เครื่องฉายข้ามศีรษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องฉายกำลังใช้งานระหว่างบทเรียนชั้นเรียนหนึ่ง

เครื่องฉายข้ามศีรษะ (อังกฤษ: overhead projector) เป็นเครื่องฉายระบบฉายอ้อม ทำงานผ่านแผ่นสะท้อนแสงสะท้อนไปมา จนเกิดเป็นภาพขึ้น เครื่องฉายข้ามศีรษะต้องฉายควบคู่กับแผ่นใสเท่านั้น ไม่สามารถใช้กระดาษชนิดอื่นได้ เครื่องฉายนี้มีจุดเด่นตรงที่สามารถฉายได้ทั้งในที่มืดและที่สว่าง แม้มีแสงมากก็ตาม[1][2] เครื่องฉายข้ามศีรษะถูกประดิษฐ์ครั้งแรกขึ้นราวคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ฌูลส์ ดูบอสก์[3]

ส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ[แก้]

  • หลอดฉาย หรือ หลอดฮาโลเจน (Projection Lamp) อยู่ภายในเครื่อง มีกำลังส่องสว่างประมาณ 250-600 วัตต์ ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากหลอดฉายขึ้นไป ช่วยให้แสงมีความเข้มมากขึ้น
  • แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) ช่วยสะท้อนแสงจากด้านหลังกระทบที่วัสดุฉาย ทำให้เพิ่มความเข้มของแสงสว่างให้กับหลอดฉาย
  • เลนส์รวมแสง(Condenser Lens) ทำหน้าที่รวมหรือบีบแสงให้มีความเข้มมากขึ้น
  • เลนส์เกลียแสง หรือ เลนส์เฟรสนัล (Fresnel lens) เป็นเลนส์ชนิดพิเศษเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมีร่องวงกลมคล้ายแผ่นเสียง ทำหน้าที่เกลี่ยแสงจากหลอดฉายให้เสมอกัน
  • แท่นกระจกวางโปร่งใส (Transparency Table) เป็นกระจกธรรมดา ช่วยกรองความร้อนไม่ให้ผ่านมายังแผ่นโปร่งใสมากเกินไป อาจจะทำให้แผ่นโปร่งใสเสียหายได้
  • เลนส์ฉายภาพ (Projection Lens) เป็นชุดของเลนส์นูน อยู่ด้านบนของหัวฉาย ทำหน้าที่ฉายวัสดุให้มีขนาดใหญ่ไปฉายบนหน้าจอ
  • กระจกเงาสะท้อนภาพ หรือ กระจกเอน (Tilt Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนภาพจากแนวนอนไปสู่แนวตั้ง อยู่ด้านบนของหัวฉาย
  • ปุ่มปรับความชัด (Focusing Knob) ใช้สำหรับหมุนเพื่อให้เลนส์ฉายเลื่อนขึ้นเลื่อนลง เพื่อให้ภาพได้ระยะความชัดที่พอดี ทำให้ภาพความคมชัด ภาพไม่เบลอ
  • พัดลม (Fan) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากเครื่อง
  • สวิตซ์เปิด-ปิดไฟ
  • ปุ่มปรับกระจกเอนเหนือเลนส์ฉาย (Mirror Tilt Knob)
  • แขนตั้งสำหรับเลื่อนเลนส์ฉายขึ้นลง (Head Support)

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.oocities.org/edtechno4813/thanakorn/thanakorn2.html
  2. http://project.chan.rmutto.ac.th/2552/fixtools/page/overhead.html[ลิงก์เสีย]
  3. "Overhead Projectors". National Museum of American History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-07. สืบค้นเมื่อ 67 January 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)