ฮะรัมฟอเทเมเยแมอ์ซูเมฮ์
![]() | บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ฮะรัมฟอเทเมเยแมอ์ซูเมฮ์ | |
---|---|
![]() ภาพถ่ายทางอากาศของฮะรัมฟอเทเมเยแมอ์ซูเมฮ์ที่มีโดมทองและมัสยิดแออ์ซอมแห่งโกม | |
ศาสนา | |
ศาสนา | อิสลาม |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | โกม ประเทศอิหร่าน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 34°38′30″N 50°52′44″E / 34.6417°N 50.8790°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 34°38′30″N 50°52′44″E / 34.6417°N 50.8790°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | มัสยิด |
รูปแบบ | อิหร่าน |
ลักษณะจำเพาะ | |
โดม | 3 |
หอคอย | 6 |
ฮะรัมฟอเทเมเยแมอ์ซูเมฮ์ (เปอร์เซีย: حرم فاطمه معصومه, อักษรโรมัน: haram-e fateme-ye masumeh) ตั้งอยู่ที่โกม ซึ่งชีอะฮ์ถือเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอันดับ 2 ในประเทศอิหร่านรองจากแมชแฮด
ฟอเทเมฮ์ แมอ์ซูเมฮ์ เป็นพี่/น้องสาวของอะลี อัรริฎอ อิหม่ามคนที่ 8 และลูกสาวของมูซา อัลกาซิม อิหม่ามคนที่ 7 ในอิสลามนิกายชีอะฮ์ ผู้หญิงจะได้สถานะนักบุญถ้าเธอเป็นญาติใกล้ชิดกับหนึ่งในสิบสองอิหม่าม นั่นทำให้เธอได้สถานะเป็นนักบุญ และฮะรัมในโกมเป็นหนึ่งในอารามชีอะฮ์ที่สำคัญที่สุดในประเทศอิหร่าน โดยมีมุสลิมชีอะฮ์เดินทางมาขอพรที่นี่พันกว่าคน
นอกจากนี้ในสุสานมีลูกสาวทั้งสามของมุฮัมมัด อัตตะกี อิหม่ามคนที่ 9 ของชีอะฮ์ด้วย[1]
ความพิเศษ[แก้]
มัสยิดนี้ประกอบด้วยห้องสุสาน ลานสนาม 3 แห่ง และหอละหมาด 3 แห่ง ทำให้มีพื้นที่รวม 38,000 ตารางเมตร (410,000 ตารางฟุต) หอละหมาดทั้งสามแห่งมีชื่อดังนี้: Tabātabā'ī, Bālā Sar และ A‘dham[2][3]
ประวัติโดยย่อ[แก้]
สถานฝังร่างอันบริสุทธิ์ของฟาติมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมและต่อเติมเรื่อยมาในหน้าประวัติศาสตร์.
ใน ฮ.ศ. ๖๐๕ อะมีร มุซัฟฟัร อะห์มัด บินอิสมาอีล ตระกูลใหญ่แห่งมุซัฟฟัร เป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตกระเบื้องผู้โด่งดังแห่งยุค มุฮัมหมัด บินอะบี ฏอเฮรกอชีย์ กุมมีย์ ได้ทำการสร้างและออกแบบกระเบื้องที่มีลวดลายหลากหลายไว้สำหรับประดับสุสาน. เขาใช้เวลา ๘ ปี ในการสร้างงานชิ้นนี้ และในปี ๖๑๓ การประดับกระเบื้องจึงแล้วเสร็จ.
จากคำบันทึกของ Jean Chardin นักเดินทางชาวฝรั่งเศสแห่งยุคซะฟาวีย์ (Safavid) ได้จารึกใน “มุชตาก ดาร” กล่าวถึงปีที่สร้างเอาไว้ ซึ่งคำนวณตามการเรียบเรียงอักษรแบบอาหรับที่ ๑๐๖๕ (ยุคกษัตริย์ชาอับบาสที่ ๒).
ในปีสุริยคติ 1377 (ปีอิหร่าน) สถานฝังพระศพได้มีการบูรณะซ่อมแซมขึ้นในรูปแบบใหม่ ซึ่งทำจากกระเบื้องและหิน และผนังด้านในประดับด้วยหินอ่อนสีเขียว.
ฎอเรี๊ยะห์ (Zarih)[แก้]
ในปี ๙๖๕ จัทรคติ กษัตริย์ตะฮ์มาสบ์ ซะฟาวีย์ (Shah Tahmasb Safavid) ได้สั่งให้สร้างฎอเรี๊ยะห์ด้วยอิฐขึ้นสี่ด้าน ซึ่งแต่ละด้านประดับด้วยกระเบื้องโมเสคเจ็ดสี โดยให้แต่ละด้านมีช่องไฟเพื่อให้ประชาชนที่มาเยี่ยมเยือนสามารถมองเห็นสุสานด้านใน และสามารถหย่อนเงินบริจาคของตนลงไปในฎอเรี๊ยะห์ได้.
ในปี ๑๒๓๐ จัทรคติ กษัตริย์ฟัตฮ์อาลี ชาฮ์ ได้ประดับฎอเรี๊ยะห์นั้นด้วยเงิน ซึ่งฎอเรี๊ยะห์ดังกล่าวได้ชำรุดไปตามกาลเวลา และในปี ๑๒๘๐ จัทรคติ ได้มีการเปลี่ยนฎอเรี๊ยะห์เงินอันเก่าเป็นฎอเรี๊ยะห์เงินอันใหม่อีกครั้ง.
ฎอเรี๊ยะห์ดังกล่าวได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง จนกระทั่งปีจัทรคติ ๑๓๖๘ ได้มีคำสั่งให้เปลี่ยนฎอเรี๊ยะห์อีกครั้ง โดยเพิ่มความละเอียดอ่อนและมีศิลป์อันงดงามตระการตาขึ้นกว่าเดิม ซึ่งฎอเรี๊ยะห์อันนี้ยังคงตั้งอยู่บนสุสานของท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ และปี ๑๓๘๐ สุริยคติ ได้มีการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง. โดยได้ประดับฎอเรี๊ยะห์ด้วยการนำเงินแท้ ๙๒ และ๑๐๐ เปอร์เซ็นรวมกัน ที่ซื้อจากธนาคารกลางสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และไม้ที่ใช้ในการสร้างฎอเรี๊ยะห์นั้นได้รับการออกแบบและแกะสลักโดยคณาจารย์หอศิลป์จากเมืองอิสฟาฮาน.
โดม[แก้]
โดมอันแรกที่ได้ถูกสร้างขึ้น (หลังจากหลังคากระโจมในยุคมูซา บิน คัซรอจ) เหนือสุสานของท่านหญิงฟติมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ เป็นโดมที่มีลักษณะเหมือนหอคอย โดยได้รับการอนุเคราะห์จากซัยหนับบุตรสาวของมุฮัมหมัด ตะกีย์ ซึ่งใช้วัสดุในการสร้างจากอิฐ หิน และปูนปลาสเตอร์ ในช่วงกลางศตวรรษที่สาม.
เมื่อกาลเวลาผ่านไปและมีสตรีบางส่วนจากตระกูลอะละวีย์ถูกฝังใกล้กับสุสานของท่านหญิงฟาติมะฮ์มะอ์ซูมะฮ์ จึงทำให้มีการสร้างโดมอีกสองโดมขึ้นมาใกล้กับโดมอันแรก.
โดมทั้งสามยังคงอยู่จนถึงปีจันทรคติที่ ๔๔๗ จนกระทั่งในปีดังกล่าว มีร อบุลฟัฎล์ อะรากีย์ (รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม) ได้สนับสนุนให้เชคฏูซีย์ สร้างโดมขึ้นมาใหม่โดยให้กว้างและใหญ่ขึ้น (ให้โดมทั้งสามเป็นโดมเดียวกัน) และประดับประดาด้วยการวาดลวดลายด้วยสีต่างๆ ตกแต่งและประดับประดาด้วยอิฐ และกระเบื้องที่มีลวดลายงดงาม โดยไม่ให้มีซุ้มประตูเชื่อมต่อกันเพื่อให้สุสานต่างๆ ของบรรดาลูกหลานศาสดาได้รวมอยู่ภายใต้โดมเดียวกัน
ในปีจันทรคติที่ ๙๒๕ โดมดังกล่าวได้รับการบูรณะโดย ชาฮ์บัยกีย์ บีกัม ภริยา ชาฮ์อิสมาอีล และพื้นผิวด้านนอกของโดมให้ตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสค. และยังให้สร้างซุ้มประตูที่สูงสง่าพร้อมกับสองมะนาเระฮ์ (หอคอย) ในบริเวณลานอะตีกด้วย.
ในที่สุดปีจันทรคติที่ ๑๒๑๘ รัชสมัยของกษัตริย์ ฟัตห์อะลี ชาฮ์ กาจาร โดมได้ถูกตกแต่งด้วยอิฐสีทอง ซึ่งยังคงอยู่จนถึงปีสุริยคติที่ ๑๓๗๙.
ในปี ๑๓๘๐ โดมภายนอกถูกทำลาย และเพื่อป้องกันความเสียหายอื่น ๆ แก่โดมทอง จึงมีการสั่งซ้อมแซมให้กลุ่มเตาลียัต ออสตอเนะ มุก็อดดัส จัดหาผู้รับเหมา และมัสอูดีย์ โคมัยนีย์ ได้รับมอบหมายให้ปรับโครงสร้างและซ่อมแซมโดมดังกล่าว. เมื่อมีการบูรณะใหม่อิฐทองทั้งหมดถูกเก็บรวบรวมไว้. ได้มีค่าใช้จ่ายถึง ๒๕ พันล้านริยาลหลังจากการบูรณะใหม่ของโดมดังกล่าว และได้มีการเปิดฤกษ์โดมใหม่ในวันที่ ๖ เดือนโฮรดิบิเฮช (เดือนที่สองของอิหร่าน) ปีสุริยคติที่ ๑๓๘๔ โดยพณฯ มุฮัมหมัด ตะกีย์ เบฮ์ญัต.
บุคคลสำคัญที่ถูกฝัง[แก้]
- ฟอเทเมฮ์ แมอ์ซูเม (790–816) – ลูกสาวของมูซา อัลกาซิม
เชื้อพระวงศ์[แก้]
- แฆย์แรนนีซออ์ เบกูม (1548–1579) – เจ้าหญิงซาฟาวิด
- ชอฮ์แซฟี (1611–1642) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1629–42)
- ชอฮ์แอบบอสที่ 2 (1632–1666) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1642–66)
- ชอฮ์ซูเลย์มอนที่ 1 (1647–1694) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1666–94)
- ชอฮ์สุลต่านโฮเซย์น (1668–1726) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1694–1722)
- ชอฮ์แอบบอสที่ 3 (สวรรคต ค.ศ. 1739) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1732–36)
- แกฮ์แรมอน มีร์ซอ (fa) (สวรรคต ค.ศ. 1840) – เจ้าชายกอญัร
- แฟตฮ์-แอลี ชอฮ์ (1772–1834) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1797–1834)
- โมแฮมแมด ชอฮ์ (1808–1848) – ชาฮ์ฮันชาฮ์แห่งเปอร์เซีย (1834–48)
- แกลีน ฆอโนม (fa) (สวรรคต ค.ศ. 1857) – เจ้าหญิงกอญัร
- Malek Jahan Khanom Mahd-e Olia (1805–1873) – พระราชมารดาในนอเซร์ แอดดีน ชอฮ์ กอญัร
- แฟฆโรดโดว์เลฮ์ (it) (1861–1893) – เจ้าหญิงกอญัร
- แอฟแซโรดโดว์เลฮ์ (fa) (1859–1901) – เจ้าหญิงกอญัร
- แอลี-แอฆี มีร์ซอ (fa) (1860–1917) – เจ้าชายกอญัร
- Malek-Mansour Mirza (1880–1922) – เจ้าชายกอญัร
- แอบโดลแซแมด มีร์ซอ (fa) (1845–1929) – เจ้าชายกอญัร
- คอมรอน มีร์ซอ (1856–1929) – เจ้าชายกอญัรและผู้ว่าการเตหะราน
บุคคลทางการเมือง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักวิชาการ[แก้]
- Aghabeyim Javanshir (1780–1832) – นักกวี
- ยูแซฟ เออ์เทซอมี (1874–1938) – นักเขียนและนักแปล
- แพร์วีน เออ์เทซอมี (1907–1941) – นักกวี
- โมแฮมแมด เมชคอต (fa) (1900–1980) – นักวิชาการ
- แอลี แดวอนี (1929–2007) – ผู้เขียน
ผู้นำศาสนา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แกลเลอรี่[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Qum, Iran". sacredsites.com. สืบค้นเมื่อ 12 March 2009.
- ↑ Jaffer, Masuma (2003). Lady Fatima Masuma (a) of Qum. Qum: Jami'at al-Zahra. ISBN 964-438-455-5.
- ↑ "Today's Top StoriesQom Province". indiasnews.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 20 December 2008. สืบค้นเมื่อ 18 December 2006.
Shrine of Hazrat Masoumeh, sister of Imam Reza, one of Iran's holiest places, is in Qom.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฮะรัมฟอเทเมเยแมอ์ซูเมฮ์ |