ฮ่วยซัว
ฮ่วยซัว | |
---|---|
![]() | |
ส่วนหนึ่งของหัวฮ่วยซัว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Dioscoreales |
วงศ์: | Dioscoreaceae |
สกุล: | Dioscorea |
สปีชีส์: | D. polystachya |
ชื่อทวินาม | |
Dioscorea polystachya Thunb. | |
ชื่อพ้อง | |
Dioscorea batatas auct. |

ฮ่วยซัว หรือ ไหฺวชาน หรือ กลอยจีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea polystachya; อังกฤษ: Chinese yam, Korean yam, nagaimo; จีน: 淮山; พินอิน: huáishān) เป็นพืชในสกุลกลอย (Diocorea) ซึ่งต่างจากสมาชิกอื่นที่สามารถรับประทานดิบได้ ในอาหารญี่ปุ่นนำไปรับประทานดิบหรือบด โดยนำทั้งหัวไปล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อล้างผลึกออกซาเลตออกก่อน
ชื่อเรียก
[แก้]ฮ่วยซัว (D. polystachya) มีชื่อเรียกหลายชื่อ ในมณฑลทางใต้ เช่นกวางตุ้งมักเรียกว่า "ฮ่วยซัว" ตามสำเนียงภาษาแต้จิ๋ว มณฑลอานฮุยและเจียงซูเรียก "ไหฺวชาน" ตามสำเนียงภาษาจีนกลาง แต่โดยทั่วไปในทางภาคกลางและภาคเหนือเรียก "ชานเหย้า" (山药) หรือ เถี่ยกุ้นชานเหย้า (ชานเหย้ากระบองเหล็ก) (หรือ ซัวเอี๊ยะ ตามสำเนียงภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งทั้งสองมีลักษณะต่างกันเล็กน้อย[1] ในตำราแพทย์จีนเรียก "ไหฺวชานเหย้า" (怀山药 และ 淮山药) บางครั้งพืชในสกุลกลอย (Diocorea) ในภาษาจีนเรียกโดยรวม ฉู่หยู (薯蓣)
ในประเทศไทยอาจเรียก "กลอยจีน"[2] หรือ "มันแกวจีน"[3]ในบางครั้ง
ในมณีปุระเรียกว่า "ฮา"
ในเวียดนามเรียก củ mài หรือ khoai mài และเมื่อนำฮ่วยซัวไปแปรรูปเป็นยาเรียกว่า hoài sơn หรือ tỳ giải
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]


ฮ่วยซัว เป็นไม้ลัมลุกเถาเลื้อย รูปทรงของใบสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปเถาจะมีความยาว 3–5 เมตร แต่สามารถยาวได้กว่านี้ เลื้อยเกลียวตามเข็มนาฬิกา ใบมีความยาวและกว้างมากถึง 11 เซนติเมตร ซอกใบมักมีกระเปาะเป็นตุ้มห้อยและขนาดใหญ่ อาจงอกเรียงติดกันหรือตรงข้ามกัน กระเปาะทรงรีมน ยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร บางครั้งมีกระเปาะตา 1–3 ตุ้ม[4][5]
หัวใต้ดิน เติบโตในแนวตั้ง มีผิวหยาบสีน้ำตาลเหลือง รากเป็นเส้นใยบาง ๆ หนาแน่น ออกตามตุ่มตา หัวทรงกระบอก[6] มี 1 หัวขึ้นไป ที่ใหญ่ที่สุดอาจมีน้ำหนัก 2-3 กก. และชอนรากได้ 1 เมตรใต้ดิน[6] ไหฺวชานมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่หนาวจัดและเย็นกว่ามันเทศ และกลอยอื่น ๆ
ดอกไม้ สีขาวนวล ออกดอกในฤดูร้อน เป็นดอกเดี่ยว แต่มักไม่ติดผล เนื่องจากส่วนใหญ่ขยายพันธุ์ทางหัว
ฮ่วยซัว | ชานเหย้า |
---|---|
![]() |
![]() |
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 王霜 山药是淮山吗 เก็บถาวร 5 ธันวาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 致富热 13 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ ชาวจีนเน้นกินอาหารให้สมดุลถูกธาตุ จบ MGR Online, 11 สิงหาคม 2560.
- ↑ มันแกวจีน(ฮวยซัว)เป็นอย่างไร? เก็บถาวร 8 กุมภาพันธ์ 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถานีตำรวจภูธรทุ่งช้าง, 17 ธันวาคม 2020.
- ↑ Christopher, Thomas, บ.ก. (2011). The new American landscape : leading voices on the future of sustainable gardening. Portland, OR: Timber Press. ISBN 978-1-60469-186-3. OCLC 656556665.
- ↑ Toensmeier, Eric; Bates, Jonathan (2013). Paradise lot : two plant geeks, one-tenth of an acre, and the making of an edible garden oasis in the city. White River Junction, VT: Chelsea Green Pub. ISBN 978-1-60358-399-2. OCLC 759171786.
- ↑ 6.0 6.1 Gucker, Corey L. (2009). "Dioscorea spp". Fire Effects Information System (FEIS). US Department of Agriculture (USDA), Forest Service (USFS), Rocky Mountain Research Station, Fire Sciences Laboratory – via www.feis-crs.org.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Dioscorea polystachya