เกมจารชน
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (กรกฎาคม 2019) |
เกมจารชน | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
เสนอโดย | มยุรา เศวตศิลา ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ เกียรติศักดิ์ อุดมนาค โหน่ง ชะชะช่า |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ![]() |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอกรุงเทพ เวิร์คพอยท์สตูดิโอ |
การแพร่ภาพ | |
เครือข่าย/ช่อง | ช่อง 5 HD1 เวิร์คพอยท์ทีวี (รีรัน) |
การออกอากาศแรก | 16 มีนาคม พ.ศ. 2541[1] – 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 |
ลำดับเวลา | |
เกี่ยวข้อง | เกมจารชน คู่หูอันตราย |
แหล่งข้อมูลอื่น | |
เว็บไซต์ |
เกมจารชน เป็นรายการเกมโชว์ของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 เวลา 22.00 น. (แทนรายการ ระเบิดเถิดเทิง ที่ย้ายไปออกอากาศในวันเสาร์) และยุติออกอากาศเมื่อวันจันทร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548
เกมจารชนนับเป็นรายการแรกของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่ได้ถูกซื้อลิขสิทธิ์จากอินโดนีเซีย หลังจากได้รับรางวัลเอเชี่ยนเทเลวิชั่นอวอร์ด ในปี พ.ศ. 2544[ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบันเกมจารชนได้กลับมาออกอากาศซ้ำอีกครั้งทางเวิร์คพอยท์ทีวี
ผู้ดำเนินรายการ[แก้]
- มยุรา เศวตศิลา (16 มีนาคม 2541 - 28 กันยายน 2541 และ 26 ธันวาคม 2541 - 28 มีนาคม 2548)
- ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ (16 มีนาคม 2541 - 28 มีนาคม 2548)
- เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (16 มีนาคม 2541 - 25 มีนาคม 2543)
- โหน่ง ชะชะช่า (2 เมษายน 2543 - 28 มีนาคม 2548)
ระยะเวลาในการออกอากาศ[แก้]
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | วัน | เวลา | ช่วงระหว่าง |
---|---|---|---|
ช่อง 5 HD1 | จันทร์ | 22.00 น. - 23.00 น. | 16 มีนาคม 2541 - 28 กันยายน 2541 |
เสาร์ | 12.00 น. - 13.00 น. | 3 ตุลาคม 2541 - 30 ตุลาคม 2542 | |
18.00 น. - 19.30 น. | 6 พฤศจิกายน 2542 - 25 มีนาคม 2543 | ||
อาทิตย์ | 16.00 น. - 17.00 น. | 2 เมษายน 2543 - 26 ธันวาคม 2547 | |
จันทร์ | 23.00 น. - 00.00 น. | 3 มกราคม 2548 - 28 มีนาคม 2548 |
เลขอันตราย[แก้]
ในรอบแรกจะมีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 5 คน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จะถูกมัดเข้ากับเสาโดยสมมุติบทบาทเป็นจารชนที่ถูกจับตัวได้ เมื่อเกมเริ่มต้น ผู้เข้าแข่งขันทายตัวเลข 0-99 โดยพิธีกรจะบอกใบ้ว่าใกล้เคียงเลขอันตรายหรือไม่ ถ้าพิธีกรใบ้ว่า ตัวเลขที่ทายออกมาไม่ใช่เลขอันตรายซึ่งพิธีกรจะบอกว่ามากไปหรือน้อยไป ตัวเลขที่ทายพร้อมทั้งตัวเลขที่อยู่ในช่วงที่พิธีกรใบ้จะถูกตัดออก เช่น หากผู้แข่งขันคนแรกทายว่า 25 แล้วพิธีกรบอกว่า "น้อยไป" ตัวเลขตั้งแต่ 0-25 จะถูกตัดออก และผู้เข้าแข่งขันท่านต่อไปจะทายเลขต่อ ๆ ไปจนกระทั่งมีผู้ทายตัวเลขตรงกับเลขอันตราย (หากเหลือจำนวนตัวเลขน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน พิธีกรจะให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกเลขที่เหลือคนละตัวตามลำดับการเล่น จากนั้นจะเฉลยเลขอันตรายทันที) ผู้เข้าแข่งขันที่ทายตรงกับเลขอันตราย จะถูกยิงด้วยกระสุนแป้ง,ตกรอบและเกมจะยุติลงทันที (ในเทปสงกรานต์จะใช้น้ำ+แป้งในขันสาดผู้เข้าแข่งขัน)
บางเทปที่มีการออกอากาศ พิธีกรจะนำนักเรียนนักศึกษาที่มาชมในห้องส่ง (ในวันที่บันทึกเทป) มาร่วมเล่นกับผู้เข้าแข่งขันด้วยการมัดคู่กับผู้เข้าแข่งขันเพื่อร่วมชะตากรรมเดียวกัน โดยการเลือกนั้นจะขึ้นอยู่กับพิธีกรว่าให้ไปคู่กับใคร หรือไม่ก็ตามความต้องการของนักเรียนที่เข้ามาร่วมเล่นด้วย
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ การปล่อยมุกฮาโดยพิธีกรหรือสมาชิกหน่วยพิฆาตในรอบนี้ เพื่ออำผู้เข้าแข่งขัน และเป็นการลดความเกร็งจากเกม
ชิงตัวประกัน[แก้]
กติกา[แก้]
ในช่วงที่สองของเกมผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ 4 คนจะถูกแบ่งทีมแบ่งละ 2 ทีม ทีมละ 2 คนโดยกติกามีอยู่ว่า ให้คนในทีมเข้าไปในเป็นตัวประกัน ส่วนอีกคนจะเลือกคำปริศนามา 1 จาก 4 คำปริศนาด้วยกัน (ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 และช่วงปี พ.ศ. 2545 - 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 6 คำปริศนา) ซึ่งผู้ที่เป็นตัวประกันจะบอกโค้ดลับให้ผู้ร่วมทีมครั้งละ 1 พยางค์ (หากเกินพยางค์เดียวหรือมีหางเสียงออกมา หรือมีเสียงอื่น จะถือว่าฟาล์ว แต่บางครั้งจะไม่บอกหากตัวประกันยังคิดไม่ออก จะถือว่าไม่มีการใบ้ในโค้ดลับนั้น) คนที่ช่วยตัวประกันจะมีเวลาตอบ 5 วินาที ถ้าหมดเวลาแล้วยังไม่สามารถตอบถูก ตัวประกันจะได้ให้โค้ดลับเพิ่ม แต่ถ้าตอบถูกต้องก็ถือว่าช่วยตัวประกันได้สำเร็จและจะได้คะแนนไปโดยในโค้ดลับแรกจะมี 5 คะแนน โค้ดลับที่สองจะมี 4 คะแนน โค้ดลับที่สามจะมี 3 คะแนน โค้ดลับที่สี่จะมี 2 คะแนน โค้ดลับสุดท้ายจะมี 1 คะแนน ต่อมาเป็นสามโค้ดลับในรอบแรก เป็น 3/2/1 คะแนน
ส่วนการใบ้รอบที่ 2 ผู้เล่นในทีมจะสลับหน้าที่กัน กล่าวคือ ผู้ที่เป็นคนช่วยตัวประกันในรอบที่แล้วจะต้องเป็นตัวประกัน และตัวประกันในรอบที่แล้วก็จะต้องเป็นคนช่วยตัวประกันแทน และคะแนนในรอบที่ 2 ก็จะเพิ่มเป็น 2 เท่า (10 คะแนน / 8 คะแนน / 6 คะแนน / 4 คะแนน / 2 คะแนน ซึ่งภายหลังเป็น 3 โค้ดลับในรอบที่ 2 เป็น 6/4/2 คะแนน)และถ้าใครทำคะแนนน้อยกว่าตกรอบและเกมจะจบลงทันที
เก้าอี้เลื่อน[แก้]
รูปแบบแรกของเกมชิงตัวประกันผู้แข่งขันในทีมจะถูกทีมงานจับและนั่งเก้าอี้เลื่อนออกมาและถูกแต่งหน้าให้คล้ายกับถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกแต่งตัวในรูปแบบต่าง ๆ เมื่อใบ้เสร็จก็จะเข็นกลับเข้าไป แต่เมื่อยังทายไม่ถูกตัวประกันก็จะถูกแต่งไปเรื่อย ๆ หากครบ 5 โค้ดลับ ซึ่งภายหลังมาเป็น 3 โค้ดลับ แล้วยังทายคำปริศนาไม่ถูก ตัวประกันจะถูกปล่อยออกมา และหน่วยพิฆาตจะยิงกระสุนแป้งไล่หลังมาด้วยหรือในบางครั้งตัวประกันจะทำท่าเจ็บตัว แต่ถ้าชิงตัวประกันได้สำเร็จ ตัวประกันจะทำการแกล้งหน่วยพิฆาตกลับคืน เช่น ยิงปืนกระสุนแป้ง ทำให้หน่วยพิฆาตคนใดคนหนึ่งเละหรือเละยกทีมแบบเดียวกับตนเอง (ใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - กลางปี พ.ศ. 2542)
กำแพงมรณะ[แก้]
อย่างไรก็ดี ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนโดยใช้ประตูมรณะ ซึ่งมีลักษณะเป็นหนามอยู่บริเวณขอบประตู ก่อนที่จะเป็นหนามเป็นเข็มฉีดยา แต่ในบางครั้งจะเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ แทนการใช้หนามเพื่อความขบขัน โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถตอบถูกประตูมรณะจะเคลื่อนที่ 1 ขั้น (ประตูมรณะมี 3 ระดับ คือ ระยะห่าง ระยะกลาง และระยะประชิด) ส่วนตัวประกันจะบอกโค้ดลับอีก 1 ครั้ง และเมื่อตอบไม่ได้ในโค้ดลับสุดท้าย (โค้ดลับที่ 3) พิธีกรจะสั่งว่า “ประตูมรณะ อัดเลย” และตัวประตูมรณะจะหนีบตัวประกัน (ในกรณีที่ทีมที่เล่นทีหลัง ไม่สามารถใบ้คำให้มีคะแนนชนะหรือเสมอทีมตรงข้าม ตัวประกันจะถูกประตูมรณะหนีบทันที ถึงแม้ว่าจะใบ้ไม่ครบ 3 คำใบ้ก็ตาม) เมื่อโดนประตูมรณะทับผู้ที่เป็นตัวประกันจะถูกอยู่ในสภาพของแป้ง,ลิปสติก,ไข่หรืออื่นๆที่เลอะ (ใช้ตั้งแต่ กลางปี พ.ศ. 2542 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548)
ในตอนแรก (กลางปี พ.ศ. 2542 - ปลายปี พ.ศ. 2542) ตอนทีกำแพงจะเคลื่อนที่ 1 ขั้น (ตอบโค้ดลับที่ 1 และ 2 ไม่ได้) พิธีกรจะสั่งว่า "กำแพงมรณะ ทำงาน” และตัวกำแพงจะมีการขู่คำราม (ถ้าผิดโค้ดลับสุดท้าย) สั่งว่า ''กำแพงมรณะพิฆาต" ตัวประกันจะโดนกำแพงทับทันที ต่อมาจะสั่งว่า “ประตู อัดเลย" 3 รอบในกรณีตอบผิด3ข้อ และตัวกำแพงจะมีการขู่คำราม 3 ที รูปแบบที่สอง (ปลายปี พ.ศ. 2542 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548) ตัวกำแพงจะเคลื่อนที่ 1 ขั้นแบบอัตโนมัติและตัวกำแพงจะไม่มีการขู่คำราม (ตอบโค้ดลับที่ 1 และ 2 ไม่ได้) ถ้าผิดข้อสุดท้าย จะสั่งว่า “ประตูมรณะ อัดเลย”
กรณีเสมอกัน[แก้]
ในกรณีที่เสมอกัน ก็จะต้องตัดสินด้วยการวัดลูกตุ้มระเบิด โดยแต่ละฝ่ายจะต้องเลือกแท่นลูกตุ้มระเบิดของตัวเอง และฝ่ายใดที่มีลูกตุ้มระเบิดมากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ (ทั้งนี้ ภายในตุ้มระเบิด อาจจะมีลูกระเบิดแค่ครึ่งลูก หรือไม่มีเลยก็เป็นได้ หรือตุ้มระเบิดทั้ง 2 มีลูกระเบิด 1 ลูกเท่ากัน พิธีกรจะทำการตรวจสอบ แล้วจะมีลูกระเบิดลูกใดลูกหนึ่งที่สามารถเปิดออกมา แล้วมีลูกระเบิดขนาดเล็กซ่อนอยู่ 3-4 ลูก ทีมที่เลือกตุ้มระเบิดนี้จะชนะไป เพราะมีจำนวนลูกระเบิดมากกว่า)
นำมาดัดแปลง[แก้]
แต่ก่อนที่รายการจะใช้ลูกตุ้มระเบิดในการตัดสิน ทางรายการเคยใช้ คำปริศนา ในการตัดสิน โดยจะมีคำปริศนามาทั้งหมด 2 คำปริศนา แล้วผลัดกันทายเหมือนในช่วงแรก ทีมใดมีคะแนนมากสุด ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ และในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รายการ My Man Can แฟนฉันเก่ง ได้จำลองเอากติกาในเกมชิงตัวประกันมาเป็นหนึ่งในภารกิจในรายการอีกด้วย
ข้อสังเกต[แก้]
จุดเด่นของรอบชิงตัวประกันคือ การแกล้งตัวประกันในแบบต่าง ๆ เช่น การหลอกถามบางอย่างเพื่อให้ตัวประกันเผลอพูดคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับโค้ดลับออกมาซึ่งเป็นการทำให้เสียสิทธิ์โดยที่ไม่รู้ตัว และการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ มาแกล้งตัวประกันก่อนที่จะใบ้โค้ดลับออกมา เสมือนเป็นการทำให้ผู้ชมขำขันและไม่เสียอรรถรสในการชม
ปั้นจั่นนรก[แก้]
ในช่วงที่สามของเกม ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่ 2 คน จะต้องมาแข่งขันกันเอง ซึ่งในยุคแรกของเกมนี้จะเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องลับ ๆ ที่ไม่เคยเปิดเผยของผู้เข้าแข่งขัน (โดยในรายการเรียกว่าแฟ้มลับจารชน) โดยผู้ที่ทายแฟ้มลับนั้นตอบถูก จะเป็นคนสับคัทเอาท์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟ้มจะต้องไปนั่งใต้ปั้นจั่น แต่ถ้าผู้ที่ทายแฟ้มลับนั้นตอบผิด ต้องไปนั่งใต้ปั้นจั่น และเจ้าของแฟ้มลับจะไปสับคัทเอาท์ (ใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม - 20 เมษายน พ.ศ. 2541) ต่อมาได้ใช้วิธีดึงดาบแทน โดยจะต้องผลัดกันเลือกฝั่งที่จะดึงดาบ ในระยะแรกนั้นมีดาบให้เลือก 10 เล่ม ภายหลังได้เปลี่ยนจากการเลือกดาบที่ละเล่ม เป็นเลือกฝั่งซ้ายหรือขวา ต่อมาเป็นฝั่งแดงกับฝั่งน้ำเงิน และสุดท้ายเป็นฝั่งเขียวกับฝั่งส้ม ซึ่งดาบจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละครั้ง เช่น มีดปังตอ, ดาบวงพระจันทร์, ดาบท่อยาว หรือแม้กระทั่ง ดาบที่ไม่มีใบมีด (มีแต่ด้ามอย่างเดียว) ต่อมาได้มีการพลิกแพลงทำดาบในลักษณะแปลก ๆ ออกมาให้ผู้ชมได้ขำขันกัน เช่น ดาบหัวตุ๊กตา ดาบไข่ ดาบสัตว์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งรูปของคุณมยุราและสามี รวมถึงโลโก้รายการระเบิดเถิดเทิง (ในเทปวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2542) ก็เคยใช้เป็นดาบมาแล้ว (ใช้ตั้งแต่ 27 เมษายน พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543) ด้วยกติกาที่มีอยู่ว่าผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในการทายแฟ้มลับหรือดึงดาบเข้าไปนั่งใต้ปั้นจั่นที่ลอยอยู่ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ชนะจะทำการเลือกคันโยกคันใดคันหนึ่งจาก 5 คันโยก ถ้าคันโยกหรือคัทเอาท์ที่เลือกนั้นโยกแล้วไม่ตรงกับที่ทีมงานได้กำหนดไว้คือรอด และกลับไปทายแฟ้มลับหรือดึงดาบกันต่อในรอบต่อไป แต่เมื่อโยกคันโยกที่ตรงกับทางทีมงานได้กำหนดไว้ ปั้นจั่นทำงาน ทำให้ผู้เข้าแข่งขันโดนปั้นจั่นทับนั่นก็คือตกรอบและเกมจะหยุดลง โดยเมื่อโดนปั้นจั่นทับแล้ว พื้นที่ตรงเก้าอี้ที่ผู้เข้าแข่งขันนั่งจะโหลดต่ำลงไป เพื่อให้ดูเหมือนว่าโดนปั้นจั่นทับลงไป
โดยผู้เข้าแข่งขันที่ถูกปั้นจั่นนรกทับจะถูกทีมงานที่อยู่ด้านหลังปั้นจั่นละเลงแป้งและผงถ่านจนมีสภาพเปรอะเปื้อน และได้รับทองคำ 3 บาท เป็นการปลอบใจ (ในช่วงวันที่ 16 มีนาคม - ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541) ไม่ได้รับอะไรเลย (ประมาณเดือน มิถุนายน - ช่วงปลายปี พ.ศ. 2541) ได้รับผลิตภัณฑ์สบู่ฮาร์โมนี่ 1 ตะแกรง เป็นการปลอบใจ (ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543) โดยเกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543
เหมืองมรณะ[แก้]
ในปี พ.ศ. 2543 ทีมงานได้เปลี่ยนเกมในช่วงที่สามมาเป็นเหมืองมรณะโดยผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่ 2 คนต้องเล่นเกมโดยกติกาของเกม คือ ผู้เข้าแข่งขันต้องนั่งรถเลื่อนที่ใช้ในเหมืองคือรถขนหินขนแร่ ภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้กระป๋องเป๊ปซี่ขนาดยักษ์ จากนั้นเลือกคำถามที่มีอยู่ทั้งหมด 10 ข้อด้วยกัน โดยคำถามแต่ละแผ่นป้ายนั้นเป็นคำถามที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปที่อยู่รอบตัว คำถามที่ถามจากเรื่องราวที่เป็นกระแสในขณะนั้น และคำถามที่ใช้การสำรวจแบบสอบถามทั่วไปหรือโพลซึ่งคำตอบและข้อมูลที่นำมาเป็นคำถามนั้นอ้างอิงและมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น นิตยสาร, เว็บไซต์หรือสำนักโพลต่าง ๆ โดยคำตอบจะมีเพียง 2 คำตอบ และมี 1 คำตอบที่ถูกต้อง เมื่อผู้เข้าแข่งขันตอบถูก รถของฝ่ายตรงข้ามจะเลื่อนลงไปในเหมือง 1 ขั้น แต่ถ้าตอบผิดรถของตนเองจะโดนเลื่อนเข้าเหมืองไป 1 ขั้นแทน จากนั้นจะผลักกันเลือกคำถามจากแผ่นป้ายที่เหลือ และทำเช่นนี้จนกว่ารถของผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งเข้าเหมืองไป ระดับของรถเลื่อนของแต่ละฝ่ายจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับ และเมื่อคนใดคนหนึ่งตกเหมืองเกมจะยุติลง
ผู้เข้าแข่งขันที่ตกลงไปอยู่ในเหมืองจะถูกทีมงานละเลงแป้งและผงถ่านจนมีสภาพเปรอะเปื้อน และได้รับผลิตภัณฑ์จากทางรายการ 1 คันรถ (ผู้สนับสนุนรายการในขณะนั้น เช่น สบู่วาสลีนฮาร์โมนี่ต่อมาเป็นผงซักฟอกบรีส) เป็นการปลอบใจ โดยเกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2543 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548
รอบสะสมทองคำ[แก้]
สำหรับรอบสะสมทองคำนั้นมี 1 รอบหลังจากจบการแข่งขันรอบชิงตัวประกัน แต่ในช่วงแรกของรายการจะให้ผู้ที่ชนะการแข่งขันสะสมทองคำก่อน โดยทองคำที่สะสมได้จะเป็นของผู้ที่เข้ารอบ Jackpot โดยอาจจะถูกคูณ 20 เท่าด้วย
ตามล่าเอเลี่ยน[แก้]
ในเกมตามล่าเอเลี่ยนจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ซันซิล โปรคัลเลอร์และรองเท้านักเรียนแพน รุ่นสกายพลัสและพีเอส.จูเนียร์ตามลำดับ) และเปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายซึ่ง 4 แผ่นป้ายจะเป็นป้ายรูปเอเลี่ยนทั้ง 4 สี อีก 8 แผ่นป้ายจะเป็นเครื่องหมายกากบาท โดยจะมีทองคำหนัก 8 บาทสะสมอยู่แล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้ายเพื่อหาเอเลี่ยนให้ครบทั้ง 4 ตัว โดยแผ่นป้ายเอเลี่ยนแต่ละตัวจะมีค่าเป็นทองคำหนัก 1 บาท แต่ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายกากบาทก็จะไม่ได้รับอะไรในแผ่นป้ายนั้นและยังต้องเสียทองครั้งละ 1 บาท ผู้เล่นจะต้องเปิดแผ่นป้ายไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเปิดเจอเอเลี่ยนครบทั้ง 4 ตัว เกมจะจบลง โดยจะได้รับทองคำจากแผ่นป้ายเอเลี่ยน 4 บาท รวมกับจำนวนแผ่นป้ายกากบาทที่ไม่ถูกเปิด ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นทองคำหนัก 1 บาท แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายเอเลี่ยนได้ครบ 4 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 12 บาท
โดยจะเป็นของผู้ที่ชนะการแข่งขัน และอาจจะถูกคูณในรอบโคลนนิ่งเอเลี่ยน/บิ๊กเอเลี่ยน ถ้าแจ็คพอตแตก เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543
ขุมทองจารชน[แก้]
ในเกมขุมทองจารชนจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายซึ่งจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำหนักแผ่นป้ายละ 1 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ เครื่องสำอางสกาแคร์ ต่อมาเป็นรองเท้านักเรียน Pan และ Ps. Junior ชุดเครื่องนอนซาติน และยูโร่เค้กและแฟมิลี่) ส่วนป้ายหยุดมี 2 แผ่นป้าย เป็นรูปเอเลี่ยน ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการได้ครบ 10 แผ่นป้าย หรือเปิดแผ่นป้ายหยุดครบ 2 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับทองคำหนัก 12 บาท ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นป้ายหยุด ถือว่าเกมหยุดและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าแผ่นป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วแผ่นป้ายต่อไปเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการ เกมจะหยุดลงและได้รับทองคำสะสมหนัก 1 บาทไปด้วย
ทั้งนี้ทองคำที่สะสมมานั้นจะเป็นของผู้ที่เข้ารอบบิ๊กเอเลี่ยน และอาจจะถูกคูณอีก 20 เท่าในรอบบิ๊กเอเลี่ยน ถ้าแจ็คพอตแตก เกมนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2543 จนถึงเทปสุดท้าย ทั้งนี้ในยุคที่ชุดเครื่องนอนซาตินเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ รายการจะมอบชุดเครื่องนอนซาตินคนละ 1 ชุด ให้กับผู้เข้าแข่งขัน 2 คน ที่เข้ามาในรอบสะสมทองคำ
รอบแจ็คพอต[แก้]
โคลนนิ่งเอเลี่ยน[แก้]
ในรอบสุดท้าย (Jackpot) ของเกมจารชน จะเป็นการเปิดแผ่นป้ายรูปเอเลี่ยน โดยรูปแบบแรก (พ.ศ. 2541 - 2542) จะเป็นการจับคู่รูปเอเลี่ยนอยู่ 4 แผ่นป้าย โดยพิธีกรจะถามว่าสีไหนวางตรงไหนหรือบางครั้งจะถามว่าป้ายไหนเป็นสีอะไร ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกวางแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการในเครือยูนิลีเวอร์ทั้งหมด 4 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผงซักฟอกบรีส ต่อมาเปลี่ยนเป็นสบู่ฮาร์โมนี) โดยแผ่นป้ายนั้นจะมีรูปเอเลี่ยนทั้ง 4 สี (เขียว, เหลือง, แดง, น้ำเงิน) อย่างละป้าย ถ้าเฉลยโดยการเปิดป้ายแล้วสีไม่ตรงกัน(ทายผิด)แจ็คพอตจะไม่แตกและเกมจะจบลง ทั้งนี้เมื่อเปิดป้ายจับคู่เอเลี่ยนได้ถูกต้องทั้ง 4 สีจะได้รับได้รับรางวัลเป็นทองคำที่สะสมไว้ในรอบตามล่าเอเลี่ยนคูณอีก 20 เท่า โดยทองคำจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 10 เท่า โดยจะเป็นของผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนนั่นเอง ในเกมนี้เคยมีผู้ทำแจ็คพอตแตก 2 ท่าน คือ สายธาร นิยมการณ์ ในปี พ.ศ. 2541 ได้รับทองคำหนักรวม 50 บาท และ แคทรียา อิงลิช ในปี พ.ศ. 2542 ได้รับทองคำหนักรวม 70 บาท
สำหรับกติกาในการชิงโชคของคนทางบ้าน คือ คนที่ตกรอบเลขอันตรายจะจับชิ้นส่วนผู้โชคดีขึ้นมา 1 ชิ้นให้ผู้โชคดีรับไปก่อนทองคำหนัก 1 บาท เมื่อผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้ายสะสมทองได้เท่าไหร่ถ้าคูณทองได้สำเร็จจะได้รับทองเท่ากับผู้เข้าแข่งขันรางวัลสูงสุดอาจจะได้ทองคำหนักถึง 120 บาท แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 ท่านจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาเมื่อแข่งจบชิ้นส่วนของผู้ที่เข้ารอบสุดท้ายจะได้รับไปเลยทองคำหนัก 120 บาททันทีส่วนชิ้นส่วนของผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท
บิ๊กเอเลี่ยน[แก้]
ในปี พ.ศ. 2542 ได้ปรับเปลี่ยนจากการจับคู่เอเลี่ยนมาเป็นการเรียงลำดับขนาดของเอเลี่ยนที่ปรากฏหลังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการในเครือยูนิลีเวอร์ทั้งหมด 5 แผ่นป้ายให้ถูกต้อง เช่นเดียวกับรอบแจ็คพอตในรายการเวทีทอง ในปี พ.ศ. 2536 - 2545, ครัวตัวเอ้, เกมพันหน้า และรายการพลิกล็อก (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ สบู่ฮาร์โมนี สบู่ฮาร์โมนี ดีโอแอคทีฟและผงซักฟอกบรีส) กติกาคือผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้าย 5 แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการมาเรียงต่อกัน เพื่อเพาะเลี้ยงเอเลี่ยนให้สมบูรณ์ โดยจะมีแผ่นป้ายรูปเอเลี่ยนขนาดเล็กสุด จนถึงแผ่นป้ายเอเลี่ยนขนาดใหญ่สุด โดยเมื่อเลือกแผ่นป้ายผู้สนับสนุนรายการเสร็จสิ้น พิธีกรจะเปิดแผ่นป้ายจากซ้ายสุด เมื่อผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกแผ่นและเรียงลำดับขนาดของเอเลี่ยนได้ถูกต้องจะได้รับรางวัลเป็นทองคำที่สะสมไว้ในรอบตามล่าเอเลี่ยน (พ.ศ. 2542 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2543) หรือขุมทองจารชน (2 เมษายน พ.ศ. 2543 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2548) คูณอีก 20 เท่า ถ้าหากเปิดได้แผ่นป้ายที่ขนาดเอเลี่ยนเล็กกว่าที่เปิดในป้ายที่ผ่านมา เกมจะจบลงทันที โดยหากทองคำที่สะสมไว้ถูกคูณ 10 เท่า ทองคำจะเป็นของผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนนั่นเอง ในเกมนี้เคยมีผู้ทำแจ็คพอตแตกเพียงท่านเดียว คือ ดนัย จิรา ได้ทองคำหนักรวม 10 บาท
สำหรับกติกาในการชิงโชคของคนทางบ้าน คือ คนที่ตกรอบเลขอันตรายจะจับชิ้นส่วนผู้โชคดีขึ้นมา 1 ชิ้นให้ผู้โชคดีรับไปก่อนทองคำหนัก 1 บาท เมื่อผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบสุดท้ายสะสมทองได้เท่าไหร่ถ้าคูณทองได้สำเร็จจะได้รับทองเท่ากับผู้เข้าแข่งขันรางวัลสูงสุดอาจจะได้ทองคำหนักถึง 120 บาท แต่ถ้า 6 เดือนแจ็คพอตไม่แตกผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 ท่านจะจับชิ้นส่วนขึ้นมาเมื่อแข่งจบชิ้นส่วนของผู้ที่เข้ารอบสุดท้ายจะได้รับไปเลยทองคำหนัก 120 บาททันทีส่วนชิ้นส่วนของผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบจะได้รับทองคำหนัก 1 บาท
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เกมจารชน ที่เฟซบุ๊ก
- เกมจารชน ที่อินสตาแกรม