ข้ามไปเนื้อหา

เกาะตันนา

พิกัด: 19°30′S 169°20′E / 19.500°S 169.333°E / -19.500; 169.333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะตันนา
เกาะตันนาและเกาะอานีวาใกล้เคียง
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
พิกัด19°30′S 169°20′E / 19.500°S 169.333°E / -19.500; 169.333
กลุ่มเกาะวานูอาตู
พื้นที่550 ตารางกิโลเมตร (210 ตารางไมล์)
ความยาว40 กม. (25 ไมล์)
ความกว้าง19 กม. (11.8 ไมล์)
ระดับสูงสุด1,084 ม. (3556 ฟุต)
จุดสูงสุดเขาตูโกสเมรา
การปกครอง
วานูอาตู
จังหวัดตาเฟอา
เมืองใหญ่สุดLénakel
ประชากรศาสตร์
ประชากร30,770 (2015)
ความหนาแน่น36.36/กม.2 (94.17/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเมลานีเชีย

ตันนา (อักษรโรมัน: Tanna, บางครั้งสะกดผิดเป็น ตานา (Tana) ) เป็นเกาะในวานูอาตูตอนใต้

ตันนาเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดตาเฟอา และมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (เป็นรองเพียงเอฟาเตและเกาะเอสปีรีตูซานโต) เป็นที่ตั้งของภาษาพื้นเมือง 5 ภาษาที่เป็นภาษาที่มีผู้กันแพร่หลายมากที่สุดในหมู่เกาะ โดยมีขอบเขตผู้พูดจาก 3500 ถึง 11500 คน

ตันนาปรากฏในสารคดีและรายการโทรทัศน์หลายรายการรอบโลก ส่วนหนึ่งมาจากเขายาซูร์ ภูเขาไฟที่กำลังครุกครุ่นและสถานที่ท่องเที่ยวหลัก และยังมีความสนใจต่อวัฒนธรรมเมลานีเชียผ่านการระบำและเทศกาล เกาะนี้ดึงดูดนักมานุษยวิทยาหลายคนจากลัทธิคาร์โก

ชื่อ

[แก้]

ชื่อ Tanna ที่อ้างครั้งแรกโดยเจมส์ คุก มาจากคำว่า tana ในภาษาควาเมรา แปลว่า "พื้นโลก"[1] ตามรากศัพท์ Tanna มาจากภาษาโอเชียเนียดั้งเดิม *tanoq จากภาษามลายู-พอลินีเชียดั้งเดิม *taneq ซึ่งมีความหมายเดียวกัน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Biography of John Gibson Paton at Christian Biography Resources
  2. *Lynch, John. 2001. The linguistic history of southern Vanuatu. (Pacific Linguistics, 509.) Canberra: Pacific Linguistics.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]