ข้ามไปเนื้อหา

เกาะฮาฮาจิมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาฮาจิมะ
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งญี่ปุ่น
พิกัด26°39′N 142°10′E / 26.650°N 142.167°E / 26.650; 142.167
กลุ่มเกาะโองาซาวาระ
การปกครอง
ญี่ปุ่น
ประชากรศาสตร์
ประชากร400-460 คน

เกาะฮาฮาจิมะ (ญี่ปุ่น: 母島โรมาจิHahajima; 母島 แปลตรงตัวว่าแม่) เป็นเกาะขนาดใหญ่อัมดับที่ 2 ในหมู่เกาะโองาซาวาระ (หมู่เกาะโบนินชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) ตั้งอยู่ห่างจากเกาะชิจิจิมะไปทางใต้ 50 กม. และห่างจากโตเกียว 287 กิโลเมตร[1] [2] จุดที่สูงที่สุดคือชิบูซายามะหรือแปลว่า "ภูเขาเต้านม" มีความสูงประมาณ 462 เมตร (1,516 ฟุต) และยังมีภูเขาซาไกงาทาเกะมีความสูง 443 เมตร (1,453 ฟุต) เกาะฮาฮาจิมะมีกลุ่มเกาะขนาดเล็กอยู่ใกล้เคียงชื่อ อาเนจิมะ อิโมโตจิมะ และเกาะมูโกจิมะฮาฮาจิมะ ถูกตั้งชื่อเป็นฮาฮาจิมะ เร็ตโตะ (母島列島) หรือในอดีตชื่อไบลี่

เกาะฮาฮาจิมะนั้นเป็นเกาะเขตร้อนเช่นเดียวกับเกาะอื่นในหมู่เกาะโองาซาวาระ มีสถานะเป็นกิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว มีประชากรราว 440 คน มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางยาวประมาณ 15 กิโลเมตร กว้าง 2-3 กิโลเมตร ครึ่งทางทิศเหนือเป็นท่าเรือคิตะ จุดสูงสุดของเกาะฮาฮาจิมะคือยอดเขาชิบูซะเป็นภูเขาที่สูงที่สุดของเกาะ[3]

ประวัติ

[แก้]

เกาะฮาฮาจิมะค้นพบครั้งแรกในปี 1543 โดยสำรวจชาวสเปน เบร์นาร์โดเดลาตอร์เร[4] เดิมเรียกว่า เกาะคอฟฟิน เกาะฮิลส์โบโร หรือ หมู่เกาะโลงศพ และชาวยุโรปตั้งรกรากก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ในสงครามโลกครั้งที่สองรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ชาวบ้านอพยพออกไปและเสริมกำลังบนเกาะ เกาะนี้เป็นเป้าหมายของการโจมตีหลายครั้งโดยกองกำลังสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สิ่งที่เหลืออยู่จากการป้องกันของกองทัพได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของเกาะ

สามารถเดินทางไปเกาะได้โดยเรือข้ามฟากใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงจากชิจิจิมะ เศรษฐกิจของฮาฮาจิมะอิงจากการประมงเชิงพาณิชย์กับโรงกลั่นรัมที่เป็นของรัฐ

ฮาฮาจิมะมีประชากร 450 คนซึ่งเคยมีประชากร 1,546 คนในปี 1904 และเคยมีถึง 1,905 คน ใน ปี 1940 มีถนนสายหนึ่งจากหมู่บ้านคิตามูระ (北村) อยู่ทางตอนเหนือของเกาะไปยังหมู่บ้านโอกิมูระ (沖村) ดิมชื่อ "นิวพอร์ต" ทางตอนใต้ของเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือ

นิเวศวิทยา

[แก้]

ฮาฮาชิมะเป็นที่สนใจของนักสังขวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากมีหอยทากเฉพาะถิ่นเช่นลัมโปรซิสติส ฮาฮาจิมานะซึ่งมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากการปรากฏพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานย่างกว้างขวางรวมถึงแพะ (ซึ่งทำลายที่อยู่อาศัย) และหนอนตัวแบน หอยทากหมาป่าสีกุหลาบ (ซึ่งกินหอยทากพื้นเมือง) จึงมีการกังวลว่าสัตว์ถิ่นกำเนิดจำนวนมากจะสูญพันธุ์[5]

แต่ส่วนใหญ่หอยทากเฉพาะถิ่นทั้งหมดยังคงอยู่บนคาบสมุทรฮิงาชิซากิซึ่งอยู่ห่างไกลบนชายฝั่งตะวันออก เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลที่สวยงาม แต่เข้าถึงได้ยากมาก (ต้องปีนเขาชิบูสะก่อนที่จะลงไปยังคาบสมุทร) ประกอบด้วยโขดหินสูงชันล้อมรอบที่ราบสูงและมีต้นปาล์มจีน (Livistona chinensis) ใบเตยและใบกว้างเช่น เพอร์ซี โคบุ, อาโวคาโด และยังไม่ถูกเตะต้องจากพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานในปัจจุบัน มีการเสนอว่าควรมีการตรวจสอบการเข้าถึงพื้นที่ เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวมีส่วนในการทำลายพื้นที่พิเศษนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ[5]

การเดินทาง

[แก้]

วิธีที่เหมาะที่สุดในการไปเยือนฮาฮาจิมะ คือ อาศัยเรือเฟอร์รีฮาฮาจิมะมารุจากชิจิจิมะ หากต้องการเดินทางไปยังฮาฮาจิมะ ให้ขึ้นเรือเฟอร์รี่ค้างคืนโอะงะซาวาระมารุ จากโตเกียวทาเกะชิบะเทอร์มินัล ไปยังชิจิจิมะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงและขึ้นเรือเฟอร์รี่ฮาฮาจิมะมารุไปยังฮาฮาจิมะ ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง[6]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของหมู่เกาะโองาซาวาระ (1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.5
(68.9)
20.1
(68.2)
21.5
(70.7)
23.2
(73.8)
25.4
(77.7)
28.0
(82.4)
30.0
(86)
29.9
(85.8)
29.7
(85.5)
28.3
(82.9)
25.6
(78.1)
22.4
(72.3)
25.4
(77.7)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 18.4
(65.1)
17.9
(64.2)
19.2
(66.6)
21.0
(69.8)
23.2
(73.8)
25.8
(78.4)
27.5
(81.5)
27.7
(81.9)
27.5
(81.5)
26.2
(79.2)
23.5
(74.3)
20.3
(68.5)
23.2
(73.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.7
(60.3)
15.3
(59.5)
16.7
(62.1)
18.8
(65.8)
21.2
(70.2)
24.0
(75.2)
25.4
(77.7)
25.9
(78.6)
25.5
(77.9)
24.1
(75.4)
21.3
(70.3)
17.8
(64)
21.0
(69.8)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 65.3
(2.571)
58.2
(2.291)
77.0
(3.031)
118.4
(4.661)
145.4
(5.724)
134.7
(5.303)
80.9
(3.185)
112.6
(4.433)
131.1
(5.161)
132.1
(5.201)
128.2
(5.047)
108.7
(4.28)
1,292.6
(50.89)
ความชื้นร้อยละ 66 68 73 79 83 86 82 82 82 80 75 70 77.2
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 10.3 9.1 10.8 9.9 11.7 9.3 8.4 11.0 11.6 13.0 11.1 11.8 128
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 136.4 131.4 154.7 148.2 159.8 198.9 250.3 211.0 200.9 179.1 140.9 126.8 2,038.4
แหล่งที่มา: [7]

อ้างอิง

[แก้]