อำเภอนาเชือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.นาเชือก)
อำเภอนาเชือก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Na Chueak
คำขวัญ: 
ปลาบู่เนื้อหวาน ถิ่นฐานปูทูลกระหม่อม
งามพร้อมผ้าไหม น้ำใสห้วยค้อ
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอนาเชือก
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอนาเชือก
พิกัด: 15°48′0″N 103°1′54″E / 15.80000°N 103.03167°E / 15.80000; 103.03167
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด528.198 ตร.กม. (203.938 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด60,897 คน
 • ความหนาแน่น115.29 คน/ตร.กม. (298.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44170
รหัสภูมิศาสตร์4407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนาเชือก ถนนบรบือ-พยัคฆภูมิพิสัย ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม 44170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นาเชือก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 8 ของจังหวัด

ประวัติ[แก้]

เนื่องจากท้องที่ตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ท้องที่ตำบลเขวาไร่ อำเภอบรบือ มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและอยู่ห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอแต่ละแห่ง ประชาชนได้รับความลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2482 ประชาชนในท้องที่ตำบลนาเชือก โดยการนำของ นายประกิจ ปะวะโก สมาชิกสภาจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บ้านโคกกลม ตำบลนาเชือก ได้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมสภาจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอให้ทางราชการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในท้องที่ตำบลนาเชือก สภาจังหวัดรับหลักการและจังหวัดได้สั่งให้นายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและนายอำเภอบรบือ จัดการสำรวจสถิติต่าง ๆ เสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกอบในการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น เนื่องจากเหตุผลบางประการเรื่องนี้จึงได้สะดุดหยุดลง แต่ประชาชนก็ยังมีความต้องการและเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอตามความต้องการเรื่อยมา

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2496 จังหวัดได้สั่งให้นายอำเภอบรบือและนายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยร่วมกันทำการสำรวจพื้นที่ที่ควรจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้นในท้องที่ตำบลนาเชือก ได้ทำการสำรวจพื้นที่หลายแห่ง ในที่สุดตกลงเลือกเอาพื้นที่โคก (เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนาเชือกในปัจจุบัน) อยู่ระหว่างบ้านนาเชือกกับบ้านกุดรัง เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ เพราะเป็นทำเลที่เหมาะสมเกี่ยวกับการวางและขยายผังเมืองตลอดทั้งเหตุผลในทางเศรษฐกิจในอนาคตด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2500 กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอนาเชือก แต่การดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จถูกผู้รับเหมาบอกเลิกสัญญา ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอนาเชือกจนแล้วเสร็จ โดยทางจังหวัดได้มอบหมายให้ นายเวศ สุริโย นายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยเป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง เพราะสถานที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ในเขตท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ซึ่งการปรับพื้นที่ ถางป่า ขุดตอ ได้รับความร่วมมือจากประชาชนโดยไม่คิดค่าตอบแทนแต่อย่างใด[1]

  • วันที่ 3 มิถุนายน 2501 สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอนาเชือก ในท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย (ยังไม่จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ)[2]
  • วันที่ 15 มีนาคม 2503 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอวาปีปทุม โดยโอนพื้นที่ตำบลนาเชือก และพื้นที่หมู่ 9-16 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาภู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปขึ้นกับอำเภอบรบือ และโอนพื้นทีหมู่ 6,8,10-15,20,22 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาดูน พื้นที่หมู่ 2,8,11-16,18 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม ไปขึ้นกับอำเภอบรบือ[3]
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2503 แยกพื้นที่ตำบลนาเชือก และตำบลเขวาไร่ อำเภอบรบือ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอนาเชือก ขึ้นกับอำเภอบรบือ[4]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลสำโรง แยกออกจากตำบลเขวาไร่ ตั้งตำบลปอพาน แยกออกจากตำบลนาเชือก ตั้งตำบลหนองโพธิ์ แยกออกจากตำบลนาเชือก และตำบลเขวาไร่[5]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอนาเชือก อำเภอบรบือ เป็น อำเภอนาเชือก[6]
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลนาเชือก ในท้องที่บางส่วนของตำบลนาเชือก และตำบลเขวาไร่[7]
  • วันที่ 2 กันยายน 2512 ตั้งตำบลหนองเม็ก แยกออกจากตำบลปอพาน และตำบลนาเชือก ตั้งตำบลหนองเรือ แยกออกจากตำบลเขวาไร่ และตำบลหนองโพธิ์ ตั้งตำบลหนองกุง แยกออกจากตำบลนาเชือก และตำบลหนองโพธิ์[8]
  • วันที่ 11 สิงหาคม 2515 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม โดยโอนพื้นที่หมู่ 4,7,9,11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองโพธิ์ อำเภอนาเชือก และพื้นที่หมู่ 2,7-8,10,12-14 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกู่ และพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม[9]
  • วันที่ 14 กันยายน 2519 ตั้งตำบลหนองแดง แยกออกจากตำบลสำโรง[10]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลสันป่าตอง แยกออกจากตำบลหนองกุง และตำบลหนองโพธิ์[11]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 กำหนดให้พื้นที่ป่าดูนลำพัน ตำบลนาเชือก เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนาเชือก เป็นเทศบาลตำบลนาเชือก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอนาเชือกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอนาเชือกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 145 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นาเชือก (Na Chueak) 18 หมู่บ้าน 6. ปอพาน (Po Phan) 16 หมู่บ้าน
2. สำโรง (Samrong) 15 หมู่บ้าน 7. หนองเม็ก (Nong Mek) 20 หมู่บ้าน
3. หนองแดง (Nong Daeng) 10 หมู่บ้าน 8. หนองเรือ (Nong Ruea) 13 หมู่บ้าน
4. เขวาไร่ (Khwao Rai) 19 หมู่บ้าน 9. หนองกุง (Nong Kung) 11 หมู่บ้าน
5. หนองโพธิ์ (Nong Pho) 11 หมู่บ้าน 10. สันป่าตอง (San Pa Tong) 12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอนาเชือกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาเชือก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาเชือกและตำบลเขวาไร่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเชือก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาเชือก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขวาไร่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาเชือก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปอพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปอพานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเม็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเม็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเรือกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าตอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันป่าตองทั้งตำบล

ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]

วัฒนธรรม[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่ในอำเภอนาเชือกดำเนินชีวิตตามแบบดั้งเดิม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น มีหัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องจักสาน การทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่มีสีสันเฉพาะตัว

ศิลปกรรมที่สำคัญ[แก้]

  • โบสถ์วัดเหล่าค้อ ตั้งอยู่ที่บ้านเหล่าค้อ ตำบลปอพาน โบสถ์วัดเหล่าค้อเป็นศิลปกรรมแบบพม่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2526 มีลวดลายที่เป็นปริศนาธรรม
  • โบสถ์วัดหนองเลา ตั้งอยู่ที่วัดหนองเลา ตำบลหนองเม็ก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 เป็นศิลปกรรมที่เก่าแก่ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีประตูด้านเดียวและประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ไม่มีหน้าต่าง
  • ที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า (เกาะข่า) เดิมเป็นเนินดินที่เกิดตามธรรมชาติ ที่ได้กลายเป็นเกาะ ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากการสร้างสันอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ในปี พ.ศ. 2511 ทำให้น้ำถูก กักเก็บไว้และกลายเป็นเกาะขึ้นมา โดยได้เข้าไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นที่พักสงฆ์  ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ จากหลักฐานการจารึกบนพื้นปูน และคำว่า ข่า นั้น มาจากคำว่า มะค่าโมง  (Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib) วงศ์  Fabaceae ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่พบบนเกาะแห่งนี้ ปัจจุบัน มีต้นขนาดใหญ่ จำนวน 2 ต้น และกล้าไม้จำนวนมากที่ขึ้นอยู่ สำหรับพื้นที่นี้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น ปลาบู่ กุ้ง ปลาตอง ปลานิล ปลาขาว และปลาตะเพียน เป็นต้น และด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน ได้ร่วมใจกันสร้างศาลปู่ตา “ปู่สี” เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านได้เคารพและสักการะบูชา และคอยปกปักษ์ รักษา และคุ้มครองให้เกาะและแหล่งน้ำแห่งนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นรากฐานของความเป็นอยู่ที่ดีของชาวอำเภอนาเชือกและพื้นที่ใกล้เคียงสืบไป ที่มา: พระสุรัตน์ จารุธมฺโม อายุ 31 ปี ที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า  บ้านหัวหนองคู ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564

ประเพณี[แก้]

ชุมชนชาวอีสานในอำเภอนาเชือกมีชีวิตความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบของชาวอีสานโดยทั่วไป ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมในฮีตสิบสองคองสิบสี่มาแต่โบราณ ประเพณีวัฒนธรรมที่เห็นเด่นชัด ได้แก่ บุญคูณลาน บุญข้าวจี่ บุญมหาชาติ บุญสงกรานต์ บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา ออกพรรษา บุญกฐิน ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น[13]

สถานที่สำคัญ[แก้]

โรงเรียนในเขตเทศบาล[แก้]

  • โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
  • โรงเรียนเทศบาลนาเชือก
  • โรงเรียนวรัญญาวิทย์
  • โรงเรียนอนุบาลวรัญญาวิทย์
  • โรงเรียนวัดป่านาเชือก
  • โรงเรียนศุภประภา
  • โรงเรียนอนุบาลเรียบร้อย
  • โรงเรียนเทคโนโลยีพณิชการมหาสารคาม

สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ[แก้]

  • อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
  • เกาะโนนข่า (เกาะข่า)

สถานที่อื่น ๆ[แก้]

  • โรงพยาบาลนาเชือก (ขนาด 38 เตียง)
  • ตลาดสดเทศบาลตำบลนาเชือก

การคมนาคม[แก้]

การขนส่งภายในและระหว่างจังหวัด มีรถโดยสารประจำทางเส้นทาง กรุงเทพฯ-นาเชือก และมหาสารคาม-พยัคฆภูมิพิสัย ส่วนภายในอำเภอ มีรถสามล้อและมอเตอร์ไซค์รับจ้างให้บริการ

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1] เก็บถาวร 2021-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติความเป็นมา - อำเภอนาเชือก
  2. [2]กระทู้ถามที่ ว. ๒/๒๕๐๑ ของนายเกียรติ นาคะพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม เรื่อง การประกาศตั้งและสร้างที่ทำการกิ่งอำเภอเชียงยืนและกิ่งอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
  3. [3]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๐๓
  4. [4] เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ
  5. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอนาเชือก อำเภอบรบือ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
  6. [6] เก็บถาวร 2009-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
  8. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาเชือก อำเภอบรบือ และอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  9. [9]ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๘ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม]
  10. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาเชือกและกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  11. [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคาม และอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
  12. [12]กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ [กำหนดให้พื้นที่บริเวณป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม]
  13. "อำเภอนาเชือก". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภ่าคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help)