ฮาร์วีย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาร์วีย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก
กำกับกัส แวน แซงต์
เขียนบทดัสติน แลนซ์ แบล็ค
อำนวยการสร้างแดน จิงซ์
บรูซ โคเฮน
นักแสดงนำฌอน เพนน์
เอมิล เฮิร์ช
จอช โบรลิน
ดีเอโก้ ลูน่า
อลิสัน พิลล์
วิคเตอร์ การ์เบอร์
เดนิส โอ'แฮร์
โจเซฟ ครอส
เจมส์ แฟรนโก
กำกับภาพแฮร์ริส ซาวีเดส์
ตัดต่อเอลเลียต เกรแฮม
ดนตรีประกอบแดนนี เอลฟ์แมน
บริษัทผู้สร้าง
แอกซอนฟิล์ม
กราวนด์สเวลล์โปรดักชั่น
จิงซ์/โคเฮน คอมพานี
ผู้จัดจำหน่ายโฟกัสพิกเจอส์
วันฉาย26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008
ความยาว128 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน54.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก (อังกฤษ: Milk) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติอเมริกันในปี 2008 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ฮาร์วีย์ มิลก์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชาวรักร่วมเพศ และเป็นชายที่ประกาศตัวว่าเป็นรักร่วมเพศคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นเทศมนตรีของซานฟรานซิสโก กำกับโดย กัส แวน แซงต์ และเขียนบทโดย ดัสติน แลนซ์ แบล็ค นำแสดงโดย ฌอน เพนน์ เป็น มิลค์ และ จอช โบรลิน เป็น แดน ไวท์ นักการเมืองที่ลอบสังหารมิลค์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเสียงตอบรับอย่างมากและได้รับรางวัลมากมายจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์และสมาคม ท้ายที่สุดได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 8 สาขา ซึ่งรวมถึงเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย แต่ชนะรางวัลทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในบทบาทนำของเพนน์ และสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ของแบล็ค

เรื่องย่อ[แก้]

ฮาร์วี่ มิลค์ (ฌอน เพนน์) นักต่อสู้เพื่อสิทธิชาวรักร่วมเพศ และเป็นชายที่ประกาศตัวว่าเป็นรักร่วมเพศคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นเทศมนตรีของซานฟรานซิสโก การต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศของมิลค์ได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของอเมริกา เป็นต้นกล้าสำคัญในการต่อสู้จนนำมาสู่การเป็นที่ยอมรับ และการกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้นในปัจจุบัน ที่กระจายไปทั่วโลก จนนิตยสารไทม์ยกให้เขาเป็นหนึ่งในร้อยบุคคลสำคัญของโลกแห่งศตวรรษ แต่หลังจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาระยะหนึ่ง มิลด์ได้มีเรื่องบาดหมางกับ แดน ไวท์ (จอช โบรลิน) คู่แข่งทางการเมืองที่เกลียดเกย์ ทำให้มิลค์ถูกไวท์ยิงในระยะเผาขน พร้อมกับนายกเทศมนตรีซานฟรานซิสโก วิกเตอร์ การ์เบอร์

ในปี 1978 หลังจากไวท์ถูกนำตัวขึ้นศาล ไวท์สามารถรอดพ้นโทษฆ่าคนตายโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ได้ด้วยข้อแก้ต่างว่าวิกลจริตชั่วขณะ อันเนื่องมาจากความซึมเศร้า ทำให้โทษเหลือเพียงฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา และให้ไวท์จำคุก 7 ปี จิตแพทย์ที่ให้การบอกว่า ไวท์มีอาการซึมเศร้าหนักเนื่องจากชอบกินโค้กและขนมทวิงกี้ จนเกิดความไม่พอใจแก่ชุมชนชาวเกย์ในซานฟรานซิสโก และนำไปสู่การจลาจลครั้งใหญ่ที่เรียกว่า White Night Riots เมื่อพ้นโทษออกมา ไวท์ต้องย้ายเมืองหนีและตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงรถปี 1985

อ้างอิง[แก้]

  1. "MILK (15)". Momentum Pictures. British Board of Film Classification. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ March 24, 2014.
  2. "Milk (2008)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 24, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]