เขตเยว่ซิ่ว
เยว่ซิ่ว 越秀区 | |
---|---|
รูปปั้นแกะห้าตัวในสวนสาธารณะเยว่ซิ่ว | |
![]() | |
![]() เขตเยว่ซิ่วในกว่างโจว | |
พิกัด: 23°08′13″N 113°15′29″E / 23.137°N 113.258°E | |
ประเทศ | จีน |
มณฑล | กวางตุ้ง |
นครระดับกิ่งมณฑล | กว่างโจว |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 33.8 ตร.กม. (13.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2020[1]) | |
• ทั้งหมด | 1,038,643 คน |
• ความหนาแน่น | 31,000 คน/ตร.กม. (80,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (มาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 510030 |
รหัสพื้นที่ | 020 |
เว็บไซต์ | www |
เขตเยว่ซิ่ว | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 越秀区 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 越秀區 | ||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | jyut6 sau3 keoi1 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Yuèxiù Qū | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 越秀 | ||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | jyut6 sau3 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Yuèxiù | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2) | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 东山 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 東山 | ||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | dung1 saan1 | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Dōngshān | ||||||||||||||
|
เขตเยว่ซิ่ว (จีน: 越秀区; พินอิน: Yuèxiù Qū) เป็นหนึ่งในสิบเอ็ดเขตของนครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตเทียนเหอทางทิศตะวันออกโดยมีถนนกว่างโจวกั้น ติดต่อกับเขตไฮ่จูทางทิศใต้โดยมีแม่น้ำจูกั้น ติดต่อกับเขตลี่วานทางทิศตะวันตกโดยมีถนนเหรินหมินกั้น และอยู่ติดเชิงเขาไป๋ยฺหวินทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ของเขตไป๋ยฺหวิน[2] ชื่อเยว่ซิ่วมาจากภูเขาเยว่ซิ่วในพื้นที่ เขตเยว่ซิ่วเป็นที่ตั้งของรัฐบาลมณฑลกวางตุ้งและรัฐบาลนครกว่างโจว ประกอบด้วย 18 ตำบล พื้นที่รวม 33.8 ตารางกิโลเมตร (13.1 ตารางไมล์)[2] ตามสำมะโนประชากรจีนปี 2020 ประชากรถาวรของเขตเยว่ซิ่วมีจำนวน 1,038,643 คน[1]
เดิมในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2492 เมืองกว่างโจวถูกแบ่งออกเป็น 28 เขต โดยพื้นที่ของเขตเยว่ซิ่วในปัจจุบันประกอบด้วยเขตซีชาน (จีน: 西山区) เขตเต๋อซฺวัน (จีน: 德宣区) เขตฮุ่ยฝู (จีน: 惠福区) เขตจิ้งไห่ (จีน: 靖海区) เขตเสี่ยวเป่ย์ (จีน: 小北区) เขตไท่ผิง (จีน: 太平区) เขตหย่งฮั่น (จีน: 永汉区) เขตตงชาน (จีน: 东山区) เขตต้าตง (จีน: 大东区) และเขตเฉียนเจี้ยน (จีน: 前鉴区)[3] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2493 เมืองกว่างโจวได้รวมเขตการปกครองจาก 28 เขตเป็น 16 เขต ทำให้พื้นที่เขตเยว่ซิ่วในปัจจุบันเทียบเป็นเขตในเวลานั้นเหลือเป็นส่วนของเขตฮุ่ยฝู เขตไท่ผิง เขตหย่งฮั่น และเขตต้าตง[3] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2495 เมืองกว่างโจวได้จัดระเบียบพื้นที่เมืองใหม่ให้เหลือเพียง 6 เขต ได้แก่ เขตตะวันออก เขตตะวันตก เขตเหนือ เขตกลาง เขตเหอหนาน และเขตจูเจียง เขตเดิมที่เป็นพื้นที่เขตเยว่ซิ่วในปัจจุบันประกอบด้วยเขตกลาง เขตตะวันออก และเขตเหนือ[3] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 เขตเหนือมีการขยายพื้นที่และเปลี่ยนชื่อเป็นเขตเยว่ซิ่ว ส่วนเขตตะวันออกเปลี่ยนชื่อเป็นเขตตงชาน[3] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2504 ห้าตำบลจากเขตเยว่ซิ่วถูกโอนไปเขตตงชาน จากนั้นมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยระหว่างเขตเยว่ซิ่วและเขตตงชานในตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 จนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 เขตตงซานถูกยุบและรวมเข้ากับเขตเยว่ซิ่ว[3]
ย่านเสี่ยวเป่ย์ของเขตเยว่ซิ่วเป็นชุมชนมุสลิมที่สำคัญในพื้นที่มานานหลายทศวรรษ โดยมีผู้อพยพชาวมุสลิมจำนวนมากจากภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนมาอาศัยอยู่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980[4] และตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 กับต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ชาวแอฟริกันทางใต้ของทะเลทรายซาฮาราจำนวนหนึ่งเริ่มอพยพมายังเมืองกว่างโจว โดยหลายคนตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ย่านเสี่ยวเป่ย์ จึงได้รับฉายาว่า “ลิตเติ้ลแอฟริกา”, “เมืองช็อกโกแลต” และ "เขตมุสลิม" เนื่องจากเป็นแหล่งพักอาศัยของชาวมุสลิมหลากหลายเชื้อชาติจากทั้งชาวจีนภาคกลางและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และอนุทวีปอินเดีย[4] มีมัสยิดหฺวายเชิ่งเป็นมัสยิดหลักของเมืองกว่างโจว
การขนส่ง
[แก้]ปัจจุบันเขตเยว่ซิ่วมีเส้นทางรถไฟใต้ดินกว่างโจวผ่านทั้งหมด 4 สาย ดังนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 广州市第七次全国人口普查公报[1](第二号)——各区人口情况 - 广州市人民政府门户网站. www.gz.gov.cn (ภาษาจีน). The People's Government of Guangzhou Municipality. 2021-05-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-10-24. สืบค้นเมื่อ 2024-11-10.
- ↑ 2.0 2.1 行政区划 [Administrative Divisions]. www.yuexiu.gov.cn (ภาษาจีน). Yuexiu District People's Government. 2024-05-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-10-24. สืบค้นเมื่อ 2024-11-10.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 越秀区建置沿革 [Yuexiu District Organizational History]. www.yuexiu.gov.cn (ภาษาจีน). Yuexiu District People's Government. 2024-05-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-10-24. สืบค้นเมื่อ 2024-10-24.
- ↑ 4.0 4.1 Gu, Chonglong (2024-02-28). "The (un)making and (re)making of Guangzhou's 'Little Africa': Xiaobei's linguistic and semiotic landscape explored". Language Policy (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1007/s10993-024-09689-4. ISSN 1573-1863.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาจีน)