อูว์นีดรัว
ชื่อย่อ | อูว์นีดรัว |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1926 |
ประเภท | องค์การระหว่างประเทศ |
สํานักงานใหญ่ | กรุงโรม ประเทศอิตาลี |
สมาชิก | 65 รัฐ (ค.ศ. 2023) |
ภาษาทางการ |
|
เว็บไซต์ | https://www.unidroit.org/ |
อูว์นีดรัว (ฝรั่งเศส: UNIDROIT; [ynidʁwɑ])[1] ชื่อเต็มว่า สถาบันระหว่างประเทศเพื่อสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายเอกชน (อังกฤษ: International Institute for the Unification of Private Law; ฝรั่งเศส: Institut international pour l'unification du droit privé) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมุ่งสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (กฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ) มีชื่อจากการร่างสนธิสัญญาและจัดทำกฎหมายแม่แบบ (model law)
อูว์นีดรัวสถาปนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 และใน ค.ศ. 2023 มีรัฐสมาชิกทั้งสิ้น 65 รัฐ[2]
ความเป็นมา
[แก้]อูว์นีดรัวสถาปนาขึ้นเป็นแผนกของสันนิบาตชาติ (League of Nations) เมื่อ ค.ศ. 1926 มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปกฎหมายเอกชนให้เป็นหนึ่งเดียว[3]
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว อูว์นีดรัวก็เลิกล้มไปพร้อมกับการสิ้นสุดลงของสันนิบาตชาติ แต่มีการจัดตั้งอูว์นีดรัวขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1940 ด้วยสนธิสัญญาซึ่งเรียก "ธรรมนูญประมวลบทแก้ไขเพิ่มเติมข้อ 6 (1)" (Statue Incorporating the Amendment to Article 6(1)) หรือมักเรียกกันว่า "ธรรมนูญอูว์นีดรัว" (UNIDROIT Statute)[3]
ที่ตั้ง
[แก้]อูว์นีดรัวตั้งอยู่ในใจกลางกรุงโรม ประเทศอิตาลี[3] บางโอกาสจึงมีผู้ออกนามสถาบันนี้ว่า "สถาบันกรุงโรม" (Rome Institute)[4]
อาคารของอูว์นีดรัว คือ วิลลาอัลโดบรันดีนี (Villa Aldobrandini) คฤหาสน์อันสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ทางเหนือของสันตะมหาวิทยาลัยนักบุญทอมัส อะไควนัส (Pontifical University of Saint Thomas Aquinas)
สมาชิก
[แก้]รัฐเข้าเป็นสมาชิกอูว์นีดรัวได้โดยภาคยานุวัติธรรมนูญอูว์นีดรัว ปัจจุบัน อูว์นีดรัวมีสมาชิกดังนี้[2]
รัฐสมาชิก | ปีที่เข้าร่วม (ค.ศ.) |
---|---|
กรีซ | 1940 |
เกาหลีใต้ | 1981 |
คิวบา | 1940 |
แคนาดา | 1968 |
โครเอเชีย | 1996 |
โคลอมเบีย | 1940 |
จีน | 1986 |
ชิลี | 1951 |
ซานมารีโน | 1945 |
ซาอุดีอาระเบีย | 2008 |
เซอร์เบีย | 2001 |
ไซปรัส | 1999 |
ญี่ปุ่น | 1954 |
เดนมาร์ก | 1940 |
ตุรกี | 1950 |
ตูนิเซีย | 1980 |
นอร์เวย์ | 1951 |
นิการากัว | 1940 |
เนเธอร์แลนด์ | 1940 |
ไนจีเรีย | 1964 |
บราซิล | 1940 |
บัลแกเรีย | 1940 |
เบลเยียม | 1940 |
โบลิเวีย | 1940 |
ปากีสถาน | 1964 |
ปารากวัย | 1940 |
โปแลนด์ | 1979 |
โปรตุเกส | 1949 |
ฝรั่งเศส | 1948 |
ฟินแลนด์ | 1940 |
มอลตา | 1970 |
มองโกเลีย | 2023 |
เม็กซิโก | 1940 |
เยอรมนี | 1940 |
รัสเซีย | 1990 |
โรมาเนีย | 1940 |
ลักเซมเบิร์ก | 1951 |
ลัตเวีย | 2006 |
ลิทัวเนีย | 2007 |
เวเนซุเอลา | 1940 |
สเปน | 1940 |
สโลวาเกีย | 1993 |
สโลวีเนีย | 1995 |
สวิตเซอร์แลนด์ | 1940 |
สวีเดน | 1940 |
สหรัฐอเมริกา | 1964 |
บริเตนใหญ่ | 1948 |
เช็กเกีย | 1993 |
ออสเตรเลีย | 1973 |
ออสเตรีย | 1948 |
อิตาลี | 1940 |
อินเดีย | 1950 |
อินโดนีเซีย | 2008 |
อิรัก | 1973 |
อิสราเอล | 1954 |
อิหร่าน | 1951 |
อียิปต์ | 1951 |
อาร์เจนตินา | 1972 |
อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ | 1945 |
อุรุกวัย | 1940 |
เอสโตเนีย | 2001 |
แอฟริกาใต้ | 1971 |
ไอร์แลนด์ | 1940 |
ฮังการี | 1940 |
อนุสัญญา
[แก้]ตลอดหลายปีที่ผ่านมา อูว์นีดรัวได้ร่างความตกลงระหว่างประเทศดังต่อไปนี้ขึ้น ซึ่งได้ตกลงรับกันในการประชุมทางทูตของสมาชิกอูว์นีดรัว[5]
ที่ | อนุสัญญา | สถานที่การตกลงรับ | ปีที่ตกลงรับ |
---|---|---|---|
1 | อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (Convention relating to a Uniform Law on the International Sale of Goods) | เฮก | 1964 |
2 | อนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการก่อสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (Convention relating to a Uniform Law on the Formation of Contracts for the International Sale of Goods) | เฮก | 1964 |
3 | อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสัญญาการเดินทาง (International Convention on Travel Contracts) | บรัสเซล | 1970 |
4 | อนุสัญญากำหนดกฎหมายเอกรูปว่าด้วยแบบแห่งพินัยกรรมระหว่างประเทศ (Convention providing a Uniform Law on the Form of an International Will) | วอชิงตันดีซี | 1973 |
5 | อนุสัญญาว่าด้วยตัวแทนในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (Convention on Agency in the International Sale of Goods) | เจนีวา | 1983 |
6 | อนุสัญญาอูว์นีดรัวว่าด้วยการเช่าการเงินระหว่างประเทศ (UNIDROIT Convention on International Financial Leasing) | ออตตาวา | 1988 |
7 | อนุสัญญาอูว์นีดรัวว่าด้วยแฟ็กเตอริงระหว่างประเทศ (UNIDROIT Convention on International Factoring) | ออตตาวา | 1988 |
8 | อนุสัญญาอูว์นีดรัวว่าด้วยวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกโจรกรรมหรือส่งออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (UNIDROIT Convention on Stolen or Illegally Exported Cultural Objects) | โรม | 1995 |
9 | อนุสัญญาว่าด้วยประโยชน์ระหว่างประเทศในอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Convention on International Interests in Mobile Equipment) พร้อมด้วยพิธีสารว่าด้วยอากาศยาน (Protocol on Aircraft), พิธีสารว่าด้วยล้อเลื่อนรถไฟ (Protocol on Railway rolling stock), และพิธีสารว่าด้วยสินทรัพย์อวกาศ (Protocol on Space Assets) | เคปทาวน์ | 2001 |
10 | อนุสัญญาหลักทรัพย์เจนีวา (Geneva Securities Convention) | เจนีวา | 2009 |
อนึ่ง อูว์นีดรัวยังเป็นผู้รับฝากอนุสัญญาสองฉบับในอนุสัญญาข้างต้น คือ อนุสัญญาเคปทาวน์พร้อมด้วยพิธีสารแนบท้ายทั้งสามฉบับ และอนุสัญญาหลักทรัพย์เจนีวา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Forvo (n.d.). "Pronuncia di UNIDROIT in Francese".
- ↑ 2.0 2.1 UNIDROIT (n.d.). "Membership".
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "UNIDROIT: An Overview". UNIDROIT. 2009. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
- ↑ John Honnold (1965). "The Uniform Law for the International Sale of Goods: The Hague Convention of 1964". Law and Contemporary Problems. 30 (Spring). สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
- ↑ "UNIDROIT Conventions". UNIDROIT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-16. สืบค้นเมื่อ 26 February 2012.