เกา สิงเจี้ยน
เกา สิงเจี้ยน | |
---|---|
เกิด | กั้นโจว มณฑลเจียงซี ประเทศจีน | 4 มกราคม ค.ศ. 1940
อาชีพ | นักประพันธ์, นักเขียนบทละคร, นักวิจารณ์, นักแปล, นักเขียนบท, ผู้กำกับ, จิตรกร |
ภาษา | จีน[1] |
พลเมือง | จีน (ค.ศ. 1940–1998) ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1998) |
จบจาก | มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งปักกิ่ง |
รางวัลสำคัญ | รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ค.ศ. 2000 |
เกา สิงเจี้ยน (จีน: 高行健; อักษรโรมัน: Gao Xingjian; 4 มกราคม ค.ศ. 1940 – ) เป็นนักประพันธ์, นักเขียนบทละคร และนักวิจารณ์ผู้อพยพชาวจีน[2] ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 2000 “สำหรับผลงานที่สมบูรณ์ในระดับสากล, ข้อมูลเชิงลึกที่ดุเดือด และความฉลาดทางด้านภาษา”[1] นอกจากนี้ เขายังเป็นนักแปล (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของซามูเอล เบ็คเค็ทท์ และอูเจน อีออเนสคู), นักเขียนบท, ผู้กำกับเวที และจิตรกรที่มีชื่อเสียง ใน ค.ศ. 1998 เกาได้รับสัญชาติฝรั่งเศส
ละครของเกาได้รับการพิจารณาว่าเป็นละครแอบเสิร์ดที่มีความลึกซึ้งในปกติวิสัยและอยู่ระดับแถวหน้าในประเทศจีน ผลงานที่ออกมาเป็นร้อยแก้วของเขามีแนวโน้มที่จะมีชื่อเสียงโด่งดังน้อยกว่าในประเทศจีน แต่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในยุโรปและฝั่งตะวันตก
การตอบรับ
[แก้]ความเห็นจากนักเขียนชาวจีน
[แก้]ผลงานของเกานำไปสู่การอภิปรายที่รุนแรงในหมู่นักเขียนชาวจีน ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ
นักเขียนชาวจีนจำนวนมาก[ใคร?] แสดงความเห็นถึง "ศิลปะลวดลายจีน" ของเกา หรืองานแปล ว่าได้เป็นการเปิดแนวทางใหม่สำหรับวรรณกรรมสมัยใหม่ของจีนที่วิทยาลัยสวีเดน และการชนะรางวัลโนเบลเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี เป็นการสร้างความสุขต่อวงการวรรณกรรมของจีน
บทความเกี่ยวกับเขาในนิตยสารมิวส์ ฉบับเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 ซึ่งเป็นนิตยสารที่ยุติลงแล้วในฮ่องกง ลีโอ ลี (李歐梵) ได้สรรเสริญการใช้ภาษาจีนในผลงานโซลเมาน์เทน: 'ไม่ว่ามันจะเป็นการสร้างผลงานหรือไม่ แต่มันก็เป็นเรื่องแต่งที่อุดมไปด้วยวาทะพื้นเมืองและการวางเกณฑ์ที่สละสลวยชั้นเอก ตลอดจนภาษาถิ่น จึงจัดเป็น "นวนิยายที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่หลากหลาย" โดยมีเสียงและจังหวะที่สามารถอ่านออกเสียงได้ (ในฐานะที่เกาสามารถทำได้สำหรับการอ่านของประชาชน)'[3]
ก่อนถึง ค.ศ. 2000 นักเขียนและนักวิชาการชาวจีนกว่าสิบรายได้คาดการณ์ไว้แล้วถึงการรับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมของเกา ซึ่งได้แก่ หู เย่าเหิง (胡耀恒)[4] พานจุน (潘军)[5] ตั้งแต่เมื่อช่วง ค.ศ. 1999
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The Nobel Prize in Literature 2000". Nobelprize. October 7, 2010. สืบค้นเมื่อ October 7, 2010.
- ↑ "The Nobel Prize for Literature 2000". Nobelprize.org.
The Nobel Prize in Literature for 2000 goes to the Chinese writer Gao Xingjian "for an œuvre of universal validity, bitter insights and linguistic ingenuity, which has opened new paths for the Chinese novel and drama".
- ↑ Lee, Leo Ou-fan (June 2008). "The happy exile". Muse Magazine (17): 93.
- ↑ "胡耀恒:高行健曝光率华人之最". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-01.
- ↑ "华人作家高行健获2000年诺贝尔文学奖- 21CN.COM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ 2014-05-01.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
- เกา สิงเจี้ยน ข่าวสารและความเห็นที่ผ่านการรวบรวมในเดอะนิวยอร์กไทมส์
- The Voice of One in the Wilderness เก็บถาวร 2014-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน critical essay on the works of Gao Xingjian by Olivier Burckhardt, PN Review #137, 27:3 (Jan–Feb 2001) 28–32, shorter version also published in Quadrant. 44:4 (2000) 54–57, and anthologized in Contemporary Literary Criticism Vol. 167, ed. Jeff Hunter, Gale Publishing, (2003) 200–204
- Gao Xingjian[ลิงก์เสีย]: Bio, excerpts, interviews and articles in the archives of the Prague Writers' Festival
- "The Challenge to the 'Official Discourse' in Gao Xingjian's Early Fiction" เก็บถาวร 2016-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Deborah Sauviat. First-class Honours thesis. University of Sydney, 1996.
- Gao Xingjian and "Soul Mountain: Ambivalent Storytelling, Robert Nagle, Houston, Texas, 2002.