ข้ามไปเนื้อหา

เขตอุตสาหกรรมซูโจว

พิกัด: 31°19′26″N 120°43′24″E / 31.3240°N 120.7233°E / 31.3240; 120.7233
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตอุตสาหกรรมซูโจว

苏州工业园区
ทะเลสาบจินจี
เขตอุตสาหกรรมซูโจวตั้งอยู่ในมณฑลเจียงซู
เขตอุตสาหกรรมซูโจว
เขตอุตสาหกรรมซูโจว
พิกัด: 31°19′26″N 120°43′24″E / 31.3240°N 120.7233°E / 31.3240; 120.7233
ประเทศจีน
มณฑลเจียงซู
นครระดับมณฑลซูโจว
พื้นที่
 • ทั้งหมด278 ตร.กม. (107 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019)
 • ทั้งหมด807,800 คน
 • ความหนาแน่น2,900 คน/ตร.กม. (7,500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลากลางจีน)
เว็บไซต์www.sipac.gov.cn/english/ แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

เขตอุตสาหกรรมซูโจว (苏州工业园区; อังกฤษ: Suzhou Industrial Park) เป็นพื้นที่การพัฒนาในซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 ส่วนหนึ่งของโครงการการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนในทศวรรษ 1990 มีความพิเศษในฐานะที่เป็นโครงการที่เกิดจากการพัฒนาร่วมระหว่างทางการจีนกับสิงคโปร์[1] แม้ในตอนแรกเขตอุตสาหกรรมจะไม่ประสบผลสำเร็จแต่ต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นอสังหาริมทรัพย์แนวหน้าของซูโจวและเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัทมากมาย และได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของจีนจนถึงปัจจุบัน

เขตอุตสาหกรรมซูโจวมีขนาดพื้นที่ 278 ตารางกิโลเมตร (107 ตารางไมล์) และประชากรถาวร 807,800 คนตามรายงานทางการเมื่อปี 2019[1]

ในปี 1992 แนวคิดการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมสมัยใหม่เริ่มเป็นที่พูดถึง หลังเติ้ง เสี่ยวผิงเดินทางเยือนใต้ในปีเดียวกัน เขาได้กล่าวว่า "สิงคโปร์มีการบิรหารจัดการที่ดีและมีระบบเรียบทางสังคมที่ดี เราควรดูเป็นตัวอย่าง และเรียนรู้ที่จะทำให้ดีกว่าพวกเขา"[2][3][4] รัฐบาลของจีนและสิงคโปร์ได้พูดคุยกันถึงโครงการสร้างเขตอุตสาหกรรมใหม่และได้ข้อสรุปว่าจะก่อสร้างในทางตะวันออกของนครซูโจว[5] ซึ่งถูกเลือกเนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งที่ใกล้กับศูนย์กลางเศรษฐกิจอย่างเซี่ยงไฮ้ รวมถึงมีประชากรแรงงานที่มีการศึกษาและมีทักษะอยู่เดิม[6] โครงการเขตอุตสาหกรรมจีน-สิงคโปร์ ซูโจว (China–Singapore Suzhou Industrial Park; CS-SIP) จึงเริ่มต้นในปี 1994 โดยรองประธานาธิบดีจีน ลี่ ล่านชิง และรัฐมนตรีอาวุโสสิงคโปร์ ลี กวน ยู ลงนามร่วมในสนธิสัญญาการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมในซูโจว[5][6] ที่ซึ่งต่อมาพัฒนามาเป็นเขตอุตสาหกรรมซูโจว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Sino-Singapore cooperation". www.sipac.gov.cn. Suzhou Industrial Park Administrative Committee. 2019-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  2. "The special relationship with China". TODAYonline. 25 มีนาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2024.
  3. Lee Kwan Yew (18 ตุลาคม 2011). Speech by former Minister Mentor Lee Kuan Yew and current Senior Advisor to Government of Singapore Investment Corporation (Speech). Ford Theatre's Abraham Lincoln Medal Award Ceremony. Washington, D.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2024.
  4. Chan Heng Chee (4 ธันวาคม 2020). The future of Singapore-China strategic collaboration (Speech). the Lianhe Zaobao Singapore-China Forum. via Zoom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2024.
  5. 5.0 5.1 see Alexius A. Pereira (2003) State Collaboration and Development Strategies: The Case of the China Singapore Suzhou Industrial Park (1992-2002). London: Routledge.
  6. 6.0 6.1 "Suzhou Industrial Park: 10 things to know about the China-Singapore project". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 2014-10-25. ISSN 0585-3923. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.