อำเภอบาเจาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.บาเจาะ)
อำเภอบาเจาะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bacho
คำขวัญ: 
ปาโจแดนดินถิ่นสาวสวย สุดร่ำรวยสีทองอันสดใส มัสยิดโบราณแหล่งรวมใจ เลื่องลือไกลหลวงพ่อแดงแรงศรัทธา
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอบาเจาะ
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอบาเจาะ
พิกัด: 6°31′1″N 101°39′6″E / 6.51694°N 101.65167°E / 6.51694; 101.65167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด171.68 ตร.กม. (66.29 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,961 คน
 • ความหนาแน่น325.96 คน/ตร.กม. (844.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96170
รหัสภูมิศาสตร์9603
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบาเจาะ หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 96170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บาเจาะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส

ใบไม้สีทอง ที่สามจังหวัดชายแดนใต้คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่พบได้ที่นี่แห่งเดียวในโลก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบาเจาะตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ที่น้ำตกปาโจ ตำบลบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ประวัติ[แก้]

อำเภอบาเจาะ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสายบุรี มณฑลปัตตานี มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่บริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่ากอตอ หรือวัง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านดูกู ตำบลบาเจาะ ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2451 ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น เรียกว่ากิ่งอำเภอจำปากอ[1] (ณ บ้านจำปากอ ตำบลบาเระเหนือ ในปัจจุบัน) โดยแยกพื้นที่ออกจากอำเภอกลางเมืองสายบุรี รวมตำบลบาเระเหนือ ตำบลบาเระใต้ ตำบลช้างตาย ตำบลบาเจาะ ตำบลตุกาสาเมาะ และตำบลจำปากอ รวม 6 ตำบล ปีถัดมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2452 ได้ยกฐานะเป็น อำเภอจำปากอ[2] ให้ขึ้นตรงต่อเมืองสายบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบาเจาะ[3][4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ยุบจังหวัดสายบุรี เป็นอำเภอสายบุรี ขึ้นกับจังหวัดปัตตานี จึงได้โอนท้องที่อำเภอบาเจาะมาขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสจนถึงปัจจุบัน

อนื่ง อำเภอบาเจาะ ราษฎรทั่วไปมักจะเรียกว่า “แป๊ะบุญ” เนื่องจากประวัติเดิมกล่าวว่าหมู่บ้านที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบาเจาะ มีชาวจีนชื่อ “บุญ” มาตั้ง บ้านเรือน และทำมาค้าขาย รับซื้อสินค้า ของป่า และของอื่นๆ จากชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเรียกว่า แป๊ะบุญ ซึ่ง เรียกขานกันมาจนถึงปัจจุบัน อำเภอบาเจาะนั้นนับตั้งแต่ การประกาศจัดตั้ง มีนายอำเภอบาเจาะทั้งหมดจำนวน 32 คนโดยมีขุนหลวงนฤภัยพิทักษ์ (หลง มิตรสิตะ) เป็นนายอำเภอคนแรก

  • วันที่ 9 สิงหาคม 2451 แยกพื้นที่ตำบลตำบลบาเระเหนือ ตำบลบาเระใต้ ตำบลช้างตาย ตำบลบาเจาะ ตำบลตุกาสาเมาะ และตำบลจำปากอ ของอำเภอกลางเมืองสายบุรี จังหวัดสายบุรี ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอจำปากอ[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกลางเมืองสายบุรี
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2452 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอจำปากอ อำเภอกลางเมืองสายบุรี เป็น อำเภอจำปากอ[2]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอจำปากอ จังหวัดสายบุรี เป็น อำเภอบาเจาะ[3][4]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดสายบุรี รวมเข้ากับจังหวัดปัตตานี[5] เว้นแต่ท้องที่อำเภอบาเจาะ ให้โอนมาขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบาเระเหนือ แยกออกจากตำบลกาเยาะมาตี และตำบลปะลุกาสาเมาะ ตั้งตำบลลุโบะสาวอ แยกออกจากตำบลบาเจาะ[6]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบาเจาะ ในท้องที่หมู่ที่ 2,3,4 ของตำบลบาเจาะ[7]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2512 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบาเจาะ[8] ในท้องที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งสภาตำบลบาเจาะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบาเจาะ) สภาตำบลลุโบะสาวอ สภาตำบลบาเระเหนือ สภาตำบลบาเระใต้ และสภาตำบลปะลุกาสาเมาะ
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลกาเยาะมาตี[9]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2518 จัดตั้งนิคมสหกรณ์บาเจาะ ในท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอยี่งอ และอำเภอบาเจาะ[10]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 จัดตั้งนิคมสหกรณ์บาเจาะ (อีกครั้ง) ในท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอยี่งอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และเขตกิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[11][12] เนื่องจากประกาศปี พ.ศ. 2518[10] ได้ผิดไปจากสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศ
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2534 จัดตั้งสุขาภิบาลต้นไทร ในท้องที่หมู่ที่ 1,6 ของตำบลปะลุกาสาเมาะ[13]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลปะลุกาสาเมาะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลต้นไทร) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ[14]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลบาเจาะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบาเจาะ) สภาตำบลบาเระเหนือ สภาตำบลบาเระใต้ สภาตำบลกาเยาะมาตี และสภาตำบลลุโบะสาวอ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลกาเยาะมาตี และองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ[15] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบาเจาะ และสุขาภิบาลต้นไทร เป็นเทศบาลตำบลบาเจาะ และเทศบาลตำบลต้นไทร ตามลำดับ[16] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 แยกหมู่ที่ 3 บ้านดูกู ตำบลบาเจาะ ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ 1 หมู่บ้าน ตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านซอปอ ตำบลบาเจาะ[17]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบาเจาะแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บาเจาะ (Bacho) 9 หมู่บ้าน
2. ลุโบะสาวอ (Lubo Sawo) 7 หมู่บ้าน
3. กาเยาะมาตี (Kayo Mati) 6 หมู่บ้าน
4. ปะลุกาสาเมาะ (Paluka Samo) 11 หมู่บ้าน
5. บาเระเหนือ (Bare Nuea) 7 หมู่บ้าน
6. บาเระใต้ (Bare Tai) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบาเจาะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบาเจาะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบาเจาะ
  • เทศบาลตำบลต้นไทร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปะลุกาสาเมาะ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาเจาะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบาเจาะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุโบะสาวอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาเยาะมาตี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาเยาะมาตีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลต้นไทร)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาเระเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาเระใต้ทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ลดอำเภอกระลาพอลงเป็นกิ่งและรวมตำบลต่างๆในท้องที่อำเภอเมือง เมืองสายบุรี ๖ ตำบลจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอจำปากอ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (19): 571. August 9, 1908. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  2. 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอยี่งอ ซึ่งขึ้นเมืองสายบุรี ไปขึ้นจังหวัดบางนราในมณฑลปัตตานี ยกกิ่งอำเภอจำปากอ ตั้งเป็นอำเภอจำปากอขึ้นเมืองสายบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1950. December 5, 1909. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  4. 4.0 4.1 "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ หน้า ๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 858. June 17, 1917.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. February 21, 1931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-48. October 15, 1956.
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่ามะกา,ท่าม่วง,แก้งคล้อ,คีรีรัฐนิคม,คลองแงะ,ละงู,บาเจาะ และอุดรธานี ๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2549. August 26, 1969.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
  10. 10.0 10.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอบาเจาะ และอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (238 ก): (ฉบับพิเศษ) 17-18. November 20, 1975.
  11. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่กิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (128 ก): (ฉบับพิเศษ) 16-19. July 6, 1990.
  12. "แก้คำผิด พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่กิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (176 ง): 6281. September 3, 1990.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลต้นไทร อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-24. October 7, 1991.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. January 30, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  17. "ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (87 ง): 105–108. November 14, 2019.