อุโบสถกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อุโบสถกรรม (อ่านว่า อุโบสดถะกำ) แปลว่าการทำอุโบสถ

อุโบสถกรรม หมายถึงการสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดิอนของพระสงฆ์ คือพระวินัยกำหนดไว้ว่าพระสงฆ์จะต้องทำสังฆกรรมสวดพระปาติโมกข์ที่โบสถ์ทุกวันขึ้นและแรม 15 ค่ำ หรือแรม 14 ค่ำในเดือนขาด เรียกการไปทำสังฆกรรมนั้นว่า ลงอุโบสถ

อุโบสถกรรม ถ้ามีภิกษุครบองค์สงฆ์คือ 4 รูปขึ้นไปทำร่วมกันโดยสวดพระปาติโมกข์ เรียกว่า สังฆอุโบสถ ถ้ามีไม่ครบ 4 คือมี 2 หรือ 3 รูปทำโดยไม่ต้องสวดพระปาติโมกข์ เป็นแต่บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน เรียกว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีเพียงรูปเดียวทำโดยการกำหนดใจว่าเป็นวันอุโบสถ เรียกว่า อธิษฐานอุโบสถ หรือ ปุคคลอุโบสถ

อ้างอิง[แก้]