เกล็ดหิมะ (กอริลลา)
เกล็ดหิมะ (กาตาลา: Floquet de Neu; สเปน: Copito de Nieve; ประมาณ ค.ศ. 1964 — 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003) เป็นลิงกอริลลาผิวเผือก มันเป็นสัตว์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสวนสัตว์บาร์เซโลนา ในประเทศสเปน[ต้องการอ้างอิง]
การตั้งชื่อ
[แก้]เดิมทีลิงกอริลลาตัวนี้มีชื่อว่า อึนฟูมู อึงกุย ในภาษาฟอง (ซึ่งหมายถึง "กอริลลาสีขาว") โดยผู้จับมันมา จากนั้นมันได้รับชื่อใหม่คือ ฟลูแกตดาเนว (ภาษากาตาลา หมายถึง เจ้าเกล็ดหิมะน้อย[1]) โดยผู้เลี้ยงดูมันที่ชื่อ ฌอร์ดี ซาบาเต ปี[2][3] หลังจากนั้น เมื่อมันเดินทางมาถึงบาร์เซโลนาก็ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการจากนายกเทศมนตรีของบาร์เซโลนาชื่อฌูแซป มาริอา ดา ปูร์ซิออลัส ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1966 ซึ่งมันได้รับการเรียกในชื่อ บลังกาเนียเบส (ซึ่งหมายถึง "สโนว์ไวต์") ในหนังสือพิมพ์เตเล/อักซเปรส [4] แต่มันก็กลายเป็นที่รู้จักจากชื่อที่ตั้งให้แก่มันโดย Sabater เมื่อนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ได้แสดงการขึ้นหน้าปกของมันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967 โดยมีชื่อว่าเกล็ดหิมะในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อที่ได้รับการแพร่กระจายโดยสื่อมวลชน (ทั้งนิตยสารชแตร์น, ไลฟ์, ปารี-มัตช์) ส่วนตัวซาบาเตเองเรียกกอริลลาตัวนี้ว่า โกปี หรือ ฟลูแกต และต่อมาเรียกว่า เอ็นฟูมู นอกจากนี้ มันยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ลิตเติลบัตเตอร์คัป"[5] และ "วานิลลากอริลลา" รวมถึงดาวเคราะห์น้อย 95962 โกปีโต ที่ได้รับการค้นพบโดยโคตา. มันเตกา ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ชาวสเปน ยังได้ทำการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่มัน[6]
ลักษณะ
[แก้]เกล็ดหิมะเป็นกอริลลาที่ลุ่มตะวันตก ที่ไม่ได้มีภาวะผิวเผือกแบบเป็นมากทั่วทั้งกาย[7] ซึ่งมันไม่ได้มีผิวและเส้นขนในลักษณะของรงควัตถุ[8][9]
เกล็ดหิมะมีสายตาที่ไม่ค่อยดี ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากภาวะผิวเผือก โดยได้มีการทดสอบซึ่งพบว่าเกล็ดหิมะไม่สามารถมองเห็นจุดที่อยู่ตรงกลางได้ส่วนหนึ่ง[10] ซึ่งอันโตนีโอ โฌงก์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์บาร์เซโลนาได้เขียนไว้ว่า:
"ดวงตาในส่วนของตาขาวมีลักษณะเป็นสีน้ำเงินอ่อน ส่วนกระจกตาปกติ และส่วนของม่านตาเป็นสีฟ้าอ่อน ซึ่งมีความโปร่งแสงเป็นอย่างมากสำหรับการส่องด้วยไฟฉาย การปรับโฟกัสของตาและการหักเหเป็นปกติ ตัวสื่อกลางมีความโปร่งแสงและอวัยวะของตาปกติ รวมถึงมีลักษณะเป็นสีขาวโดยรวม ส่วนหลอดเลือดโครอยด์สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและรูม่านตาเป็นปกติ มันเป็นสัตว์ที่มีอาการกลัวแสงซึ่งจะทำการปิดตาซ้ำแล้วซ้ำอีกเมื่อพบกับแสงจ้า ส่วนในที่มีแสงกระจายคล้ายกับเขตชีวชาติ เราได้คำนวณว่ามันจะกระพริบตาโดยเฉลี่ย 20 ครั้งต่อนาที"[9]
การศึกษาถึงจีโนมของเกล็ดหิมะระบุว่าพ่อแม่ของมันมีดีเอ็นเอที่เหมือนกัน 12 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้นักวิจัยเชื่อว่าพ่อแม่ของมันน่าจะเป็นลุงที่ผสมเชื้อกับหลานสาว ในการศึกษากรณีเดียวกันพบว่าภาวะผิวเผือกของมันเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน SLC45A2 เกล็ดหิมะที่ได้รับยีนด้อยจากทั้งพ่อและแม่ ส่งผลให้มันมีสภาพเป็นกอริลลาผิวเผือก[7][11]
ประวัติ
[แก้]บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เกล็ดหิมะถูกจับได้ในภูมิภาครีโอมูนี ที่ประเทศอิเควทอเรียลกินี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1966 โดยเบนีโต มาเญ ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้มีสายเลือดชาวฟอง โดยมาเญได้สังหารเหล่ากอริลลาที่มีอยู่ในฝูงของมัน (ที่มีสีปกติ) จากนั้น มาเญได้นำเจ้าเกล็ดหิมะตัวนี้มากักตัวไว้ที่บ้านของเขา เป็นระยะเวลาสี่วันก่อนที่จะส่งมันสู่จังหวัดชายฝั่งบาตา แล้วมันก็ได้รับการซื้อตัวโดยนักวานรวิทยาที่ชื่อฌอร์ดี ซาบาเต ปี[12] ซึ่งเกล็ดหิมะได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่สวนสัตว์บาร์เซโลนา[ต้องการอ้างอิง]
เกล็ดหิมะเป็นพ่อของลูก ๆ ที่มีอยู่ถึง 21 ตัว โดยแบ่งออกเป็นตัวผู้สิบตัวและตัวเมียสิบเอ็ดตัว จากคู่ครองหรือผู้ที่เป็นแม่ของกอริลลาที่มีอยู่ทั้งหมดสามตัว ทายาทของมันหกตัวมีชีวิตมาจนเติบใหญ่และสามตัวที่ยังคงมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีลูกตัวใดของเกล็ดหิมะที่มีภาวะผิวเผือก หากแต่ทุกตัวน่าจะมียีนเฮเทอโรไซกัส ซึ่งเป็นพาหะของยีนด้อยสำหรับยีนผิวเผือก โดยลูกหลานของมันน่าจะเป็นพาหะของยีนผิวเผือกตามค่าทางคณิตศาสตร์อยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกหลานของมันมีโอกาสอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ หากทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะของยีนผิวเผือก พวกมันก็มีโอกาส 25 เปอร์เซ็นต์ในการออกลูกมาเป็นกอริลลาผิวเผือก[ต้องการอ้างอิง] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 เกล็ดหิมะมีหลานทั้งหมด 21 ตัว (11 ตัวที่ยังมีชีวิตอยู่) กับเหลนอีกสี่ตัว (ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด)[13] หลานของเจ้าเกล็ดหิมะที่ชื่อเอ็นโกว์มีนิ้วมือสีชมพู ซึ่งอาจจะเป็นนัยของการมีภาวะผิวเผือกในบางส่วน[ต้องการอ้างอิง]
ในช่วงเวลาของความตาย ได้มีการคาดว่าเกล็ดหิมะน่าจะมีอายุอยู่ที่ระหว่าง 38 ถึง 40 ปี โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มันได้รับความทุกข์ทรมานจากรูปแบบที่ผิดปกติของมะเร็งผิวหนัง ซึ่งแทบจะแน่นอนที่จะเกิดขึ้นต่อภาวะผิวเผือกของมัน[14] ผู้เข้าเยี่ยมชมสวนสัตว์นับพันได้มาร่ำลาอาลัย ก่อนที่มันจะถูกกระทำการการุณยฆาตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 [ต้องการอ้างอิง]
แรกเริ่มเดิมที ทางสวนสัตว์บาร์เซโลนาไม่ได้ตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของเกล็ดหิมะ พวกเขาได้ส่งข้อความไปยังซาบาเต ปี โดยบอกว่า "กรุณาส่งบรรดากอริลลาสีขาวมาให้มากกว่าเดิม"[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งต่อมาทางสวนสัตว์ได้หวังถึงการให้กำเนิดทางสายพันธุกรรม รวมถึงครอบครัวของกอริลลาสีขาวทั้งหมดที่มาจากการคัดเลือกพันธุ์[ต้องการอ้างอิง] และสวนสัตว์นี้ มีบันทึกข้อสนธิสัญญาในการเก็บรักษาลูกอัณฑะของเกล็ดหิมะเพื่อการเก็บเกี่ยวผลิตผล จากการตายของมัน จึงได้มีการเก็บไว้ในสวนสัตว์แช่แข็งเพื่อรองรับตัวเลือกในการมีลูกหลานของมันได้มากขึ้นในอนาคต[ต้องการอ้างอิง] ยีนของเกล็ดหิมะได้รับการพิจารณาว่ามีคุณค่าเป็นพิเศษเพราะมันถูกจับในป่า และเพราะเหตุนี้มันจึงเป็นหนึ่งในต้นสายพันธุ์สำหรับกอริลลาที่ลุ่มตะวันตกที่ถูกจับได้ ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และได้รับการบริหารจัดการโครงการปรับปรุงสายพันธุ์โดยโครงการเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากของสมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและโครงการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์แห่งทวีปยุโรปสำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่า[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1986 ทางสวนสัตว์บาร์เซโลนาได้ขอความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์เดวิด เทย์เลอร์ ในการเก็บสเปิร์มจากเกล็ดหิมะสำหรับผสมเทียม แม้ว่าความพยายามดังกล่าวจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ได้รับการเผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์ไปทั่วโลก[15] รวมถึงได้มีการสนทนาถึงการโคลนเจ้าเกล็ดหิมะ[ต้องการอ้างอิง]
มรดกสืบทอด
[แก้]ทุนการศึกษาเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับวานรวิทยาได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และแสดงความเคารพที่มีต่อกอริลลาเผือก ชื่อเสียงของเกล็ดหิมะได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ของกอริลลา และซาบาเต ปี ยังได้กล่าวในการนำเสนอหนังสือของเขาว่า "หากเราไม่ทำอะไรเลย จะไม่มีจำนวนกอริลลาเพิ่มขึ้นอีกใน 30 ปี"
กอริลลาตัวนี้ยังได้กลายเป็นตัวละครในนวนิยายเรื่อง มามอริเอสดันฟลูแกตดาเนว ("ความทรงจำของเกล็ดหิมะ") โดยนักเขียนชาวกาตาลาที่ชื่อโตนี ซาลา
ซาบาตอร์ ปี ยังได้อุทิศหนังสือเล่มเพื่อกอริลลาตัวนี้ โดยใช้ชื่อ โกปีโตปาราเซียมเปร ("เกล็ดหิมะชั่วนิรันดร์")
นอกจากนี้ เขายังได้สร้างบทย่อสำหรับการปรากฏตัวในนวนิยายของอีตาโล กัลวีโน เรื่อง มร.ปาโลมาร์
รายการโทรทัศน์เนเจอร์ ทางช่องพีบีเอสได้สร้างตอนสำหรับการอุทิศให้แก่มัน
อดีตกวีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงอย่างบิลลี คอลลินส์ ได้เขียนถึงเกล็ดหิมะในบทกวีของเขา ซึ่งมีชื่อว่า "เซิร์ชชิง" (การค้นหา) โดยได้รับการตีพิมพ์ในงานคอลเลกชันของเขาเมื่อปี ค.ศ. 2008 ในชุดบาลิสทิคส์[16]
เกล็ดหิมะยังได้ปรากฏตัวบนปกอัลบัมเพลงแดนซ์ชุด รูตี ของเบสเมนต์แจกซ์[17]
ในการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา นักฟุตบอลชาวดัตช์ที่ชื่อโรนัลด์ กุมัน ได้รับการตั้งฉายาในชื่อ โกปีโตเดเนียเบ ซึ่งเป็นชื่อของเกล็ดหิมะในภาษาสเปน จากผมสีบลอนด์ของเขา
เกล็ดหิมะได้ปรากฏตัวในการ์ตูน เดอะทริปเลตส์ (สเปน: Les Tres Bessones) ตอน "แฝดสามพบคิงคอง" ในฐานะแขกผู้มีเกียรติสำหรับการปรากฏตัวของคิงคองในสนามกีฬาโอลิมปิกของบาร์เซโลนา
ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันที่ใช้เทคนิคภาพคอมพิวเตอร์สร้างขึ้น โดยมีชื่อเรื่องคือ สโนว์เฟลก เดอะไวต์กอริลลา ที่แสดงให้เห็นถึงวัยเด็กของเกล็ดหิมะในรูปแบบเรื่องสมมติ (ให้เสียงพากย์โดยอาเรียนา แกรนเด)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Name Is Snowflake", The Pittsburgh Post Gazette, May 28, 1967
- ↑ Sabater's pictures, at the Sabater Pi Collection at the Universitat de Barcelona
- ↑ "Little Snowflake, World's First White Gorilla", The Palm Beach Post, February 22, 1967
- ↑ "anuaris.cat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
- ↑ Taylor, Henry J., "An Animal Lover: Elephant Is Real King Of Jungle", Ocala Star-Banner, July 28, 1967, page 4
- ↑ "Asteroide Copito de Nieve"
- ↑ 7.0 7.1 Javier Prado-Martinez; Irene Hernando-Herraez; Belen Lorente-Galdos; Marc Dabad; Oscar Ramirez; Carlos Baeza-Delgado; Carlos Morcillo-Suarez; Can Alkan; Fereydoun Hormozdiari; Emanuele Raineri; Jordi Estellé; Marcos Fernandez-Callejo; Mònica Valles; Lars Ritscher; Torsten Schöneberg; Elisa de la Calle-Mustienes; Sònia Casillas; Raquel Rubio-Acero; Marta Melé; Johannes Engelken; Mario Caceres; Jose Luis Gomez-Skarmeta9; Marta Gut; Jaume Bertranpetit; Ivo G Gut; Teresa Abello; Evan E Eichler; Ismael Mingarro; Carles Lalueza-Fox; Arcadi Navarro; Tomas Marques-Bonet (31 May 2013). "The genome sequencing of an albino Western lowland gorilla reveals inbreeding in the wild". BMC Genomics. 14. doi:10.1186/1471-2164-14-363. สืบค้นเมื่อ 4 June 2014.
- ↑ International Wildlife Encyclopedia Vol. 20, Marshall Cavendish Corporation/New York, 1970, pg. 2710
- ↑ 9.0 9.1 Duplaix-Hall, Nicole; Antonio Jonch (1967). "The White Gorilla (Gorilla g. gorilla) At Barcelona Zoo". International Zoo Yearbook. Vol. Vol. XIII. London: Zoological Society of London. p. 196. OCLC 604039131.
{{cite book}}
:|volume=
has extra text (help) - ↑ Riopelle, A.J., "Growing up with Snowflake", National Geographic, 138:490-503, October 1970
- ↑ Pappas, Stephanie (17 June 2013). "Albino Gorilla 'Snowflake' Was Inbred, Gene Sequence Shows". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
- ↑ Riopelle, A.J., "Snowflake the world's first white gorilla", National Geographic 131: 442-8, March 1967
- ↑ Davis, James R. (1 June 2014). "0281 - SNOWFLAKE". Dewar Wildlife. Dewar Wildlife Trust, Inc. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
- ↑ Staff writers (22 September 2003). "Albino gorilla dying of skin cancer". BBC News. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
- ↑ Taylor, David, Vet on the Wild Side: Further Adventures of a Wildlife Vet, Arrow (Random Century Group), 1991
- ↑ Poetry: Billy Collins, 'Searching' - The Atlantic
- ↑ Woollaston, Victoria (June 19, 2013). "The world's only albino gorilla was the result of INCEST - and his lack of colour meant he died from skin cancer, claim scientists". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Riopelle, A.J., "Snowflake the world's first white gorilla", National Geographic 131:442-8, March 1967
- "Unique in all gorilladom: Roman Luera Carbo's Snowflake", Life 62:69-70, March 31, 1967
- Riopelle, A.J., "Growing up with Snowflake", National Geographic 138:490-503, October 1970
- Jonch, Antonio, "The White Gorilla (Gorilla g. gorilla) At Barcelona Zoo", International Zoo Yearbook Vol. XIII, 1967, pg. 196
- Schmeck, Harold M. Jr., "First Known White Gorilla Is Found", The New York Times F. 23 pgs. 1:5 & 41:2
- "Rare albino gorilla dies", The Montreal Gazette, November 25, 2003, pg. A.21
- Gerritsen, Vivienne Baillie (August 2004) "Snowy stardom". Protein Spotlight (SIB Swiss Institute of Bioinformatics).
- NATURE. Snowflake: The White Gorilla|PBS