ข้ามไปเนื้อหา

ฮะชิม อัชอะรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิไย หัจญี

ฮะชิม อัชอะรี
ฮะชิม อัชอะรี
เกิดมุฮัมหมัด ฮะชิม
14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1871(1871-02-14)[1] / 10 เมษายน ค.ศ. 1875(1875-04-10)[2]
จมบัง, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต25 กรกฎาคม พ.ศ. 1947 (อายุ 76/72 ปี)
จมบัง, อินโดนีเซีย
สัญชาติอินโดนีเซีย
อาชีพอุละมะ
มีชื่อเสียงจากผู้นำของ นะฮ์ฎะตุล อุละมะ

กิไย หัจญี ฮะชิม อัชอะรี (อินโดนีเซีย: Hasyim Asy'ari บางครั้งสะกด Hashim Ashari; 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1871 หรือ 10 เมษายน ค.ศ. 1875 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1947) เป็นอุละมะชาวอินโดนีเซีย วีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย และเป็นผู้ก่อตั้งนะฮ์ฎะตุล อุละมะ

ประวัติ

[แก้]

ฮะชิม อัชอะรี เกิดที่หมู่บ้านเกอะดัง อำเภอจมบัง [3] เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1875 พ่อชื่อ อัชอะรี แม่ชื่อ ฮาลีมะฮ์ ครอบครัวของเขามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งในการบริหารเปอะซันเตริน (ปอเนาะ) ปู่ของเขา กิไย อุสมาน เป็นผู้ก่อตั้งเปอะซันเตรินเกดัง และปู่ทวดของเขาเป็นผู้ก่อตั้งเปอะซันเตริน ตัมบักเบอะรัส เขาเป็นบุตรชายคนที่สามจากพี่น้องทั้งหมดสิบคน [4]

เชื้อสายของฮะชิม อัชอะรี สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านฮะดีวิชัยแห่งอาณาจักรปายัง และลึกกว่านั้นคือ พระเจ้าพระวิชัยที่ 6 (พระเจ้าคีรินทรวัฒนะ) กษัตริย์ของอาณาจักรมัชปาหิต

เขาได้รับการศึกษาจาก อิหม่าม อาหมัด กาติบ อัล-มินังกะบาวี อิหม่ามประจำมัสยิดอัล-ฮะรอม และอุลามะ ซึ่งยังเป็นอาจารย์ของ อะห์มัด ดะห์ลัน ผู้ก่อตั้งมุฮัมมะดิยะฮ์ [5]

เมื่ออายุได้ 20 ปี เขาได้แต่งงานกับคอดีญะห์ ลูกสาวของผู้นำเปอะซันเตรินซิวะลัน ปันยี 1 ปีต่อมา ครอบครัวเขาไปที่มักกะฮ์ หลังจากนั้นเจ็ดเดือน ภรรยาของเขาก็เสียชีวิต และอีก 2 เดือนต่อมา อับดุลละฮ์ ลูกชายของเขาก็เสียชีวิตด้วยเช่นกัน [6]

ในปี ค.ศ. 1899 เขาได้ก่อตั้งเปอะซันเตรินเตอะบุอิเริง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเปอะซันเตรินที่ใหญ่ที่สุดในเกาะชวาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีนักเรียน 4,000 คนในปี ค.ศ. 1947 [7] เปอะซันเตรินแห่งนี้ยังกลายเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปคำสอนอิสลามแบบพื้นบ้านอีกด้วย [8]

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1926 เขาและผู้นำศาสนาอิสลามสายพื้นบ้านหลายคนได้ก่อตั้งนะฮ์ฎะตุล อุละมะ ขึ้น ในช่วงยุคที่ญี่ปุ่นยึดครอง เขาถูกจับกุม และอีกหลายเดือนต่อมา เขาได้รับการปล่อยตัวและได้เป็นหัวหน้าฝ่ายกิจการศาสนา [8]

เขาเสียชีวิตกะทันหันในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ด้วยโรคความดันโลหิตสูง หลังจากได้ยินข่าวว่ากองทหารดัตช์ได้รับชัยชนะในการรบที่เมืองมาลัง[9]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เขาแต่งงานเจ็ดครั้ง และภรรยาทั้งหมดของเขาล้วนเป็นลูกสาวของอุละมะ ภรรยา 4 คนของเขาคือคอดีญะห์, นาฟิซะฮ์, นาฟิกะห์ และ มัสรูเราะห์ ลูกชายคนหนึ่งของเขาชื่อ วาฮีด ฮะชิม เป็นหนึ่งในผู้ร่างกฎบัตรจาการ์ตา และต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการศาสนาคนแรกของอินโดนีเซีย [10] ขณะที่อับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด หลานของเขา ได้กลายเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 4

แหล่งอ้างอิง

[แก้]
  1. "Biography of KH Hasyim Asy'ari: Origin, Genealogy, Thought, to Struggle". 21 April 2021.
  2. "The Struggle of KH Hasyim Asy'ari, the Missing National Hero in the Indonesian History Dictionary". 21 April 2021.
  3. Online, NU. "Keindonesiaan Kiai: Hasyim Asy'ari, Wahid Hasyim, dan Gus Dur | NU Online". NU Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-09-12.
  4. Khuluq 2008, pp. 16–18
  5. Saputra, Amrizal, Wira Sugiarto, Suyendri, Zulfan Ikhram, Khairil Anwar, M. Karya Mukhsin, Risman Hambali, Khoiri, Marzuli Ridwan Al-bantany, Zuriat Abdillah, Dede Satriani, Wan M. Fariq, Suwarto, Adi Sutrisno, Ahmad Fadhli (2020-10-15). PROFIL ULAMA KARISMATIK DI KABUPATEN BENGKALIS: MENELADANI SOSOK DAN PERJUANGAN (ภาษาอินโดนีเซีย). CV. DOTPLUS Publisher. p. 148. ISBN 978-623-94659-3-3.
  6. Khuluq 2008, pp. 19–20
  7. Naipaul, V. S. (Vidiadhar Surajprasad) (1999), Beyond belief : Islamic excursions among the converted peoples, Abacus, p. 32, ISBN 978-0-349-11010-3
  8. 8.0 8.1 "Ulama Pembaharu Pesantren". tokohindonesia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ October 22, 2011.
  9. Khuluq 2008, p. 25
  10. Khuluq 2008, pp. 20–21

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]