ข้ามไปเนื้อหา

ฮะซัน นัศรุลลอฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮะซัน นัศรุลลอฮ์
حسن نصر الله
นัศรุลลอฮ์ใน ค.ศ. 2019
เลขาธิการฮิซบุลลอฮ์
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 – 27 กันยายน พ.ศ. 2024
รองนะอีม กอซิม
ก่อนหน้าอับบาส อัลมูซะวี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 สิงหาคม ค.ศ. 1960(1960-08-31)
บุรจญ์ฮัมมูด ประเทศเลบานอน
เสียชีวิต27 กันยายน ค.ศ. 2024(2024-09-27) (64 ปี)
ฎอหิยะฮ์ ประเทศเลบานอน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหารด้วยการโจมตีทางอากาศ
พรรคการเมืองฮิซบุลลอฮ์ (ค.ศ. 1982–2024)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อะมัล (1978–1982)
คู่สมรสฟาฏิมะฮ์ ยาซีน
บุตร5
ลายมือชื่อ

ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ (อาหรับ: حسن نصر الله; 31 สิงหาคม ค.ศ. 1960 – 27 กันยายน ค.ศ. 2024) เป็นอาลิมชาวเลบานอนและเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ พรรคการเมืองและกองกำลังทหารอิสลามนิยม นิกายชีอะฮ์

เขาถือกำเนิดในครอบครัวชีอะฮ์แถบชานเมืองเบรุตใน ค.ศ. 1960 นัศรุลลอฮ์จบการศึกษาที่ไทร์ โดยเข้าร่วมขบวนการอะมัลช่วงหนึ่ง และภายหลังในโรงเรียนสอนศาสนาชีอะห์ที่บะอ์ละบัก ต่อมาเขาเรียนและสอนหนังสือที่โรงเรียนอะมัล นัศรุลลอฮ์เข้าร่วมกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสู้รบในการรุกรานเลบานอนของอิสราเอลใน ค.ศ. 1982 หลังเรียนศาสนาในอิหร่านช่วงหนึ่ง นัศรุลลอฮ์จึงเดินทางกลับเลบานอนและกลายเป็นหัวหน้ากลุ่มฮิซลบุลลอฮ์หลังผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนหน้าถูกลอบสังหารจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลใน ค.ศ. 1992[1][2]

ในสมัยนัศรุลลอฮ์ กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้รับจรวดที่มีพิสัยการโจมตีไกลขึ้น ซึ่งทำให้สามารถโจมตีอิสราเอลตอนเหนือได้ หลังอิสราเอลประสบกับความเสียหายอย่างหนักในการครอบครองเลบานอนใต้เป็นเวลา 18 ปี ทางอิสราเอลถึงถอนทัพใน ค.ศ. 2000 ซึ่งเพิ่มความนิยมต่อกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในภูมิภาคนี้อย่างมาก และเสริมความแข็งแกร่งในตำแหน่งของฮิซบุลลอฮ์ที่เลบานอน อย่างไรก็ตาม บทบาทของฮิซบุลลอฮ์ในการซุ่มโจมตีหน่วยตรวจการณ์ชายแดนของอิสราเอลนำไปสู่สงครามเลบานอน ค.ศ. 2006 ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค

เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2024 กองกำลังป้องกันอิสราเอลประกาศว่ากองทัพอากาศเข้าโจมตีศูนย์บัญชาการหลักของฮิซบุลลอฮ์ที่เบรุต โดยมีเป้าหมายสังหารนัศรุลลอฮ์[3][4] จากนั้นในวันถัดมา มีการยืนยันว่านัศรุลลอฮ์ถูกสังหารผ่านการโจมตีทางอากาศ[5][6]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

ฮะซัน นัศรุลลอฮ์เป็นบุตรคนที่ 9 จากทั้งหมด 10 คนในครอบครัวชีอะฮ์ที่บุรจญ์ฮัมมูด อำเภอมัตน์ (ชานเมืองตะวันออกของเบรุต) ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1960[7] อับดุลกะรีม นัศรุลลอฮ์ พ่อของเขา เกิดที่อัลบาซูรียะฮ์ หมู่บ้านที่ญะบัลอามิล (เลบานอนใต้) ใกล้ไทร์ และทำงานเป็นคนขายผักและผลไม้[8] แม้ว่าครอบครัวของเขาไม่ได้เคร่งศาสนามาก ฮะซันสนใจในการศึกษาด้านเทววิทยา เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนอันนะญาห์ จากนั้นเข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลในย่านที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์บริเวณซินนัลฟีล เบรุต[1][7]

ใน ค.ศ. 1975 สงครามกลางเมืองเลบานอนบังคับให้ครอบครัว (รวมถึงนัศรุลลอฮ์ที่ตอนนั้นอายุ 15 ปี) ย้ายไปยังที่อยู่บรรพบุรุษในอัลบาซูรียะฮ์ โดยนัศรุลลอฮ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนรัฐบาลศูร์ (ไทร์) โดยขณะเรียนอยู่ก็เข้าร่วมขบวนการอมัล กลุ่มการเมืองชีอะฮ์เลบานอนไปช่วงหนึ่ง[1][7]

กิจกรรมช่วงแรก

[แก้]

นัศรุลลอฮ์เข้าร่วมกลุ่มฮิซบุลลอฮ์หลังกาารุกรานเลบานอนของอิสราเอลใน ค.ศ. 1982[1] จากนั้นใน ค.ศ. 1989 ฮะซัน นัศรุลลอฮ์เดินทางไปศึกษาศาสนาต่อที่โกม ประเทศอิหร่าน[7][9][10]

ใน ค.ศ. 1991 นัศรุลลอฮ์เดินทางกลับเลบานอนและขึ้นเป็นหัวหน้าฮิซบุลลอฮ์แทนมูซะวีหลังจากที่คนหลังถูกทางอิสราเอลสังหารด้วยการโจมตีทางอากาศในปีถัดมา[11]

หัวหน้าฮิซบุลลอฮ์

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

นัศรุลลอฮ์อาศัยอยู่ที่เบรุตใต้กับฟาฏิมะฮ์ ยาซีน ภรรยาของเขาที่มาจากหมู่บ้านอัลอับบาซียะฮ์ กับลูก 4 คน ได้แก่ Muhammad Javed, Zainab, Muhammad Ali และ Muhammad Mahdi

ในคืนวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1997 นักรบฮิซบุลลอฮ์ 4 คนถูกฝ่ายอิสราเอลดักซุ่มโจมตีใกล้Mlikh โดยมีมุฮัมมัด ฮาดี ลูกชายคนโตของนัศรุลลอฮ์อายุ 18 ปี เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิต นัศรุลลอฮ์กล่าวว่า: "ผมยินดีที่เป็นพ่อของหนึ่งในผู้พลีชีพ"[12][13]

ทางอิสราเอลส่งศพของมุฮัมมัด ฮาดีคืนให้แก่นัศรุลลอฮ์ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1997 โดยมีไว้อาลัยที่เบรุตใต้เป็นเวลา 7 วัน โดยมีผู้เข้าไว้อาลัยประมาณสองแสนคนต่อวัน[14][13]

สื่อฝ่ายค้านซีเรียรายงานว่า นัศรุลลอฮ์เป็นพี่เขยของวิสซาม อัฏเฏาะวีล ผู้บัญชาการของฮิซบุลลอฮ์ที่เสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในเดือนมกราคม ค.ศ. 2024[15]

ณ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 สื่อฮิซบุลลอฮ์รายงานว่า Hajja Umm Hassan แม่ของนัศรุลลอฮ์ เสียชีวิต[16]

ภาพลักษณ์

[แก้]

จากการมีบทบาทสำคัญในการยุติการยึดครองของอิสราเอล นัศรุลลอฮจึงกลายเป็น "วีรบุุรษแห่งชาติ"[17] บทความในเดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า นักการเมืองชาวอาหรับเรียกเขาเป็น "ผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในตะวันออกกลาง" และ "ผู้นำอาหรับคนเดียวที่ทำตามสิ่งที่เขาพูดว่าจะทำจริง"[18] อัลญะซีเราะฮ์เทียบเขากับผู้นำอาหรับคนอื่น เช่น ยัสเซอร์ อาราฟัตและญะมาล อับดุนนาศิร กับนักปฏิวัติฝ่ายซ้ายอย่างเช เกบาราและฟิเดล กัสโตร[19] ในขณะที่ Annia Ciezadlo นักข่าว กล่าวถึงเขาเป็น "ตราแห่งความภาคภูมิใจของอิสลามและอาหรับ"[20] ศาสตราจารย์ อะมัล ซะอัด-ฆุร็อยบ์ กล่าวว่าเขา "มีความกระตือรือร้น" แต่ยัง "พูดจาตรงไปตรงมาและปฏิบัติได้จริง" อีกด้วย[20]

นัศรุลลอฮ์มักได้รับการเรียกขานด้วย "อัสซัยยิด ฮะซัน" (السيد حسن)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Profile: Sayed Hassan Nasrallah". Al Jazeera. 17 July 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 April 2013.
  2. "Hezbollah". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.
  3. "Israel says it struck Hezbollah's headquarters in huge explosion that shakes Lebanese capital". AP News (ภาษาอังกฤษ). 27 September 2024. สืบค้นเมื่อ 27 September 2024.
  4. الشرق (27 September 2024). "إعلام إسرائيلي وأميركي: حسن نصر الله هو المستهدف من الغارات على بيروت | الشرق للأخبار". Asharq News (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 27 September 2024.
  5. Mroue, Bassem; Lidman, Melanie (2024-09-28). "Hezbollah confirms its leader Hassan Nasrallah was killed in an Israeli airstrike". AP News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-28.
  6. "حزب الله يعلن رسميا استشهاد حسن نصرالله". Saraya (ภาษาอาหรับ). 28 September 2024. สืบค้นเมื่อ 28 September 2024.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Tucker & Roberts 2008, p. 727.
  8. Young 2010, p. 98.
  9. "Profiles of key players – Hassan Nasrallah". Beirut. IRIN. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2019. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  10. Thiel, Tobias. "Prophet, Saviour and Revolutionary: Manufacturing Hassan Nasrallah's Charisma". The Encyclopedia of the Arab-Israeli Conflict: A Political, Social, and Military History. Department of International History: 7.
  11. Kaplan, Eben (20 July 2006). "Profile: Hassan Nasrallah". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2006.
  12. Middle East International No 559, 26 September 1997; Publishers Lord Mayhew, Dennis Walters MP; Michael Jansen pp.10-11; No 560, 10 October 1997; Barbara Nimn-Aziz p.24
  13. 13.0 13.1 Nahmias, Rohee (18 August 2006). "Hizbullah: No more clashes with Lebanese army". Ynet News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 31 January 2013.
  14. Middle East International No 559, 26 September 1997; Publishers Lord Mayhew, Dennis Walters MP; Michael Jansen pp.10-11; No 560, 10 October 1997; Barbara Nimn-Aziz p.24
  15. Inbar, Matthias. "IDF eliminates senior Hezbollah commander in targeted attack - report". i24 News. สืบค้นเมื่อ 8 January 2024.
  16. "Mother of Hezbollah chief passes away". Tehran Times (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-25. สืบค้นเมื่อ 2024-05-25.
  17. Claude, Patrice (13 May 2005). "Mystery man behind the party of God". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  18. MacFarquhar, Neil (7 August 2006). "Arab World Finds Icon in Leader of Hezbollah". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  19. Shabi, Rachel. "Palestinians see Nasrallah as new hero". aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  20. 20.0 20.1 Ciezadlo, Annia (7 August 2006). "Beirut Dispatch". The New Republic. ISSN 0028-6583. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.

ข้อมูล

[แก้]
  • Tucker, Spencer C.; Roberts, Priscilla (2008). The Encyclopedia of the Arab-Israeli Conflict: A Political, Social, and Military History [4 volumes]: A Political, Social, and Military History. ABC-CLIO. ISBN 978-1851098422.
  • Young, Michael (2010). The Ghosts of Martyrs Square: An Eyewitness Account of Lebanon's Life Struggle. Simon and Schuster. ISBN 978-1439109458.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]