เครื่องกำเนิดสัญญาณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องกำเนิดสัญญาณ รุ่น Leader LSG-15

เครื่องกำเนิดสัญญาณ (อังกฤษ: Signal generator) คือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่สร้างสัญญาณไฟฟ้าโดยมีแอมพลิจูด, ความถี่ และรูปคลื่น โดยสัญญานที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นตัวกระตุ้นสำหรับการวัดค่าทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการออกแบบ, ทดสอบ, แก้ปัญหา และ ซ่อมแซมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เสียหาย กระนั้นบางครั้งสัญญาณดังกล่าวก็สามารถนำไปใช้เพื่อทำผลงานศิลปะได้เช่นกัน[1]

เครื่องกำเนิดสัญญาณมีอยู่หลายประเภท มีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไป และมีราคาที่แตกต่างเช่นกัน ประเภทของเครื่องกำเนิดสัญญาณ ประกอบด้วย เครื่องกำเนิดสัญญาณรูปคลื่นไฟฟ้า (Function generator), เครื่องกำเนิดสัญญานคลื่น RF และ คลื่นไมโครเวฟ, เครื่องกําเนิดสัญญาณความถี่เสียง (Tone generator), เครื่องกำเนิดสัญญาณคลื่นตามต้องการ (Arbitrary Waveform Generator), เครื่องกำเนิดสัญญาณดิจิตัล (Digital pattern generator) และเครื่องกำเนิดคลื่นความถี่ (Frequency generator) โดยปรกติแล้วไม่มีเครื่องกำเนิดสัญญาณที่เหมาะสมกับงานทุกอย่าง

เครื่องกำเนิดสัญญาณอาจมีความเรียบง่ายแบบออสซิลเลเตอร์ (Oscillator) ที่สามาตรสอบเทียบความถี่และแอมพลิจูดของสัญญาน ไปจนถึงเครื่องกำเนิดสัญญาณสำหรับการใข้งานทั่วไปที่ควบคุมคุณสมบัติของสัญญาณทั้งหมดได้ เครื่องกำเนิดสัญญาณสำหรับการใข้งานทั่วไปที่ทันสมัยจะมีไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) สำหรับควบคุม และ อนุญาตให้ควบคุมสัญญาณได้จากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เครื่องกำเนิดสัญญาณอาจเป็นเครื่องมือเฉพาะสำหรับกำเนิดสัญญาณ หรือเป็นส่วนประกอบของระบบทดสอบอัตโนมัติที่ซับซ้อน

ประวัติศาสตร์[แก้]

เครื่องกำเนิดสัญญาณที่มีการวางจำหน่ายเครื่องแรกชื่อว่า "General Radio 403"[2] ผลิตโดย บริษัท เจเนรัล เรดิโอ จำกัด (General Radio)ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1928 (ปี พ.ศ.2471) มีช่วงคลื่นความถึ่อยู่ที่ 500 เฮิร์ซ ถึง 1.5 เมกะเฮิร์ซ และในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1929 (ปี พ.ศ.2475) มีการวางจำหน่ายเครื่องส่งสัญญาณความถี่มาตรฐาน ซึ่งเป็นเครื่องสั่นที่เสถียรซึ่งใช้สำหรับการสอบเทียบหรือการอ้างอิงความถี่ (Frequency standard) โดยบริษัท เจเนรัล เรดิโอ จำกัด ด้วยความถี่ที่ 50 กิโลเฮิร์ซ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "What is a Signal Generator? เก็บถาวร 2020-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Tektronix. สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ.2020
  2. Burke, C.T. (Nov–Dec 1935). "The General Radio Company - No. 5 of a Series of Instrument Company Histories" (PDF). The Instrument Maker. Archived (PDF) จากต้นฉบับ สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ.2020
  3. Thiessen, Arthur (1965). "A History of the General Radio Company 1915-1965" (PDF). General Radio. Archived (PDF) สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ.2020