การเกณฑ์ทหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกณฑ์ทหาร)
  ไม่มีกองทัพ
  ปัจจุบันไม่บังคับเกณฑ์ทหาร
  มีตามกฎหมาย
  กำหนดเลิกเกณฑ์ทหารในอนาคตอันใกล้
  ปัจจุบันมีการเกณฑ์ทหาร
  ไม่มีข้อมูล

การเกณฑ์ (อังกฤษ: conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน

การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยการออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยการจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ์

ประวัติ[แก้]

ยุคศักดินา[แก้]

ตั้งแต่สมัยกลางในยุคศักดินา ได้มีการเกณฑ์แรงงานประชาชนเพื่อทำกิจการต่างๆ รวมถึงกิจกรรมทางทหารโดยกษัตริย์หรือผู้ปกครองในท้องถิ่น โดยมักจะกำหนดให้ชายที่มีอายุตามที่ระบุมีหน้าที่ต้องไปใช้แรงงานให้กับรัฐ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ากระทำผิดกฎหมายและต้องได้รับการลงโทษ อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และระยะเวลาที่ต้องเข้าไปใช้แรงงานนั้นอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน

ระบบทาสทหาร[แก้]

สุลต่านหรือผู้นำทางทหารของจักรวรรดิออตโตมัน ได้ลักพาเด็กจำนวนมากโดยเฉพาะลูกหลานชาวยุโรปเพื่อนำไปฝึกใช้กำลังอาวุธ กองกำลังทหารทาสนี้มีชื่อเรียว่า Kapıkulu ในปี ค.ศ. 1609 กองกำลังดังกล่าวมีจำนวนมากถึง 100,000 นาย วิธีการลักพาตัวเด็กที่ไม่ใช่มุสลิมและนำมาล้างสมองฝึกใช้เป็นทาสทหารนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศในตะวันออกกลาง เช่น กรณี Mamluk และในทวีปแอฟริกา เช่น กรณี Black Guard

ระบบการเกณฑ์ทหารสมัยใหม่[แก้]

ระบบการขึ้นบัญชีประชาชนในชาติเป็นทหารนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อให้สาธารณรัฐมีกำลังป้องกันตัวเองจากการรุกรานของราชอาณาจักรยุโรปอื่น ๆ พระราชบัญญัติที่ออกเมื่อ 5 กันยายน ค.ศ. 1798 มีมาตราหนึ่งกล่าวว่า "ชายฝรั่งเศสทุกคนเป็นทหารและมีหน้าที่ในการปกป้องประเทศชาติ"

ในสหรัฐอเมริกานั้นการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกาโดยฝ่าย Union Army ตามพระราชบัญญัติ Enrollment Act ปี ค.ศ. 1863 นั้นอนุญาตให้มีการจ้างบุคคลอื่นเข้ารับราชการทหารแทนได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจกันในหมู่สาธารณชน และเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้น

การส่งทหารเกณฑ์ไปสู้รบในสมรภูมิต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตุภูมิของตนเองเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหลายประเทศ เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มีการถกเถียงเรื่องการเกณฑ์ทหารกันอย่างแพร่หลายใน แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มิได้อยู่ในขอบเขตของสงคราม แต่ได้ส่งทหารไปร่วมรบด้วย ต่อมาสงครามเวียดนามก็ก่อให้เกิดประเด็นการถกเถียงอย่างนี่อีกเช่นกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970

รายชื่อประเทศที่มีและไม่มีการเกณฑ์ทหาร[แก้]

ตัวอย่างเปรียบเทียบตามประเทศ
ประเทศ พื้นที่ (กม.2)[1] GDP (ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[2] GDP ต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)[3] ประชากร[4] การปกครอง[5] การเกณฑ์ทหาร[6]
 แอลเบเนีย 27,398 $ 10,620 $ 2,949.57 3,619,778 ประชาธิปไตยเกิดใหม่ ไม่มี (ยกเลิก ค.ศ. 2010)
 แอลจีเรีย 2,381,740 $ 90,000 $ 2,700.01 33,333,216 สาธารณรัฐ มี
 แองโกลา 1,246,700 $ 28,610 $ 2,332.92 12,263,596 สาธารณรัฐ; ระบบประธานาธิบดีหลายพรรคการเมือง มี
 อาร์เจนตินา 2,736,690 $ 210,000 $5,210.67 40,301,927 สาธารณรัฐ ไม่มี; สมัครใจ อาจมีการสั่งเกณฑ์ทหารได้ด้วยเหตุผลจำเพาะ ตาม Public Law No.24.429 ประกาศใช้ 5 มกราคม ค.ศ. 1995
 ออสเตรเลีย 7,617,930 $ 644,700 $31,550.09 20,434,176 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ; ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา; สหพันธรัฐ ไม่มี (รัฐสภายกเลิก ค.ศ. 1972)[7]
 ออสเตรีย 82,444 $ 310,100 $ 37,818.07 8,233,300 สาธารณรัฐ; สหพันธรัฐ มี (มีราชการทางเลือก)
 บาฮามาส 10,070 $ 6,586, $ 21,547.17 307,451 ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ไม่มี
 บังกลาเทศ 133,910 $ 72,420 $ 481.36 153,546,896 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
 เบลเยียม 30,528 $ 316,200 $ 31,400 10,584,534 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ; ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา; สหพันธรัฐ ไม่มี (ยุติการเกณฑ์ทหารตั้งแต่ ค.ศ. 1994)
 เบลีซ 22,806 $ 1,274 $ 4,327.67 301,270 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี; สมัครใจ
 ภูฏาน 47,000 $ 1,308 $ 561.89 682,321 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
 โบลิเวีย 1,084,390 $ 13,190 $ 1,446.41 9,247,816 สาธารณรัฐ มี (เฉพาะเมื่อจำนวนผู้สมัครต่อปีน้อยกว่าเป้า)
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 51,197 $ 14,780 $ 3,246.78 4,590,310 สมาพันธรัฐ,ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี (ยกเลิก 1 มกราคม ค.ศ. 2006)
 บราซิล 1,314,000 $ 967,000 $ 6,915.40 196,342,592 สาธารณรัฐ รัฐรวม มี
 บัลแกเรีย 110,550 $ 39,610 $ 5,409.09 7,262,675 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี (ยกเลิก 1 มกราคม ค.ศ. 2008[8])
 พม่า 657,740 $ 13,530 $ 285.60 47,758,180 ประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี แหล่งข้อมูลขัดแย้งกัน; มี แต่ไม่บังคับใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011, ไม่มี (FWCC)
 จีน 9,326,410 $ 3,251,000 $ 2,459.43 1,330,044,544 รัฐคอมมิวนิสต์ ไม่มี (พลเมืองที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปต้องไปขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานของกองทัพปลดปล่อยประชาชน แต่นโยบายนี้ไม่ถูกบังคับใช้)
 โครเอเชีย 56,414 $ 51,360 $ 11,430.32 4,491,543 ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2008)[9]
 คิวบา 110,860 $ 45,580 $ 4,000.34 11,423,952 รัฐคอมมิวนิสต์ มี
 เดนมาร์ก 42,394 $ 311,900 $ 57,039.71 5,484,723 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มี (มีราชการทางเลือก)
 จิบูตี 22,980 $ 841 $ 1,694.29 506,221 สาธารณรัฐ ไม่มี
 เอลซัลวาดอร์ 20,720 $ 20,370 $ 2,931.75 7,066,403 สาธารณรัฐ มี (ทางนิตินัย); ไม่มี (ทางพฤตินัย)
 ฟินแลนด์ 304,473 $ 245,000 $ 46,769.47 5,244,749 สาธารณรัฐ มี (มีราชการทางเลือก)
 ฝรั่งเศส 640,053[10] $ 2,560,000 $ 35,240.62 61,037,510 สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2001)
 แกมเบีย 10,000 $ 653 $ 386.77 1,735,464 สาธารณรัฐ ไม่มี
 เยอรมนี 349,223 $ 3,322,000 $40,315.05 82,369,552 สาธารณรัฐ; สหพันธรัฐ ไม่มี (ระงับสำหรับยามสงบใน ค.ศ. 2001)
 กรีซ 130,800 $ 314,600 $29,384.60 10,722,816 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มี
 กรีเนดา 344 $590 $ 6,557.67 90,343 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มีกองกำลังป้องกันตนเอง
 ฮังการี 92,340 $ 138,400 $ 13,901.01 9,930,915 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี (การเกณฑ์ทหารในยามสงบยกเลิกใน ค.ศ. 2004)
 อิหร่าน 1,636,000 $ 193,500 $ 2,958.83 68,251,090 สาธารณรัฐ; เทวาธิปไตย มี
 อินเดีย 2,973,190 $ 1,099,000 $ 972.68 1,147,995,904 สหพันธรัฐ ไม่มี
 อิสราเอล 20,330 $ 161,900 $ 25,191.86 7,112,359 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มี
 จาเมกา 10,831 $ 11,210 $ 4,032.18 2,804,332 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
 ญี่ปุ่น 374,744 $ 4,384,000 $ 34,402.26 127,288,416 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
 จอร์แดน 91,971 $ 16,010 $ 2,644.89 6,198,677 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
 เกาหลีเหนือ 120,410 $ 40,000[11] $ 1,800[11] 23,479,088[11] รัฐพรรคการเมืองเดียว; เผด็จการตระกูล มี[12]
 เกาหลีใต้ 98,190 $ 957,100 $ 19,514.81 48,379,392 สาธารณรัฐ มี
 คูเวต 17,820 $ 60,720 $ 24,234.11 2,505,559 สมบูรณาญาสิทธิราชภายใต้รัฐธรรมนูญ มี
 เลบานอน 10,230 $ 24,640 $ 6,276.90 3,971,941 สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกในปี ค.ศ. 2006)[13]
 ลิเบีย 1,759,540 $ 57,060 $ 9,451.85 6,173,579 รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน มี
 ลักเซมเบิร์ก 2,586 $ 50,160 $ 104,451.69 486,006 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
 มาซิโดเนียเหนือ 24,856 $ 7,497 $ 3,646.55 2,061,315 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเมื่อ ค.ศ. 2006)
 มาเลเซีย 328,550 $ 186,500, $ 7,513.71 25,274,132 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
 มัลดีฟส์ 300 $ 1,049 $ 2,842.58 385,925 สาธารณรัฐ ไม่มี
 มอลตา 316 $ 7,419 $ 18,460.73 403,532 สาธารณรัฐ ไม่มี
 มอลโดวา 33,371 $ 4,227 $ 978.36 4,324,450 สาธารณรัฐ มี
 เนเธอร์แลนด์ 33,883 $ 768,700, $ 46,389.35 16,645,313 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
 นิวซีแลนด์ 268,021 $ 128,100 $ 31,124.18 4,173,460 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
 ฟิลิปปินส์ 298,170 $ 144,100 $ 1,582.17 96,061,680 สาธารณรัฐ ไม่มี
 โปแลนด์ 304,459 $ 420,300 $ 10,911.71 38,500,696 สาธารณรัฐ ไม่มี[14]
 กาตาร์ 11,437 $ 67,760 $ 74,688.97 824,789 เอมิเรต ไม่มี
 โรมาเนีย 230,340 $ 166,000 $ 7,451.95 22,246,862 สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. 2007)[15]
 รัสเซีย 16,995,800 $ 1,290,000 $ 9,124.49 140,702,096 สหพันธรัฐ มี (มีราชการทางเลือก)
 รวันดา 24,948 $ 3,320 $335.10 10,186,063 สาธารณรัฐ; ระบบประธานาธิบดี ไม่มี
 ซาอุดีอาระเบีย 376,000 $ 276,900 $ 13,622.68 28,146,656 สมบูรณาญาสิทธิราช ไม่มี
 เซเชลส์ 455 $ 710 $ 8,669.64 82,247 สาธารณรัฐ ไม่มี
 สิงคโปร์ 682.7 $ 161,300 $ 35,427.12 4,608,167 รัฐสภา สาธารณรัฐ มี (คิดเป็นระยะเวลานานที่สุดในเอเชีย[16])
 สโลวีเนีย 20,151 $ 46,080 $ 22,933.99 2,007,711 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา สาธารณรัฐ ไม่มี
 แอฟริกาใต้ 1,219,912 $ 282,600 $ 6,423.04 48,782,756 สาธารณรัฐ ไม่มี
 สเปน 499,542 $ 1,439,000 $ 35,576.37 40,491,052 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ; ระบบรัฐสภา ไม่มี
 ซีเรีย 184,050 $ 37,760 $ 1,954.98 19,747,586 สาธารณรัฐ มี
 เอสวาตินี 17,203 $ 2,936 $ 2,591.20 1,128,814 สมบูรณาญาสิทธิราช ไม่มี
 สวิตเซอร์แลนด์ 39,770 $ 423,900 $ 56,111.06 7,581,520 สมาพันธรัฐ (นิตินัย); สหพันธรัฐ (พฤตินัย) มี (มีราชการทางเลือก)
 ไต้หวัน [17] 32,260 $ 383,300 $ 16,768.11 22,920,946 ประชาธิปไตยหลายพรรคการเมือง มี (มีราชการทางเลือก)[18])

มีแผนให้เป็นกองกำลังอาสาสมัครทั้งหมดเมื่อสิ้น ค.ศ. 2014 แต่ยังคงการเกณฑ์ทหารหลังจากนั้น[19]

 ไทย 511,770 $ 245,700 $ 3,776.0 72,493,296 ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มี
 ตองงา 718 $ 219 $ 1,873.06 119,009 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี
 ตรินิแดดและโตเบโก 5,128 $ 20,700 $19,590.99 1,047,366 ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ไม่มี
 ตุรกี 770,760 $ 663,400 $ 9,322.83 71,892,808 สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มี
 ยูเครน 603,700 $136,600 $3,034.57 45,134,707 สาธารณรัฐ ไม่มี (ยกเลิกใน ค.ศ. 2013)
 สหราชอาณาจักร 241,590 $ 2,773,000, $ 45,626.38 60,943,912 ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มี (ยกเว้นกรมเบอร์มิวดา)
 สหรัฐ 9,161,923 $ 13,840,000 $ 45,958.70 303,824,640 สหพันธรัฐ ไม่มี[20]
 วานูวาตู 12,200 $455 $ 2,146.52 215,446 สาธารณรัฐ; ระบบรัฐสภา ไม่มี
 เวเนซุเอลา 882,050 $285,200 $9,084.09 27,635,743 สหพันธรัฐ มี

ข้อโต้แย้งต่อต้านการเกณฑ์ทหาร[แก้]

สิทธิมนุษยชน[แก้]

การเกณฑ์ทหารขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยประเทศไทยออกเสียงสนับสนุน ข้อ 2 3 4 18 20 23

การใช้แรงงานทาส[แก้]

"การเกณฑ์ทหารเป็นการใช้แรงงานทาสรูปแบบหนึ่ง" อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ H.G. Wells, Bertrand Russell and Thomas Mann [21]

การเหยียดเพศ เหยียดอายุ[แก้]

การเกณฑ์ทหารอาจจำกัดเพศหรืออายุของผู้ที่ถูกเกณฑ์ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันของผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเกณฑ์ทหารกับผู้ที่ไม่อยู่ในกำหนดต้องเกณฑ์ทหาร

ปัญหาวินัยและคุณภาพของทหารเกณฑ์ที่ด้อยกว่าทหารอาสาและทหารอาชีพ[แก้]

ในสงครามเวียดนามมีกรณีทหารเกณฑ์สังหารกันเอง (Fragging) หรือการกลับไปเข้ากับฝ่ายตรงข้ามของ Andrey Vlasov ในสงครามโลก

ชาตินิยมและความแข็งกร้าวทางการทหาร[แก้]

"รัฐที่คิดว่าตัวเองสามารถบังคับประชาชนให้ไปร่วมสงครามได้ตามใจชอบ ย่อมไม่มีวันที่จะคิดถึงคุณค่าและความสุขของประชาชนในยามสงบ" ไอน์สไตน์และคานธี [22]

ความสิ้นเปลืองและสูญเสียทางเศรษฐกิจในยามที่บ้านเมืองสงบ[แก้]

ผลตอบแทนต่อต้นทุนของการเกณฑ์ทหารในยามสงบอยู่ในระดับต่ำเนื่องจาก การเกณฑ์ทหารมีต้นทุนที่รัฐต้องจ่ายโดยตรงในการฝึกอบรม และการที่ประชาชนมิได้ไปประกอบอาชีพของตนนั้นเป็นการใช้แรงงานจำนวนมากของชาติไปในทิศทางที่ไม่เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ [23]

ข้อโต้แย้งสนับสนุนการเกณฑ์ทหาร[แก้]

การสานต่อประเพณีและการฝีกฝนที่มีคุณค่า[แก้]

ในหลายประเทศทั่วโลกมีทรรศนคติการปกครองรากฐานจากประเพณีจารีตสังคมชายเป็นใหญ่การเกณฑ์ทหารนั้นมีจุดประสงค์และสืบทอดระบบจารีตชายเป็นใหญ่ให้คงไว้เป็นหลักประกันทางความคิดสำหรับประชาชนที่เป็นเพศชายทุกคนต่อไปในอนาคตเป็นรัฐปิตุลานิยมหรือคำจำกัดความหมายถึงการส่งต่อการฝึกฝนวิธีปกครอง การดำรงชีวิตและทรรศนคติเฉพาะผู้เป็นชายสมควรปฏิบัติทุกคนจากรุ่นสู่รุ่น ทางปฏิบัติเป็นการคัดเลือกเอาเฉพาะผู้ที่มีลักษณะครบสมบูรณ์กายภาพและจิตใจของความเป็นชายที่รัฐนั้นต้องการและเข้าประเภทที่ถือว่าดี โดยมีบททดสอบของความเป็นชายชาติทหารหรือชายชาตรีที่สุภาพบุรุษนั้นควรจะมี[ต้องการอ้างอิง]

ได้ความสามารถของบุคคลที่หลากหลายเข้ามาใช้ในงานบ้านเมือง[แก้]

บุคคลที่ถูกเกณฑ์ทหารมีที่มาหลากหลาย ต่างกันในทั้งความถนัดและการศึกษา หากทางการทหารนำความแตกต่างและความรู้ความสามารถที่ทหารเกณฑ์มีมาใช้ให้เหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ[ต้องการอ้างอิง]

แรงบันดาลใจทางการเมืองและจริยธรรม[แก้]

ชอง-ชาก รุสโซ ต่อต้านการใช้ทหารอาชีพและกล่าวว่าเป็นหน้าที่และสิทธิพิเศษของพลเมืองทุกคนที่จะปกป้องบ้านเมืองของตน[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nationmaster: Land area. SOURCE: All CIA World Factbooks เก็บถาวร 2011-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 December 2003 to 18 December 2008.
  2. Nationmaster: GDP. SOURCE: All CIA World Factbooks เก็บถาวร 2011-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 December 2003 to 18 December 2008
  3. Nationmaster: Per capita GDP. SOURCE: All CIA World Factbooks เก็บถาวร 2011-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 December 2003 to 18 December 2008.
  4. Nationmaster: Population. SOURCE: World Development Indicators database เก็บถาวร 2008-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and CIA World Factbooks เก็บถาวร 2011-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  5. Nationmaster: Government type. SOURCE: All CIA World Factbooks เก็บถาวร 2011-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 18 December 2003 to 18 December 2008.
  6. Nationmaster: Conscription. SOURCE: Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights, Geneva, Switzerland, 1997. Data collected from the nations concerned, unless otherwise indicated. Acronyms: Amnesty International (AI); European Council of Conscripts Organizations (ECCO); Friends World Committee for Consultation (FWCC); International Helsinki Federation for Human Rights (IHFHR); National Interreligious Service Board for Conscientious Objectors (NISBCO); Service, Peace and Justice in Latin America (SERPAJ); War Resisters International (WRI); World Council of Churches (WCC).
  7. Conscription was abolished by law in 1973.) But the Defence Act 1903 as amended retained a provision that it could be reintroduced by proclamation of the Governor-General. Potentially all Australian residents between the ages of 18 and 60 could be called up in this way. However, the Defence Legislation Amendment Act 1992 further provided that any such proclamation is of no effect until it is approved by both Houses of Parliament. Though actual legislation is not required, the effect of this provision is to make the introduction of conscription impossible without the approval of both the Senate and the House of Representatives, Gary Brown (October 12, 1999). "Current Issues Brief 7 1999-2000 — Military Conscription: Issues for Australia". Parliamentary library; Foreign Affairs, Defence and Trade Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
  8. Country report and updates: Bulgaria22 Oct 2008, War Resisters' International, 22 October 2008
  9. Croatia to abolish conscription military service sooner, Southeast European Times, May 10, 2007, สืบค้นเมื่อ 2008-05-30
  10. Includes the overseas regions of French Guiana, Guadeloupe, Martinique, and Reunion. France, CIA World Factbook, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24, สืบค้นเมื่อ 2008-04-09
  11. 11.0 11.1 11.2 "North Korea". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-18. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12. (2008 est.)
  12. "เกาหลีเหนือ, Military Conscription and Terms of Service". Based on the Country Studies Series by Federal Research Division of the Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12..
  13. Lebanon, CIA World Factbook, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24, สืบค้นเมื่อ 2008-05-30
  14. "Poland's defence minister, Bogdan Klich, said the country will move towards a professional army and that from January, only volunteers will join the armed forces.", Matthew Day (5 August 2008), Poland ends army conscription, telegraph.co.uk, สืบค้นเมื่อ 2009-02-11
  15. Background ไม่มีte: Romania, Bureau of European and Eurasian Affairs, US Department ofState, April 2008, สืบค้นเมื่อ 2008-05-30
  16. Lee, Kuan Yew. The Singapore Story: From Third World to First. Singapore Press Holdings
  17. "Taiwan". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2007-12-09. (estimates based on 2006 data)
  18. Substitute Service Center, Department Of Compulsory Military Service, Taipei City Government, สืบค้นเมื่อ July 25, 2008
  19. Jimmy Chuang (March 10, 2009), Professional military by 2014: MND, Taipei times.
  20. The United States abandoned the draft in 1973 under President Richard Nixon, ended the Selective Service registration requirement in 1975 under President Gerald Ford, and then re-instated the Selective Service registration requirement in 1980 under President Jimmy Carter. Today the U.S. Selective Service System remains as a contingency, should a military draft be re-introduced. For more information see the U.S. Selective Service System website.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  22. Einstein and Gandhi's Anti-Conscription Manifesto
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.