อำเภอชัยบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.ชัยบุรี)
อำเภอชัยบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chai Buri
คำขวัญ: 
เมืองชายแดน แผ่นดินปาล์ม งามถ้ำหอม แวดล้อมคุณธรรม
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอชัยบุรี
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอชัยบุรี
พิกัด: 8°27′46″N 99°4′36″E / 8.46278°N 99.07667°E / 8.46278; 99.07667
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด440.7 ตร.กม. (170.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด28,202 คน
 • ความหนาแน่น63.99 คน/ตร.กม. (165.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84350
รหัสภูมิศาสตร์8418
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอชัยบุรี หมู่ที่ 1 ตำบลชัยบุรี อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84350
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชัยบุรี เป็นอำเภอตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอำเภอลำดับที่ 18 ของจังหวัด แยกออกจากอำเภอพระแสง เดิมพื้นที่ของอำเภอทั้งหมดอยู่ในการปกครองของตำบลสองแพรก

เครื่องจักรกลหนักของ ส.ป.ก. จากสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน (สพป.) กำลังปรับหน้าดินในพื้นที่ คทช. ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอชัยบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

เครื่องจักรกลหนักของ ส.ป.ก. จากสำนักสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน (สพป.) กำลังปรับหน้าดินในพื้นที่ คทช. ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติ[แก้]

อำเภอชัยบุรีเดิมอยู่ในการปกครองของตำบลสองแพรก อำเภอพระแสง มีพื้นที่กว้างขวางและห่างไกลจากตัวอำเภอพระแสง ราษฎรไปติดต่อราชการเดินทางด้วยความยากลำบาก ราษฎรในพื้นที่นำโดยนายวีระเลิศ ตระกูล กำนันตำบลสองแพรกและผู้ใหญ่บ้านได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อขอแยกออกมาจากอำเภอพระแสง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยเสนอความเห็นผ่านหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีรังสิต ขณะที่ท่านได้เดินทางมาที่อำเภอพระแสง และได้เดินทางโดยทางเรือ มาที่ตำบลสองแพรกเพื่อเยี่ยมราษฎร โดยพักค้างที่บ้านนายวีระ เลิศตระกูล กำนันตำบลสองแพรก ซึ่งอยู่ใกล้วัดสมัยสุวรรณ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดีรังสิตเดินทางมาเป็นครั้งที่ 3 เพื่อต้องการให้หม่อมหญิงวิภาวดีรังสิต กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงมาเยี่ยมราษฎรที่ตำบลสองแพรก

ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรที่วัดสมัยสุวรรณ ตำบลสองแพรก อำเภอพระแสง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เข้ากราบเจ้าอาวาส ซึ่งตอนนั่นคือท่านพระครูสุวรรณโอกาส และได้ทรงถามท่านพระครูฯ ว่าจะให้ทางพระราชวังช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ท่านพระครูฯ บอกไปว่าขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานกิ่งอำเภอให้กับราษฎรตำบลสองแพรก เพราะมีพื้นที่กว้างขวางห่างไกลกับตัวอำเภอพระแสง ราษฎรเดินทางไปติดต่อราชการที่อำเภอพระแสงด้วยความยากลำบาก ไม่มีถนนหนทางที่จะเดินทางไป โดยมีการเดินทางได้แค่เส้นทางเรือเท่านั้น และลำคลองก็คดเคี้ยวตื้นเขิน จึงไม่สะดวกและเกิดอันตรายในการเดินทางอยู่เป็นประจำ

ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกหมู่ 6 บ้านคลองพังกลาง, หมู่ 7 บ้านยวนปลา,หมู่ 8 บ้านบางปาน, หมู่ 9 บ้านสองแพรก, หมู่ 10 บ้านสระพัง และหมู่ 11 บ้านสะพานไทร ตำบลสองแพรกมาเป็นตำบลชัยบุรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2521[1] กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้ง กิ่งอำเภอชัยบุรี ชื่อที่ตั้งขึ้นนั่นเพื่อเป็นเกียรติแก่ขุนชัยบุรีซึ่งเป็นนายอำเภอพระแสงคนแรก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524[2] โดยโอนพื้นที่ของตำบลสองแพรกและตำบลชัยบุรีของอำเภอพระแสง เป็นกิ่งอำเภอชัยบุรี ได้เปิดทำการให้บริการประชาชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2524 โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดสมัยสุวรรณ หมู่ที่ 1 ตำบลสองแพรกเป็นที่ทำการชั่วคราว โดยมีนายวิสูตร ตันสุทธิวัฒน์ เป็นปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก

ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกหมู่บ้านเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 มีหมู่ 3 บ้านปลายศอก, หมู่ 4 บ้านบางหอย, หมู่ 7 บ้านปลายคลองศอก, หมู่ 8 บ้านควนฮาย หมู่ 9 บ้านน้ำแดง, หมู่ 10 บ้านหินกุ้งตั้ง, หมู่ 11 บ้านปลายคลองบางปัด ตำบลสองแพรก ออกเป็นตำบลคลองน้อย กับแยกหมู่ 5 บ้านบางปาน, หมู่ 6 บ้านสองแพรก, หมู่ 9 บ้านไทรงาม, หมู่ 10 บ้านควนสระ, หมู่ 11 บ้านควนสินชัย หมู่ 12 บ้านสองแพรกใหม่ ตำบลชัยบุรีตั้งเป็นตำบลไทรทอง[3] โดยนายนภา กาญจนกีรณา ปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ได้ประกาศยกฐานะจากกิ่งอำเภอมาเป็น อำเภอชัยบุรี[4] ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอชัยบุรี ณ พื้นที่หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพื้นที่โดยนายลัก ศักดิ์จันทร์ และนายทวี นาวา ได้บริจาคที่ดินประมาณ 42 ไร่และได้ดำเนินการเปิดให้บริการประชาชนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 โดยมีนายนิพันธ์ ชลวิทย์ เป็นนายอำเภอคนแรก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอชัยบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สองแพรก (Song Phraek) 9 หมู่บ้าน
2. ชัยบุรี (Chai Buri) 10 หมู่บ้าน
3. คลองน้อย (Khlong Noi) 10 หมู่บ้าน
4. ไทรทอง (Sai Thong) 8 หมู่บ้าน
แผนที่
แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอชัยบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองแพรกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยบุรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรทองทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (95 ง): 2960–2962. September 12, 1978.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอชัยบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (42 ง): 754. March 17, 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (200 ง): 8172–8179. October 4, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.