เกษรี ณรงค์เดช
เกษรี ณรงค์เดช (ประมาณ พ.ศ. 2478 – 17 เมษายน พ.ศ. 2560) เป็นนักบัญชีและนักวิชาการชาวไทย เธอเป็นศาสตราจารย์ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งดำรงตำแหน่งคณบดีเช่นกัน เธอเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดตั้งสถาบันวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยและกำหนดมาตรฐานวิชาชีพบัญชี เธอเป็นนายกสมาคมนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ตลอดจนดูแลการเปลี่ยนผ่านสู่สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2547 ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยเธอดำรงตำแหน่งประธานสภาดังกล่าวจนถึง พ.ศ. 2554[1][2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2536 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2550 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาสังคมศาสตร์[5]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "คำประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์เกษรี ณรงคืเดช ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" (PDF). University of the Thai Chamber of Commerce. 2006. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
- ↑ "ด้วยความอาลัย.. ศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษรี ณรงค์เดช" (PDF). Federation of Accounting Professions Newsletter (53). May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-11. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
![]() |
บทความเกี่ยวกับประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิประเทศไทย |