ฮะซัน อัลบันนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮะซัน อะห์มัด อับดุรเราะห์มาน มุฮัมมัด อัลบันนา
حسن أحمد عبد الرحمن محمد البنا
ส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม ค.ศ. 1906(1906-10-14)
มรณภาพ12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949(1949-02-12) (42 ปี)
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
สัญชาติชาวอียิปต์
สำนักคิดฮัมบะลี[1]
ลัทธิอะชาอิเราะฮ์ (มุเฟาวิเฎาะฮ์)[2]
ขบวนการนวยุคนิยม[3]
ลัทธิอิสลาม[4]
ลัทธิศูฟีใหม่[5]
พรรคการเมืองอิควานมุสลิมีน
สำนักศึกษาดารุลอุลูม
โรงเรียนอิสลามอัชชาษิลียะฮ์ (สาขา Hasafi)[6][7]
ตำแหน่งชั้นสูง
มีอิทธิพลต่อ
ผู้ก่อตั้งและ General Guide ของอิควานมุสลิมีนในอียิปต์คนแรก
ดำรงตำแหน่ง
1928–1949
ก่อนหน้า(จัดตั้งตำแหน่ง)
ถัดไปฮะซัน อัลฮุฎ็อยบี

ชัยค์ ฮะซัน อะห์มัด อับดุรเราะห์มาน มุฮัมมัด อัลบันนา (อาหรับ: حسن أحمد عبد الرحمن محمد البنا; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1906 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949) รู้จักกันในชื่อ ฮะซัน อัลบันนา (อาหรับ: حسن البنا) เป็นครูและอิหม่ามชาวอียิปต์ที่เป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ก่อตั้งอิควานมุสลิมีน หนึ่งในองค์กรฟื้นฟูอิสลามที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุด[9]

ประวัติ[แก้]

ฮาซัน อัลบันนา เกิดที่เมืองมะห์มูดียะฮ์ จังหวัดญีซะฮ์ ประเทศอียิปต์ จากครอบครัวสามัญชน บิดาของเขาประกอบอาชีพเป็นผู้จัดการการสมรส เขาฉายแววการเป็นผู้นำตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย มีความโดดเด่นกว่าเพื่อนอายุคราวเดียวกัน จึงได้รับโหวตเสียงให้ดำรงตำแหน่งนายก "สมาคมอบรมจรรยา" (جمعية الأخلاق الأدبية) ตั้งแต่กำลังศึกษาระดับประถม ฮาซัน อัลบันนา ยังไม่หยุดยั้งความกระตือรือร้นแต่เพียงเท่านี้ เขายังก่อตั้ง "สมาคมยับยั้งสิ่งต้องห้าม" (جمعية منع المحرمات) ร่วมกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นสมาคมที่ไม่ขึ้นกับโรงเรียนที่เขาศึกษาอยู่ เมื่อเขาเดินทางไปศึกษาต่อโรงเรียนมุอัลลิมีน ณ จังหวัดดามันฮูร เขาก็ก่อตั้ง"สมาคมประพฤติดีอย่างแน่วแน่" (الجمعية الحصافية الخيرية) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเผยแผ่จริยธรรมดีงาม และยับยั้งสิ่งโสมมที่มีอยู่อย่างดาษดื่น หลังจากนั้นเขารับการศึกษาต่อโรงเรียน ดารุลอูลูมอัลอุลยา ณ กรุงไคโร และได้เข้าร่วมชมรม"เกียรติแห่งจริยธรรมอิสลาม "(جمعية مكارم الأخلاق الإسلامية، ) ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาคมเดียวที่มีอยู่ในกรุงไคโร เขามักพบปะกับปราชน์ทางศาสนาในมัสยิดต่างๆเพื่อรับฟังโอวาทจากท่านเหล่านั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. Shaimaa Fayed." :(2012)
  2. sayf ibn ali al-asri. al-qawl al-tamam (ภาษาอาหรับ). dar al-fath li al-dirasat wa al-nashr. pp. 10–11.
  3. Ryan, Patrick J. "Fellow Travelers?." Commonweal 137.13 (2010): 23. "Not as intellectually acute as Afghani and 'Abduh, Hassan al-Banna nevertheless took his heritage from the same modernist school"
  4. Kramer, Gudrun (2010). Makers of the Muslim World: Hassan al Banna. Oneworld Publications, 10 Bloomsbury Road, London WC1B 3SR, England: One World Publishers. p. 1. ISBN 978-1-85168-430-4.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  5. R. Halverson, Jeffrey (2010). Theology and Creed in Sunni Islam. New York: Palgrave Macmillan. pp. 62, 65. ISBN 978-0-230-10279-8.
  6. Mchugo, John (2013). A CONCISE HISTORY OF THE ARABS. The New Press, New York, 2013: The New Press. p. 136. ISBN 978-1-59558-950-7.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  7. Kramer, Gudrun (2010). Makers of the Muslim World: Hassan al Banna. Oneworld Publications, 10 Bloomsbury Road, London WC1B 3SR, England: One World Publishers. pp. 14–16, 23, 30. ISBN 978-1-85168-430-4.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  8. Introduction to Princeton Readings in Islamist Thought: Texts and Contexts from Al-Banna to Bin Laden, pg. 26. Part of the Princeton Studies in Muslim Politics series. Eds. Roxanne Leslie Euben and Muhammad Qasim Zaman. Princeton: Princeton University Press, 2006. ISBN 9780691135885
  9. "Hasan al-Banna – Islamic Studies – Oxford Bibliographies – obo". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-01. สืบค้นเมื่อ 2017-01-08.