อุไรรัตน์ สร้อยมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุไรรัตน์ สร้อยมี
เกิดพ.ศ. 2511
อำเภอหล่มสัก, จังหวัดเพชรบูรณ์
เสียชีวิต31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (38 ปี)
ประเทศไทย
มีชื่อเสียงจากเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ในญี่ปุ่น

อุไรรัตน์ สร้อยมี (ค.ศ. 1968, 1970 หรือ 1971[1] – 31 พฤษภาคม 2006)[2] เป็นนักเคลื่อนไหวชาวไทยและเหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศญี่ปุ่น

อุไรรัตน์เป็นชาวอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และย้ายไปอาศัยอยู่ในเมืองยกกาอิจิ จังหวัดมิเอะ ที่ซึ่งเธอถูกบังคับค้าประเวณี เธอถูกคุมขังในเรือนจำญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายปีกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในเดือนกันยายน 2005 เนื่องจากเธอกำลังป่วยด้วยมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย เธอได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับไทยและใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หลังเดินทางถึงไทย เธอได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อผู้ล่อลวงเธอไปค้าประเวณี ที่ซึ่งมีรายงานว่าเป็นการฟ้องร้องแบบนี้ครั้งแรกในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เธอเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม 2006 ก่อนที่คดีความจะตัดสินชี้ขาด

ภูมิหลัง[แก้]

อุไรรัตน์ สร้อยมี เกิดที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เธอแต่งงานแล้วและมีลูกสามคน สามีของเธอพิการ[3] จากอุบัติเหตุรถยนต์[4] เช่นเดียวกับหลายคนในหมู่บ้านเธอ เธอยากจนและไม่ได้รับการศึกษาในระบบ[4] ชื่อเล่นของเธอคือ "บัว"[4] เธอถูกว่าจ้างไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยปฐมา โคซากะ เพื่อนบ้านที่ร่ำรวยและเพื่อนวัยเด็กของแม่เธอ[3] ปฐมาอ้างว่าเธอสมรสกับชายชาวญี่ปุ่นและเธอเป็นเจ้าของร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นที่ต้องการอุไรรัตน์ให้ไปทำงานเป็นเด็กเสิร์ฟในร้าน[5] อุไรรัตน์ไม่สามารถเข้าถึงสื่อใด ๆ ได้ในเวลานั้นและมีการศึกษาไม่มาก เธอจึงไม่ทราบข่าวเกี่ยวกับการลวงหญิงไทยไปค้าประเวณีในต่างแดน[6]

การบังคับค้าประเวณีในประเทศญี่ปุ่น[แก้]

อุไรรัตน์เดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นในปี 2000 และเดินทางไปยังยกกาอิจิ โดยหญิงไทยชื่อ "ดาว" และสามี[6] ที่ซึ่งเธอถูกบอกว่าจะต้องทำงานเป็นโสเภณี[3] เธอระบุว่าขณะค้ากาม เธอไม่เคยยินยอมที่จะมีเพศสัมพันธ์ เธอถูกบอกว่าจะถูกขายตัวให้กับซ่องบนเกาะแล้วจับโยนทิ้งลงทะเลถ้าเธอคิดจะหลบหนี นอกจากนี้เธอยังสามารถกลับไทยได้หากเธอทำงานชดใช้หนี้ในระยะเวลาห้าเดือน[6] ระหว่างนั้นเธอถูกขังในห้องเช่าของอะพาร์ตเมนต์หนึ่งกับโสเภณีชาวไทยคนอื่น ๆ โดยมีดาวและสามีคอยดำเนินการพาเธอออกมาพบลูกค้า ครั้งละสามถึงหกวัน[6] เธอถูกบังคับให้บริการแม้ขณะที่กำลังมีประจำเดือน และแม้จะติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เจ็บปวดอย่างมาก[6]

ถึงแม้จะครบกำหนดห้าเดือนแล้ว แต่ดาวปฏิเสธที่จะปล่อยเธอกลับไทย เธอถูกขายตัวให้กับกลุ่มยากูซ่าและหนี้ของเธอก็พอกพูนขึ้นอีก[6] ณ จุดนี้เธอระบุว่าเธอได้ติดต่อกับปราณี โสเภณีอีกคน และ บุญ เพื่อนชาวไทย เพื่อช่วยเธอหลบหนี[3]

การหลบหนีและจับกุม[แก้]

เหตุการณ์เกี่ยวกับการเสียชีวิตของดาวและการหลบหนีของอะไรรัตน์ยังเป็นที่ถกเถียง ในบทสัมภาษณ์กับ บางกอกโพสต์ อุไรรัตน์อ้างว่าบุญเดินทางมายังอะพาร์ตเมนต์ของเธอเพื่อช่วยเธอหลบหนี และบุญลงมือฆาตกรรมดาวเพื่อป้องกันไม่ให้เธอถูกนำตัวไปอยู่กับยากูซ่า[6] อย่างไรก็ตาม เคียวโดะนิวส์ รายงานว่าอัยการชาวญี่ปุ่นระบุว่าอุไรรัตน์ก่อคดีลักขโมยและฆาตกรรมโดยทุบหัวของดาวด้วยขวด[7]

ถึงแม้จะมีการร้องขอโดยองค์การด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ[6] บุญถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ฐานความผิดมีส่วนในการฆาตกรรม ส่วนอุไรรัตน์ถูกตัดสินจำคุกเจ็ดปี[8] ขณะถูกคุมขัง อุไรรัตน์ตรวจพบมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย และถูกปล่อยตัวเพื่อเดินทางกลับไปอาศัยกับครอบครัวในประเทศไทย[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. According to the Mail & Globe, she was 29 years old in 2000 (which would make her year of birth 1970 or 1971), although most sources cite 1968, mg.co.za; accessed 29 January 2018.
  2. Kaewmorakot, Chatrarat (6 June 2006). "Adoptive mother vows to fight on". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2007. สืบค้นเมื่อ 29 December 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Silver, Steve (15 August 2006). "The trafficking scourge". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 29 December 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 Brock 2007, p. 217.
  5. Brock 2007, pp. 217–218.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 Brock 2007, p. 218.
  7. Woman's dying wish: to punish traffickers who ruined her life เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, nationmultimedia.com, 23 January 2006; accessed 10 June 2014.
  8. Promyamyai, Thanaporn (25 August 2006). "Trafficked Thai woman seeks justice from the grave". The M&G Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 December 2018.
  9. Profile of Urairat Soimee เก็บถาวร 2014-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, silveradomedia.com; accessed 10 June 2014.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]