อุบัติการณ์ซากูราดามง (ค.ศ. 1932)
อุบัติการณ์ซากูราดามง | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ ขบวนการเรียกร้องเอกราชเกาหลี | |
ตำรวจรวมตัวรอบบริเวณที่มีการทิ้งระเบิดมือ (8 มกราคม ค.ศ. 1932) | |
ตำแหน่ง | ประตูซากูราดะ พระราชวังหลวง โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น 35°40′40″N 139°45′11″E / 35.67787°N 139.75311°E |
โดย | องค์กรรักชาติเกาหลี |
ผู้บังคับบัญชา | คิม กู |
เป้าหมาย | จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ |
วันที่ | 8 มกราคม ค.ศ. 1932 |
ผู้ลงมือ | อี บง-ชัง |
ผลลัพธ์ | จักรพรรดิไม่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนอีถูกจับกุมและประหารชีวิต |
อุบัติการณ์ซากูราดามง | |||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮันกึล | |||||||
ฮันจา | |||||||
| |||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||
คันจิ | 桜田門事件 | ||||||
ฮิรางานะ | さくらだもんじけん | ||||||
|
อุบัติการณ์ซากูราดามงเป็นความพยายามลอบปลงพระชนม์ที่ล้มเหลวต่อจักรพรรดิฮิโรฮิโตะของญี่ปุ่นในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1932 ที่ประตูซากูราดามงที่โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
การโจมตีนี้ดำเนินการโดยอี บง-ชัง นักเรียกร้องเอกราชเกาหลีที่เป็นสมาชิกองค์กรรักชาติเกาหลี อีโยนระเบิดมือใส่จักรพรรดิแต่กลับไม่ได้ระเบิดใส่พระองค์ อีจึงถูกจับกุม พิจารณาคดี ตัดสินโทษ และประหารชีวิตอย่างรวดเร็วในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1932 ปัจจุบันเขาเป็นที่จดจำในฐานะผู้พลีชีพในเกาหลีใต้ ซึ่งบางครั้งเรียกการโจมตีนี้เป็น วีรกรรมรักชาติของอี บง-ชัง (เกาหลี: 이봉창의사 의거)[3][4][5]
หลังการโจมตีครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเพิ่มการค้นหาคิม กูและสมาชิกคนอื่นในรัฐบาลชั่วคราวเกาหลีที่ให้ทุนสนับสนุนปฏิบัติการ
ภูมิหลัง
[แก้]เกาหลีเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1910 ถึง 1945[6] ใน ค.ศ. 1919 เกิดการประท้วงต่อการปกครองของญี่ปุ่นทั่วเกาหลี ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ ขบวนการ 1 มีนาคม หลังทางญี่ปุ่นปราบปรามการประท้วงอย่างรุนแรง ชาวเกาหลีจำนวนมากได้หลบหนีออกจากคาบสมุทรและยังคงต่อต้านญี่ปุ่นในต่างประเทศ รวมถึงสมาชิกรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี[7]
ญี่ปุ่นเริ่มสร้างข้ออ้างเพื่อรุกรานแมนจูเรียทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนใน ค.ศ. 1931 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1931 อุบัติการณ์ว่านเป่าชานสร้างแรงกระตุ้นเกี่ยวกับข้อพิพาทขนาดเล็กระหว่างชาวนาชาวจีนและเกาหลีเพื่อปลุกปั่นความรู้สึกต่อต้านชาวจีนในเกาหลีและญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างชาวเกาหลีและชาวจีนในประเทศของตน[8] จากนั้นในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 จักรวรรดิญี่ปุ่นจัดฉากอุบัติการณ์หลิ่วเถียวหู (การระเบิดรางรถไฟแมนจู) และอุบัติการณ์มุกเดนที่เพิ่มความรู้สึกต่อต้านญี่ปุ่นในหมู่ชาวจีน[9]
สิ่งสืบทอด
[แก้]รัฐบาลเกาหลียกย่องอีหลังเสียชีวิตด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติใน ค.ศ. 1962 และแสตมป์ที่ระลึกใน ค.ศ. 1992[10] มีอนุสาวรีย์ของอีที่สวนฮโยชังในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Republic of Korea Certificate of Indebtedness (대한민국 공채표, 500불)" (ภาษาเกาหลี). E Museum, National Museum of Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16.
- ↑ 사쿠라다문의거 (櫻田門義擧) (ภาษาเกาหลี). Yahoo! Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-08-21.
- ↑ Han See-jun. "Reports about the Patriotic Deed of Lee Bong Chang in the Chinese Papers" (ภาษาเกาหลี). The Association for Korean Modern and Contemporary History (한국근현대사학회): 152–170, 246–247. uci: G300-j12278203.v36n0p152. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help); แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|publisher=
- ↑ Kim Ju-yeong (김주영) (2008-01-08). 이봉창 의사 의거 76주년 기념식 (ภาษาเกาหลี). Tongilnews.
- ↑ 이봉창의사 의거, 러 배일사상 고취 (ภาษาเกาหลี). The Hankyoreh / Yonhap. 2001-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-25. สืบค้นเมื่อ 2024-08-21.
- ↑ Robinson (2007), pp. 32–35.
- ↑ Robinson (2007), pp. 52–53.
- ↑ 손, 세일 (2006-05-15). "孫世一의 비교 評傳 (50)" [Son Sae-il's Comparative Critical Biography (50)]. Monthly Chosun (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2023-08-17.
- ↑ "Naver, Good morning Media : Korean Patriotic Organization (한인애국단)".
- ↑ Korean Ministry of Patriots and Veterans Affairs
- ↑ "Koreans bow to heroes of the 1930s".[ลิงก์เสีย]
ข้อมูล
[แก้]- Bix, Herbert P. (2001). Hirohito and the Making of Modern Japan. Harper Perennial. ISBN 0-06-093130-2.
- Robinson, Michael E. (2007-04-30), Korea's Twentieth-Century Odyssey: A Short History (ภาษาอังกฤษ), University of Hawaii Press, ISBN 978-0-8248-3174-5
- Weiner, Michael (1994). Race and Migration in Imperial Japan: The Limits of Assimilation. Routledge. ISBN 0-415-06228-4.