อำเภอศรีนคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.ศรีนคร)
อำเภอศรีนคร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Si Nakhon
สถานีรถไฟคลองมะพลับ
คำขวัญ: 
หลวงพ่อหล้าคู่เมือง หลวงพ่อเรืองคู่บ้าน แหล่งน้ำใต้ดิน ถิ่นกำเนิดฝ้าย
พืชไร่งดงาม นามศรีนคร
สหกรณ์ลือเลื่อง เมืองนครเดิม
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอศรีนคร
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอศรีนคร
พิกัด: 17°20′53″N 99°59′27″E / 17.34806°N 99.99083°E / 17.34806; 99.99083
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุโขทัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด199.865 ตร.กม. (77.168 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด25,170 คน
 • ความหนาแน่น127.84 คน/ตร.กม. (331.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 64180
รหัสภูมิศาสตร์6408
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอศรีนคร หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย 64180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ศรีนคร เป็นอำเภอที่จัดตั้งเป็นลำดับที่ 9 และเป็นอำเภอที่จัดตั้งล่าสุดของจังหวัดสุโขทัย โดยได้ยกระดับเป็นอำเภอศรีนคร เมื่อปี พ.ศ 2524 เป็นอำเภอที่มีประชากรน้อยและมีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสุโขทัย

ประวัติศาสตร์[แก้]

ศรีนครมีอายุทางโบราณคดีสมัยยุคประวัติศาสตร์ตอนปลาย ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการตั้งชุมชนอยู่บริเวณเขาเขน เขากา ชุมชนบ้านบึงเหนือ เมื่อประมาณ 2,000-2,500 ปีล่วงมาแล้ว พื้นที่ดังกล่าวได้มีการส่งผ่านอารยธรรมของอินเดียซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น

จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งแสดงว่าพื้นที่ที่เป็นอำเภอศรีนครได้ดำรงอยู่อย่างสงบ ร่วมกาลสมัยท่ามกลางนครหรือเมืองที่เลื่องชื่ออันเป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น กลุ่มเมืองโบราณ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางขลัง เมืองพิชัย เป็นต้น "ศรีนคร" แห่งนี้นั้นย่อมได้พ้นผ่านความรุ่งเรือง พานพบความล่มสลาย และแปรเปลี่ยนเวียนผันไปตามกาลสมัย จากนาม "นครเดิฐ" สู่นาม "คลองมะพลับ" และมาเป็นนาม "ศรีนคร" ในที่สุด

เดิมศรีนครเป็นเพียงหมู่บ้านแห่งหนึ่งของตำบลนครเดิฐซึ่งขึ้นตรงกับอำเภอสวรรคโลก และต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้แบ่งพื้นที่ตำบลนครเดิฐตั้งเป็น ตำบลศรีนคร การขอตั้งอำเภอศรีนครเริ่มเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2519 โดยนายธวัช ชุนนะวรรณ์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกำนันตำบลศรีนคร ได้ขอที่ดินนิคมสวรรคโลก 25 ไร่ จัดสร้างบริเวณที่ว่าการอำเภอศรีนครจำนวน 10 ไร่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีนครจำนวน 10 ไร่ และสถานที่ราชการอื่น ๆ อีกจำนวน 5 ไร่ อำเภอศรีนครได้แยกตัวออกจากอำเภอสวรรคโลก แต่แรกมีเพียง 2 ตำบล คือ ตำบลศรีนครและตำบลนครเดิฐ โดยมีลำดับการก่อตั้งดังนี้

  • วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2519 ได้รับการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอศรีนคร
  • วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอศรีนคร

ที่มาของคำว่า "ศรีนคร" ว่าได้นำมาจากพยางค์แรกของคำว่า "นครเดิฐ" และเติมคำว่า "ศรี" เข้าไปข้างหน้าได้ชื่อใหม่ที่เป็นมงคล[1][2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอศรีนครตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

อำเภอศรีนครมีประชากรทั้งสิ้น 25,170 คน[3] แบ่งเป็นผู้ชาย 12,149 คน กับผู้หญิง 13,021 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตกรรมและพาณิชยกรรม

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอศรีนครแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 49 หมู่บ้าน

ลำดับที่ ชื่อ Name จำนวนหมู่บ้าน
1. ศรีนคร (Si Nakhon) 10 หมู่บ้าน
2. นครเดิฐ (Nakhon Doet) 11 หมู่บ้าน
3. น้ำขุม (Nam Khum) 10 หมู่บ้าน
4. คลองมะพลับ (Khlong Maphlap) 10 หมู่บ้าน
5. หนองบัว (Nong Bua) 08 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอศรีนครประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลศรีนคร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลศรีนคร[4][5]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีนคร (นอกเขตเทศบาลตำบลศรีนคร)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครเดิฐ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครเดิฐทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำขุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองมะพลับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคม[แก้]

การขนส่งทางถนน มีทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญ ได้แก่ หมายเลข 1180, 1255 และ 1318 ส่วนการขนส่งทางราง มีทางรถไฟสายสวรรคโลกซึ่งเป็นสายแยกจากสายเหนือ พาดผ่าน มีสถานีรถไฟประจำอำเภอคือ สถานีรถไฟคลองมะพลับ และการขนส่งทางอากาศ มีท่าอากาศยานสุโขทัยซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 22 กิโลเมตร

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ในอำเภอศรีนคร ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในอดีตฝ้ายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับอำเภอศรีนครอย่างมาก ดั่งในคำขวัญประจำอำเภอ "...ถิ่นกำเนิดฝ้าย..." แต่ในปัจจุบันการผลิตฝ้ายนั้นมีกำลังที่ลดลงอย่างมาก เพราะเกษตกรส่วนใหญ่หันไปปลูกพื้นจำพวกอื่น เช่น ข้าว อ้อย

อำเภอศรีนครเป็นที่ตั้งของสหกรณ์ที่สำคัญหลายแห่งของจังหวัด ได้แก่

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=686&pv=64
  2. จากคำบอกเล่าของนายธวัช ชุนนะวรรณ์ (อดีตนายกเทศมนตรีตำบลศรีนคร)
  3. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
  4. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองมะพลับ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
  5. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลคลองมะพลับ จังหวัดสุโขทัย เป็น สุขาภิบาลศรีนคร จังหวัดสุโขทัย