อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค
อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค | |
---|---|
![]() | |
อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค ในปี ค.ศ. 1989 | |
เลขานุการลำดับที่หนึ่งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มกราคม ค.ศ. 1968 – 17 เมษายน ค.ศ. 1969 | |
ก่อนหน้า | อันโตนิน โนวอตนี |
ถัดไป | กุสตาว ฮูซาก |
ประธานรัฐสภาแห่งสมาพันธ์เชโกสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ธันวาคม ค.ศ. 1989 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1992 | |
ก่อนหน้า | อาลัวส์ อินดรา |
ถัดไป | มิคาล โควิช |
ประธานรัฐสภาแห่งสมาพันธ์เชโกสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 เมษายน ค.ศ. 1969 – 15 ตุลาคม ค.ศ. 1969 | |
ก่อนหน้า | ปีเตอร์ โคลอตกา |
ถัดไป | ดาลิบอร์ ฮาเนส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 อูห์โรเวค, เชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันอยู่ในสโลวาเกีย) |
เสียชีวิต | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 ปราก, เชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) | (70 ปี)
พรรค | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสโลวาเกีย (ค.ศ. 1939-1948) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย (ค.ศ. 1948–1970) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค (สโลวัก: Alexander Dubček; 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992) เป็นนักการเมืองชาวสโลวาเกีย เป็นอดีตผู้นำเชโกสโลวาเกีย (ค.ศ. 1968–1969) ในช่วงปรากสปริง เขาพยายามที่จะปฏิรูปสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก แต่ถูกบีบให้ลาออกหลังการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายสนธิสัญญาวอร์ซอ[1]
ประวัติ[แก้]
อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค เกิดเมื่อ ค.ศ. 1921 ที่เมืองอูห์โรเวค ในเชโกสโลวาเกีย[2] และเติบโตในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ (ปัจจุบันคือ คีร์กีซสถาน) พออายุได้ 17 ปี ครอบครัวของเขาก็ย้ายกลับไปอยู่ที่เชโกสโลวาเกีย ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดุปเชคได้เข้าร่วมกลุ่มต่อต้านนาซีในสโลวาเกีย และเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสโลวาเกีย ซึ่งต่อมากลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย กระทั่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1968 ดุปเชคก็ได้ขึ้นเป็นเลขานุการลำดับที่หนึ่งของพรรค การขึ้นสู่อำนาจของเขาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ปรากสปริง ดุปเชคร่วมมือกับนักปฏิรูปหลายคนเพื่อเริ่มสิ่งที่เรียกว่า "สังคมนิยมแบบใบหน้ามนุษย์" (socialism with a human face) ซึ่งเป็นการเปิดเสรีทางการเมืองและให้สิทธิ์ต่าง ๆ กับประชาชน[3] แต่สมาชิกบางกลุ่มในพรรคและเหล่าผู้นำสนธิสัญญาวอร์ซอมองว่าสิ่งนี้เป็นภัยต่อระบอบคอมมิวนิสต์ เดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตและกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอบุกเข้าเชโกสโลวาเกีย[4] ดุปเชคและนักปฏิรูปคนอื่น ๆ ถูกคุมตัวไปที่มอสโกและถูกบังคับให้ลงนามในพิธีสารมอสโก[5] สองปีหลังจากปรากสปริง ดุปเชคก็ถูกขับไล่ออกจากพรรค
หลังจากถูกขับไล่ออกจากพรรค ดุปเชคและภรรยาใช้ชีวิตอย่างสงบในบราติสลาวา ในปี ค.ศ. 1989 เขาได้รับรางวัลซาคารอฟ ในปีเดียวกัน ดุปเชคได้สนับสนุนการปฏิวัติกำมะหยี่ หลังการปฏิวัติ ดุปเชคได้รับเลือกเป็นประธานรัฐสภาแห่งสมาพันธ์เชโกสโลวาเกีย[6] จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1992[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Alexander Dubcek - History Learning Site
- ↑ Dennis Kavanagh (1998). "Dubcek, AAlexander". A Dictionary of Political Biography. Oxford: OUP. p. 152. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2013.
- ↑ Alexander Dubcek, Hero of 'Prague Spring,' Dies : Czechoslovakia: He espoused 'socialism with a human face' in 1968, and he remained beloved.
- ↑ Alexander Dubcek - Spartacus Educational
- ↑ On This Day: Reformist Alexander Dubcek Takes Power in Czechoslovakia
- ↑ Alexander Dubcek Facts, information, pictures | Encyclopedia.com
- ↑ Alexander Dubcek, 70, Dies in Prague - NYTimes.com
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค
- Alexander Dubcek | biography - Slovak statesman | Britannica.com[ลิงก์เสีย]