ฮาย ชุติมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุติมา สิงห์ใจชื่น
เกิดชุติมา สิงห์ใจชื่น (ฮาย)
25 กันยายน พ.ศ. 2541 (25 ปี)
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
อาชีพนักร้อง • นักแสดง
บุพการี
  • นุจรี สิงห์ใจชื่น (มารดา)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2561–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง

ฮาย ชุติมา (25 กันยายน พ.ศ. 2541 –) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์[1] มีผลงานเพลง อาทิ ช้าเอิ่งเอย , เทลงเทเลย

เกิดที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จบระดับชั้นปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เธอเริ่มร้องเพลงอย่างจริงจังตั้งแต่ระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 จากการที่เธอเข้าร่วมกับวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน เมื่อเธอศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เธอได้รับงานร้องเพลงกับวงดนตรีในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อหารายได้ และยังโคฟเวอร์เพลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเห็นความสามารถและแววของเธอ จึงชักชวนเธอเข้าสู่การเป็นศิลปินในสังกัดแกรมมี่โกลด์

ประวัติ[แก้]

เธอเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2541 ที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 2 และ แชมป์ ศึกวันดวลเพลง 10 สมัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์สาขา การสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2564

ผลงานเพลง[แก้]

อัลบั้มเดี่ยว[แก้]

ปี ชื่ออัลบั้ม รายชื่อเพลง
2566

ชุดที่ 1 เร็วๆ นี้[แก้]

ซิงเกิ้ลเดี่ยว[แก้]

ปี ชื่อเพลง ค่าย หมายเหตุ
2561 ช้าเอิ่งเอย (Feat.เต๋า ภูศิลป์) แกรมมี่โกลด์
ไม่บริสุทธิ์ใจ Single แรกภายใต้สังกัดแกรมมี่โกลด์
2563 เทลงเทเลย
รักได้ครั้งละคน เชื่อใจได้คนละครั้ง (ต้นฉบับ ตั๊กแตน ชลดา) เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 25ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ
รักที่แปลว่าไม่รัก
2564 หมอกในตาฉัน ควันในตาเธอ (ร้องร่วมกับ อิสร์ อิสรพงศ์)
จริงจัง ค่อยทักมา (ร้องร่วมกับ เต๋า ภูศิลป์)
2565 บอกฮักอ้ายจังใด๋ดี เพลงแรกที่เปลี่ยนแนวมาเป็นลูกทุ่งอิสาน
บ่ฮักกะลองเบิ่ง
ยังบ่หนำใจอีกบ้อ
หญิงลั้ลลา ต้นฉบับ หญิงลี ศรีจุมพล
ดอกไม้กับแจกัน ต้นฉบับ ใหม่ เจริญปุระ

เพลงที่ไม่ได้ปล่อย[แก้]

ปล่อยให้ได้ฟังในรูปแบบ Demo Version ใน YouTube channel : ฮาย ชุติมา OFFICIAL

ข้อมูลอัลบั้ม รายชื่อเพลง สถานะเพลงในปัจจุบัน

Demo Version ของ ฮาย ชุติมา[แก้]

ยอมเหงาหรือยอมโง่ -

เพลงประกอบละคร[แก้]

ปี ชื่อเพลง ละคร/ภาพยนตร์ ช่อง
2561 ผีเสื้อราตรี สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร ช่องวัน 31
สอนหนูหน่อย
เดี๋ยวมันก็ดี
(ร้องร่วมกับ ตูมตาม, ลำยอง, เปาวลี, อิสร์)

เพลงที่ไปรับเชิญร้อง[แก้]

เพลงที่ฮายได้มีส่วนร่วมในการการร้อง

ปี ชื่อเพลง ศิลปินร่วม ค่าย หมายเหตุ
2561 เดี๋ยวมันก็ดี (ต้นฉบับ ไมค์ ภิรมย์พร) ตูมตาม ยุทธนา, ลำยอง หนองหินห่าว, เปาวลี พรพิมล, อิสร์ อิสรพงศ์ แกรมมี่ โกลด์ เพลงประกอบละคร สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร
2563 เธอ...ผู้ไม่แพ้ (ต้นฉบับ โบ สุนิตา) ลำยอง หนองหินห่าว, มิ้วส์ อรภัสญาน์ และมีนตรา อินทิรา เพลงพิเศษเพื่อให้กำลังใจหมอและพยาบาลในช่วงโรคระบาดโควิด-19
2564 หมอกในตาฉัน ควันในตาเธอ อิสร์ อิสรพงศ์
จริงจัง ค่อยทักมา เต๋า ภูศิลป์

เพลงในโปรเจกต์พิเศษ[แก้]

ปี ชื่อโปรเจกต์ เพลงที่มี ฮาย ชุติมา ร้อง
2563 เพลงสามัญประจำบ้าน
  1. เธอ...ผู้ไม่แพ้ (ร้องร่วมกับ ลำยอง หนองหินห่าว, มิ้วส์ อรภัสญาน์ และมีนตรา อินทิรา) (ต้นฉบับ สุนิตา ลีติกุล)
25 ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ
  1. รักได้ครั้งละคน เชื่อใจได้คนละครั้ง (ต้นฉบับ ตั๊กแตน ชลดา)
2564 Grammy Gold Live Session พี่ขอร้อง น้องขอโชว์
  1. ถ้าฉันเป็นเธอ (ต้นฉบับ นิว จิ๋ว)
  2. รักเธอให้น้อยลง (ต้นฉบับ Bandwagon)
  3. ปานได้เหี่ยมาเนาะ (ต้นฉบับ ต่าย อรทัย)
  4. ลม (ต้นฉบับ หนุ่ม กะลา)
  5. อยากมีใครคนนั้น (ต้นฉบับ โกไข่)
2568 30 ปี แกรมมี่ โกลด์

ผลงานการแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

  • ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางช่องวัน
ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท
2561 สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร ขวัญใจ ทุ่งเงิน
2564 ผู้ใหญ่สันต์ กำนันศรี อลิสา วัชวงค์ (ครูข้าว)
2565 เจ้าสาวยืนหนึ่ง เจนเนตร (เจน)
2566 เพื่อแม่แพ้บ่ได้ น้ำฝน
2567 ซะตาหงส์
  • ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางไทยรัฐ
ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท
2567 ดอนบ้านดอย ปอยบ้านทุ่ง ดอย
ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท
2567 เจ้าแม่
  • ละครโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางพีพีทีวี
ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท
2567 มนต์รักจันทรา

ซิตคอม[แก้]

ปี เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2562 เป็นต่อ 2019
ตอน ภัยสังคม
ช่องวัน 31 ปาริชาติ บัวเหม (น้องซันเดย์) / แนน รับเชิญ

คอนเสิร์ต[แก้]

  • มินิคอนเสิร์ต รำลึก 28 ปี ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (2563)
  • คอนเสิร์ต 25 ปี แกรมมี่ โกลด์ เส้นทางมิตรภาพโรดทัวร์ (2563 / รังสิต & สมุทรปราการ)

อ้างอิง[แก้]

  1. "น่าฟังไปอีกแบบ! "ฮาย ชุติมา" หยิบ "เท่าไหร่ไม่จำ" ของ "โปเตโต้" มาใส่ลูกเอื้อน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]