อ็อยเกน เบามัน
อ็อยเกน เบามัน | |
---|---|
เกิด | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1846 คันชตัท รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค เยอรมนี |
เสียชีวิต | 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1896 ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค เยอรมนี | (49 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน |
มีชื่อเสียงจาก | พอลิไวนิลคลอไรด์ ปฏิกิริยาช็อทเทิน-เบามัน |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เคมีอินทรีย์, ชีวเคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | แฮร์มัน ฟ็อน เฟลิง เฟลิคส์ ฮ็อพเพอ-ไซเลอร์ |
อ็อยเกน เบามัน (เยอรมัน: Eugen Baumann; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1846 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1896) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เป็นผู้สังเคราะห์พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1872[1] และค้นพบปฏิกิริยาช็อทเทิน-เบามันร่วมกับคาร์ล ช็อทเทิน ในปี ค.ศ. 1883[2][3][4][5]
อ็อยเกน เบามันเกิดที่เมืองคันชตัท (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองชตุทท์การ์ท) ในปี ค.ศ. 1846 ได้รับความรู้ด้านเภสัชกรรมจากบิดาและเรียนที่มหาวิทยาลัยชตุทท์การ์ท ต่อมาเบามันเดินทางไปที่เมืองลือเบคและกอเทนเบิร์กเพื่อทำงานเป็นเภสัชกร และเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน จากนั้นเขาตามอาจารย์คือ เฟลิคส์ ฮ็อพเพอ-ไซเลอร์ไปที่มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ ในปี ค.ศ. 1876 เอมีล ดูว์ บัว-แรมง นักสรีรวิทยาชาวเยอรมันเสนอตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเคมีที่สถาบันสรีรวิทยาในเบอร์ลินให้แก่เบามัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1882 เบามันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่สถาบันนั้นและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยไฟรบวร์คในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ. 1883 เบามันแต่งงานกับเทเรซา ค็อพ ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 5 คน เบามันเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1896 ด้วยโรคหัวใจ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Baumann, E. (1872) "Ueber einige Vinylverbindungen" (On some vinyl compounds), Annalen der Chemie und Pharmacie, 163 : 308-322.
- ↑ W Pötsch. Lexikon bedeutender Chemiker (VEB Bibliographisches Institut Leipzig, 1989) (ISBN 3-323-00185-0)
- ↑ M B Smith, J March. March's Advanced Organic Chemistry (Wiley, 2001) (ISBN 0-471-58589-0)
- ↑ Schotten, C. (1884). "Ueber die Oxydation des Piperidins". Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft. 17: 2544. doi:10.1002/cber.188401702178.
- ↑ Baumann, E. (1886). "Ueber eine einfache Methode der Darstellung von Benzoësäureäthern". Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft. 19: 3218. doi:10.1002/cber.188601902348.
- ↑ A. Kossel (1897). "Obituary: Eugen Baumann". Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft. 30 (3): 3197–3213. doi:10.1002/cber.189703003150.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อ็อยเกน เบามัน