ข้ามไปเนื้อหา

เกอบายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกอบายา
เกอบายาแบบชวาเป็นเสื้อครึ่งตัวบาง ๆ สวมทับเกิมเบิน ดังที่เจ้าหญิงฮายูแห่งยกยาการ์ตาทรงสวมใส่
ประเภทเครื่องแต่งกายส่วนบนแบบดั้งเดิม
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร (อินโดนีเซีย[1][2][3][4]และมาเลเซีย)[3][4][5][6][7][8]
ผู้ผลิตชวาและมลายู
เกอบายา :
ความรู้ ทักษะ ประเพณี และแนวปฏิบัติ *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
หญิงชาวเปอรานากันในสิงคโปร์สวมใส่เกอบายา
ประเทศ ไทย
 บรูไน
 มาเลเซีย
 สิงคโปร์
 อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง02090
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2024 (คณะกรรมการสมัยที่ 19)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เกอบายา (มลายูและอินโดนีเซีย: kebaya)[] เป็นเครื่องแต่งกายส่วนบนแบบดั้งเดิมที่ผู้หญิงสวมใส่กันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศบรูไน,[9] อินโดนีเซีย,[10] มาเลเซีย,[8] สิงคโปร์[11] และภาคใต้ของไทย[12] นอกจากนี้ยังมีผู้สวมใส่ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์[13][14]

เกอบายาเป็นเสื้อผ้าส่วนบนที่เปิดส่วนหน้า โดยทั่วไปทำจากผ้าเนื้อเบา เช่น ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ผ้าโปร่ง หรือลูกไม้ และบางครั้งตกแต่งด้วยงานปัก ด้านหน้าติดกระดุมหรือเข็มกลัด ส่วนผ้าที่ใช้นุ่งด้านล่างเรียกว่าโสร่ง, เกิมเบิน หรือไกน์ซึ่งเป็นผ้าผืนยาวที่พันและสอดไว้รอบเอวหรือใต้รักแร้ อาจทำจากผ้าบาติก, อีกัต, ซงเก็ต หรือเตอนุนก็ได้[]

เกอบายาได้รับการรับรองให้เป็นชุดประจำชาติและสัญลักษณ์แฟชั่นของอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ[10][15][16] แม้ว่าชุดนี้ชาวชวา, ซุนดา และบาหลีจะนิยมสวมใส่มากกว่าก็ตาม ในประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์ และบรูไน ชุดนี้เป็นหนึ่งในชุดชาติพันธุ์ โดยเฉพาะในชุมชนมลายูและเปอรานากัน[] เครื่องแต่งกายแบบครบชุดนี้เรียกกันในภูมิภาคนี้ว่า "ซารงเกอบายา" (sarong kebaya)[6] รูปแบบของซารงเกอบายาจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ในแต่ละภูมิภาค

เกอบายากลายเป็นสัญลักษณ์แฟชั่นอย่างหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสายการบินประจำชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่งนำเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมมาใช้เป็นเครื่องแบบของพนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบิน เช่น สิงคโปร์แอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์, รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ และการูดาอินโดนีเซีย[17]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อักขรวิธีอินโดนีเซียเก่า: kebaja; ชวา: ꦏꦼꦧꦪ; ยาวี: کباي; เปโกน: كبيا
  2. เตอนุน หมายถึง "ผ้าทอ" ได้แก่ เตอนุนบูกิซ, เตอนุนลูริก และเตอนุนปะหัง
  3. เปอรานากันเป็นชุมชนลูกผสมระหว่างคนต่างชาติ เช่น บาบ๋า-ย่าหยา, เชตตีเมอลากา, อินโด, ยาวีเปอกัน, กริซตัง, ซัมซัม, มลายูโคโคส

อ้างอิง

[แก้]
  1. Steele, Valerie (2005). Steele Valerie (บ.ก.). Encyclopedia of Clothing and Fashion (ภาษาอังกฤษ). Charles Scribner's Sons. ISBN 978-0-684-31395-5.
  2. Welters, Linda; Lillethun, Abby (2018-02-08). Fashion History: A Global View (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-4742-5365-9.
  3. 3.0 3.1 Annette Lynch-Mitchell D. Strauss, บ.ก. (2014-10-30). Ethnic Dress in the United States: A Cultural Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 9780759121508.
  4. 4.0 4.1 Phromsuthirak, Maneepin; Chavalit, Maenmas (2000). Costumes in ASEAN Volume 1, Part 1 of ASEAN studies publication series (ภาษาอังกฤษ). National ASEAN Committee on Culture and Information of Thailand. ISBN 9789747102833.
  5. Setiawan, Ferry (2009). 50 Galeri Kebaya Eksotik Nan Cantik (ภาษาอินโดนีเซีย). Niaga Swadaya. ISBN 9789793927909.
  6. 6.0 6.1 World Eco-Fiber & Textile (W.E.F.T) Forum 2003, Kuching, Sarawak, Malaysia (ภาษาอังกฤษ). Atelier. 2002-09-19.
  7. Forshee, Jill (2006). Culture and Customs of Indonesia (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. ISBN 9780313333392.
  8. 8.0 8.1 Haziyah. "Evolusi dan Topologi Pakaian Wanita Melayu di Semenanjung Malaysia" (ภาษามาเลย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2021. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. Muzium Brunei (1995). "Costume and Textiles of Brunei: History and Evolution" (ภาษาอังกฤษ). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. 10.0 10.1 "Kebaya: Identitas Nasional Indonesia". Research Center for Society and Culture, Indonesian Institute of Science (LIPI) (ภาษาอินโดนีเซีย). 3 November 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2021.
  11. Koh, Jaime (2009). Culture and Customs of Singapore and Malaysia Cultures and Customs of the World (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 9780313351167.
  12. "CHINESE HERITAGE ON THE WEST COAST OF SOUTHERN THAILAND: A HOLISTIC APPROACH TO IDENTIFICATION AND CONSERVATION" (PDF). Graduate School, Silpakorn University. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2022.
  13. "Tanailee". 19 July 2015.
  14. Bhar, Supriya (1980). "SANDAKAN: Gun Running Village to Timber Centre, 1879-1979". Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society. 1 (237): 120–149. JSTOR 41493567.
  15. "Women promote 'kebaya' wearing at MRT station". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
  16. Harsianti, Juliana. "Returning to kebaya as Indonesia's fashion icon". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
  17. Khor, Samantha (23 March 2020). "The Origin of the Kebaya and How It Became an ASEAN Icon". www.ourdaily.co. Ourdaily. สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]