อำเภอบ้านธิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.บ้านธิ)
อำเภอบ้านธิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Thi
วัดพระธาตุดอยเวียง
คำขวัญ: 
เมืองคนดี มีศีลธรรม ถิ่นงามไทลื้อ นามระบือไทยอง
ท้องถิ่นคนขยัน มุ่งมั่นพัฒนา สถานศึกษาเด่นดัง
ร่วมพลังสามัคคี
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอบ้านธิ
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอบ้านธิ
พิกัด: 18°39′6″N 99°7′30″E / 18.65167°N 99.12500°E / 18.65167; 99.12500
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำพูน
พื้นที่
 • ทั้งหมด122.450 ตร.กม. (47.278 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด17,529 คน
 • ความหนาแน่น143.15 คน/ตร.กม. (370.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 51180
รหัสภูมิศาสตร์5107
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านธิ เลขที่ 149
หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 51180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านธิ (ไทยถิ่นเหนือ: (ᨷ᩶ᩣ᩠ᨶᨵᩥ/ᨷ᩶ᩤ᩠ᨶᨵᩥ[1])) เป็นอำเภอขนาดเล็ก อยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัดลำพูน แยกตัวออกจากอำเภอเมืองลำพูน มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่น่าสนใจ ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยอีกด้วย อำเภอบ้านธิได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยชื่อ "บ้านธิ"[2] ตั้งขึ้นตามลำน้ำแม่ธิที่ไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ของอำเภอนี้ สีประจำอำเภอคือสีชมพู

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

บ้านธิมีที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของจังหวัดลำพูน มีระยะห่างจากอำเภอเมืองลำพูน 22 กิโลเมตร มีพื้นที่เพียง 122.45 ตารางกิโลเมตรหรือ 76,530 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.72 ของพื้นที่จังหวัดลำพูนเท่านั้น โดยมีเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบ้านธิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2561)[3]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2561)[3]
1. บ้านธิ Ban Thi 20 9,599 9,599 (ทต.บ้านธิ)
2. ห้วยยาบ Huai Yap 16 8,167 8,167 (อบต.ห้วยยาบ)
รวม 36 17,766 9,599 (เทศบาล)
8,167 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านธิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านธิทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยาบทั้งตำบล

ประชากร[แก้]

ประชากรในอำเภอบ้านธิประกอบด้วยชาวไทลื้อร้อยละ 18 ชาวไทยองร้อยละ 60 และชาวไทยวนร้อยละ 22 ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และประชากรวัยหนุ่มสาวทำงานในโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

บ้านธิมีแม่น้ำสายหลัก คือลำน้ำแม่ธิ มีต้นน้ำจากทิวเขาขุนแม่ธิ ในเขตบ้านดอยเวียง ตำบลบ้านธิ ไหลผ่านตอนกลางของตำบลบ้านธิจากทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำกวง

สถานศึกษา[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดพระธาตุดอยเวียง ตั้งอยู่บริเวณบ้านดอยเวียง ตำบลบ้านธิ เป็นวัดเก่าแก่ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าสายฝน และพระธาตุดอยเวียงซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1220 ในสมัยพระนางจามเทวีเจ้าเมืองลำพูน
  • วัดพระธาตุดอยห้างบาตร ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยไซใต้ ตำบลห้วยยาบ เป็นสำนักสงฆ์ที่มีความสงัดวิเวกและมีทิวทัศน์ที่งดงาม เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยห้างบาตร ซึ่งตำนานเล่าว่าเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ทรงเตรียมบาตรเพื่อบิณฑบาตรโปรดสัตว์
  • อ่างเก็บน้ำแม่ธิ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านดอยเวียง ตำบลบ้านธิ
  • พระพุทธเฉลิมสิริราช วัดศรีดอนชัย เป็นพระพุทธรูปสูง 59 ศอก สูงที่สุดในภาคเหนือ
  • น้ำตกห้วยหก เป็นน้ำตกขนาด 7 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ธิ ห่างเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. ตัว ᨷ (บ๋ะ, บ) ใช้สระอาสูง (ไม้ก๋าโว้ง (อักษรล้านนา: ᨾᩱ᩶ᨠᩣᩅᩰᩫ᩠᩶ᨦ)) (◌ᩤ)
  2. "ประวัติอำเภอบ้านธิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-08. สืบค้นเมื่อ 2005-10-29.
  3. 3.0 3.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2559 จังหวัดลำพูน กรมการปกครอง

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]