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 18 July 2014. Mr Wilders wants the authorities to halt all immigration from Muslim countries.
  8. Robert Marquand. "Dutch voters boost far-right party of Geert Wilders", The Christian Science Monitor, 10 June 2010.
  9. "JP-tegner klar til sag mod Wilders" (ภาษาเดนมาร์ก). สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  10. West, Ed (30 January 2010). "Geert Wilders is not 'far Right'". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 18 June 2010.
  11. "Dutch populist Wilders 'unwelcome' in Eifel town". Thelocal.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2010. สืบค้นเมื่อ 18 June 2010.
  12. "Rechtspopulist Wilders in Monschau nicht willkommen". General-anzeiger-bonn.de. 16 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 June 2010.
  13. Rothwell, James (15 March 2017). "Dutch election: Polls open as far-right candidate Geert Wilders takes on Mark Rutte". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017.
  14. "Geert Wilders, Dutch Far-Right Leader, Is Convicted of Inciting Discrimination". The New York Times. 9 December 2016.
  15. Gosden, Emily (11 February 2009). "Far-right Dutch MP Geert Wilders vows to defy UK ban". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009.
  16. "In quotes: Geert Wilders". BBC. 4 October 2010. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
  17. Vossen, Koen (12 August 2016). The Power of Populism: Geert Wilders and the Party for Freedom in the Netherlands (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. p. 1. ISBN 978-1-317-29290-6.
  18. Tyler, John (24 January 2008). "Geert Wilders: Pushing the envelope". Radio Netherlands Worldwide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2007. สืบค้นเมื่อ 15 March 2008.
  19. Lizzy van Leeuwen (2 September 2009). "Wreker van zijn Indische grootouders" (ภาษาดัตช์). De Groene Amsterdammer. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
  20. Bert Bukman (6 January 2012). "Waarom is het haar van Geert Wilders blond?". De Volkskrant (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
  21. "Geert Wilders' Indonesian roots define his politics, says anthropologist". Vorige.nrc.nl. 4 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  22. "Iran Warns Netherlands Not to Air Controversial 'Anti-Muslim' Film". Fox News Channel. 21 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2009. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009.
  23. "G. Wilders – Parlement & Politiek" (ภาษาดัตช์). Parlement.com. สืบค้นเมื่อ 24 March 2008.
  24. 24.0 24.1 24.2 Traufetter, Gerald (27 March 2008). "A Missionary with Dark Visions". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009.
  25. 25.0 25.1 Liphshiz, Cnaan (29 April 2014). "Geert Wilders and Dutch Jews – end of the affair?". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 12 March 2017.
  26. "Verliefd op Israël". De Volkskrant (ภาษาดัตช์). 10 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 21 June 2009.
  27. Kirby, Paul (27 March 2008). "Profile: Geert Wilders". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 March 2009.
  28. Stefanie March (16 March 2017). "'This Is Exactly What He Wants': How Geert Wilders Won by Losing". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2018. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  29. Sackur, Steven (22 March 2006). "Geert Wilders". HARDtalk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2008. สืบค้นเมื่อ 30 March 2008.
  30. "Mr Wilderss contribution to the parliamentary debate on Islamic activism". Groep Wilders. 6 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2008. สืบค้นเมื่อ 15 March 2009.
  31. Waterfield, Bruno (14 August 2007). "Ban Koran like Mein Kampf, says Dutch MP". The Daily Telegraph. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2010. สืบค้นเมื่อ 24 March 2008.
  32. Wilders, Geert (8 August 2007). "Genoeg is genoeg: verbied de Koran". De Volkskrant (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2008. สืบค้นเมื่อ 24 March 2008.
  33. "Wilders: verbied de Koran, ook in moskee". De Volkskrant (ภาษาดัตช์). 8 August 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2007. สืบค้นเมื่อ 8 August 2007.
  34. den Boer, Nicolien (8 January 2007). "'Qur'an should be banned' – Wilders strikes again". Radio Netherlands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2008. สืบค้นเมื่อ 24 March 2008.
  35. "Speech by Geert Wilders on the first day of the General Debate in the Dutch parliament". geertwilders.nl. 18 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2011.
  36. John Tyler (16 September 2009). "Wilders wants headscarf tax". RNW. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 27 January 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]